SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ.กำชับทุกโรงเรียนเข้มมาตรการคุมโควิด เผยเด็กติดโควิดส่วนใหญ่อาการเล็กน้อย ขณะที่ นพ.ยง เตือนโควิดระบาดรอบนี้นักเรียนจะเป็นผู้กระจายโรค และล่าสุดโรงเรียนสาธิตเกษตรฯ – มศว. ปรับไปเรียนออนไลน์ด้วย

หลายโรงเรียนทยอยปรับรูปแบบการเรียนการสอนเป็นระบบออนไลน์ หลังนักเรียนและบุคลากรติดโควิด-19 เพิ่มขึ้น ซึ่งนอกจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนที่ประกาศปรับรูปแบบการเรียนการสอนไปเป็นระบบออนไลน์ ยังมีโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ประกาศเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนเป็นระบบออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 11-12 ก.ค.นี้ โดยให้ใช้ตารางเรียนปกติ แต่ลดคาบเรียนเหลือ 40 นาที และให้กลับมาเรียนปกติอีกครั้งวันที่ 18 ก.ค. 2565 เพื่อลดความเสี่ยงและตัดวงจรแพร่ระบาดโควิด-19

เช่นเดียวกับโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ออกประกาศการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอนตามมาเป็นการเรียนการสอนแบบออนไลน์ โดยระบุว่าเนื่องจากมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค จึงกำหนดให้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนและปฏิบัติหน้าที่ในรูปแบบออนไลน์
ระหว่างวันที่ 8-12 ก.ค. 2565 และโรงเรียนกำหนดการเรียนและการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติที่โรงเรียนตั้งแต่วันที่ 18 ก.ค. 2565

  • ปลัด สธ.ชี้เด็กติดโควิด-19 อาการไม่รุนแรง

ขณะที่วันนี้ (8 ก.ค. 2565) มีการประชุมศูนย์อำนวยการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.ชุดใหญ่ ครั้งที่ 10/2565 ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธาน เพื่อประเมินความรุนแรงโควิดกลายพันธุ์ BA.4 – BA.5 และพิจารณาลดจำนวนวันในกระบวนการรักษาเป็น 5 + 5 วัน คือ 5 วันแรกกักตัว และ 5 วันหลังสังเกตอาการ

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าร่วมประชุม ศบค.ชุดใหญ่ถึงการแพร่ระบาดโควิด-19 ในโรงเรียนว่า ได้กำชับทุกโรงเรียนให้คุมเข้มเรื่องมาตรการโควิด-19 แล้ว และไม่ได้น่าห่วงอะไร เพราะเด็กที่ติดเชื้อส่วนใหญ่อาการน้อย

ส่วนกรณีโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนที่มีนักเรียนและบุคลากรติดเชื้อโควิด-19 สะสมตั้งแต่เปิดเทอมกว่า 700 คนนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้รับรายงานเบื้องต้นแล้ว วันนี้จะมีการพูดคุยกันในที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ถึงมาตรการว่าจะต้องมีการปิดโรงเรียนหรือไม่ ขอให้รอผลการประชุม ศบค.ในวันนี้ก่อน

  • นพ.ยง ชี้โควิดรอบนี้ นักเรียนจะเป็นผู้กระจายโรค

ก่อนหน้านี้ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกมาระบุว่า การระบาดโควิด-19 ในรอบนี้นักเรียนจะเป็นผู้ขยายและกระจายโรค การระบาดของโรคมากขึ้น โควิด-19 เมื่อมีการเปิดเทอม ทำให้การเพิ่มกระจายของโรคเพิ่มขึ้น ความรุนแรงของโรคในเด็กนักเรียนและวัยรุ่นน้อยมาก แต่จะติดต่อกันเองและนำเชื้อกลับบ้านทำให้เกิดการติดต่อทั้งครอบครัว ซึ่งจะโยงไปถึงกลุ่มผู้สูงอายุ

ส่วนอัตราการเสียชีวิตในเด็กนักเรียน นักเรียนที่แข็งแรงดี โดยเฉพาะที่มีอายุตั้งแต่ 3 ขวบขึ้นไป จะมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 1 ในหมื่น การเสียชีวิตหรือรุนแรงในเด็ก ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัว โรคเรื้อรังหรือกลุ่มเสี่ยง ในเด็กกลุ่มที่จะเป็นอันตรายส่วนใหญ่จะอายุน้อยกว่า 2 ขวบ

รายละเอียด : https://workpointtoday.com/covid-343/

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า