SHARE

คัดลอกแล้ว

สัญญาณวิกฤต! แบงก์ชาติ 30 แห่งทั่วโลก พาเหรดขึ้นดอกเบี้ยสกัดเงินเฟ้อ

เมื่อต้นปีนี้เองที่ทุกคนต่างคาดการณ์ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามทิศทางธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ธนาคารกลางผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก

ถึงอย่างนั้น ธปท.ก็แสดงจุดยืนชัดเจนว่า เราไม่จำเป็นต้องรีบขึ้นดอกเบี้ยตามเฟด เพราะยังมีความจำเป็นต้องคงดอกเบี้ยต่ำเพื่อพยุงเศรษฐกิจที่เพิ่งฟื้น

แต่วันนี้ มุมมองของแบงก์ชาติเปลี่ยนไป เมื่อตัวเลขเงินเฟ้อของไทยพุ่งต่อเนื่องตามราคาน้ำมันโลก จากเดือน ม.ค.ที่ 3.23% สู่เดือนล่าสุด มิ.ย.ที่ 7.66% เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว

ส่งผลให้ ธปท.ตัดสินใจ ‘ถอนคันเร่ง’ และส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไป (10 ส.ค. 2565) โดยนักวิเคราะห์คาดว่าดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะทยอยปรับขึ้นในไตรมาส 3 และ 4 ไตรมาสละ 0.25% รวมสิ้นปี 1%

[ ‘เงินเฟ้อ’ ปัจจัยกดดันเศรษฐกิจโลกปี 65 ]

ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นไม่ได้เกิดกับประเทศไทยเท่านั้น และไม่ใช่การขึ้นดอกเบี้ยตาม Fed เพื่อไม่ให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศตัวเองถ่างจากประเทศมหาอำนาจมากเกินไปอีกด้วย

เพราะการขึ้นดอกเบี้ยของประเทศต่างๆ ในครั้งนี้ เป็นการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อไม่ให้การดำเนินนโยบายการเงินเข้าสู่ภาวะ ‘Behind the Curve’ หรือภาวะที่ธนาคารกลางขึ้นดอกเบี้ยช้าเกินไปเมื่อเทียบกับแนวโน้มเงินเฟ้อ

สำหรับปัญหาเงินเฟ้อในปี 2565 เป็นปัญหาที่ทุกประเทศเผชิญร่วมกัน โดยมีต้นสายปลายเหตุมาจาก 1. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ที่ทำให้ความต้องการซื้อ (Demand) ฟื้นตัวขึ้น แต่ความต้องการขาย (Supply) เพิ่มขึ้นไม่ทัน

และ 2. ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูง ซึ่งเป็นผลกระทบจากการทำสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ส่งผลให้ต้นทุนของธุรกิจพุ่งสูงขึ้น

แม้เงินเฟ้อในเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมาของหลายประเทศจะอยู่ในระดับที่สูงมาก เช่น สหรัฐ 9.1% ยุโรป 8.6% และไทย 7.66% แต่นักวิเคราะห์คาดว่า ภาวะเงินเฟ้อโลกยังไม่ผ่านจุดพีค

[ แบงก์ชาติ 30 ประเทศพร้อมใจขึ้นดอกเบี้ย ]

เมื่อเป็นแบบนี้ ธนาคารกลางหลายประเทศจึงตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ย บางประเทศก็ขึ้นเร็วกว่าตลาดคาดการณ์ และบางประเทศเป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 20  ปีเลยทีเดียว เช่น นอร์เวย์ ประกาศขึ้นดอกเบี้ย 0.50% จาก 0.75% มาอยู่ที่ 1.25% สูงสุดในรอบ 20 ปี นับตั้งแต่ปี 2545

ขณะที่สวิตเซอร์แลนด์ ประกาศขึ้นดอกเบี้ย 0.50% จากติดลบ 0.75% มาอยู่ที่ติดลบ 0.25% สูงสุดในรอบ 15 ปี นับตั้งแต่ปี 2550 ส่วนไอซ์แลนด์ ประกาศขึ้นดอกเบี้ยรวดเดียว 100% จาก 2.75% มาอยู่ที่ 3.75% สูงสุดในรอบ 14 ปี นับตั้งแต่ปี 2551

จากการสำรวจ พบว่า ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน ธนาคารกลางกว่า 30 ประเทศ ทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยแล้วเพื่อรับมือกับเงินเฟ้อ ได้แก่

1. สิงคโปร์ 2. แคนาดา 3. ฟิลิปปินส์ 4. ชิลี 5. นิวซีแลนด์ 6. เกาหลีใต้ 7. สวิตเซอร์แลนด์ 8. บราซิล 9. ฮังการี 10. เม็กซิโก 11. ปากีสถาน 12. ยุโรป 13. ออสเตรเลีย 14. นอร์เวย์ 15. มาเลเซีย

16. เช็ก 17. ซาอุดิอาระเบีย 18. กาตาร์ 19. ไต้หวัน 20. อินเดีย 21. รัสเซีย 22. ไนจีเรีย 23. อียิปต์ 24. โปแลนด์ 25. อังกฤษ 26. อาร์เจนตินา 27. สวีเดน 28. คาซัคสถาน 29. ไอซ์แลนด์ และ 30. โคลัมเบีย

[ นักเศรษฐศาสตร์แนะรับมือดอกเบี้ยขาขึ้น  ]

เมื่อเห็นแล้วว่า ปลายทางของไทย อย่างไรก็ต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดับร้อนเงินเฟ้ออยู่ดี หลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินรอบล่าสุด (8 มิ.ย. 2565) 3 ต่อ 7 เสียงโหวตให้ขึ้นดอกเบี้ย 0.25%

‘นริศ สถาผลเดชา’ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์ธุรกิจทีทีบี (ttb analytics) ประเมินสถานการณ์โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1. นักลงทุน คาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบ เพราะความกังวลเงินเฟ้อพุ่ง ธนาคารกลางขึ้นดอกเบี้ย สะท้อนไปในราคาสินทรัพย์ต่างๆ แล้ว

2. ผู้กู้ ซึ่งเป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วงที่สุด เพราะการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของแบงก์ชาติ จะกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ให้ปรับเพิ่มขึ้นตาม แนะนำว่า หากมีความจำเป็นต้องใช้ ให้รีบเตรียมการไว้ตั้งแต่ก่อน ธปท.ขึ้นดอกเบี้ย

สำหรับคนทำธุรกิจ แน่นอนว่าเมื่อดอกเบี้ยขึ้น ต้นทุนการเงินก็เพิ่มขึ้น เช่น เงินทุนหมุนเวียนระยะสั้น (Working Cap) ซึ่งคิดดอกเบี้ยลอยตัว รวมถึงสินเชื่อเงินกู้ระยะยาว (Term Loan) หากครบอายุสัญญาเก่า เริ่มต้นสัญญาใหม่ ก็จะถูกคิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเช่นกัน

ส่วนรายย่อย ได้แก่ สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อส่วนบุคคล และบัตรเครดิต ในส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคลกับบัตรเครดิต ปกติตั้งเพดานดอกเบี้ยไว้สูงกว่าดอกเบี้ยนโยบายอยู่แล้ว ผู้ใช้จึงไม่ได้รับผลกระทบ

ขณะที่สินเชื่อรถยนต์ ส่วนใหญ่ในท้องตลาดเป็นสินเชื่อที่กำหนดดอกเบี้ยคงที่ หากผู้กู้ได้กู้ไปแล้ว ก็จะไม่ถูกกระทบจากภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นหลังจากนี้ แต่คนที่ยังไม่กู้ หรือเตรียมที่จะกู้หลังจากนี้ ก็จะมีต้นทุนเงินกู้ที่สูงขึ้น

ส่วนสินเชื่อบ้าน ก้อนนี้ใหญ่และหนักสุด หากไม่ใช่ Special Period กล่าวคือ ช่วง 2-3 ปีแรกที่กู้บ้านที่ได้ดอกเบี้ยคงที่ในอัตราที่ต่ำเป็นพิเศษนั้น ก็จะเผชิญกับดอกเบี้ยลอยตัวเช่นกัน ยกเว้นรีไฟแนนซ์บ้าน ซึ่งหากทำหลังจากดอกเบี้ยเข้าสู่ขาขึ้นแล้ว ต้นทุนการรีไฟแนนซ์ก็จะสูงขึ้นเช่นกัน

สุดท้าย คือ 3. ผู้ฝากเงิน แนะนำอย่าเพิ่งฝากเงินระยะยาวในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นระยะแรก ให้ดอกเบี้ยของธนาคารปรับขึ้นสักพักก่อนค่อยนำเงินไปฝาก ซึ่งจากสถิติมักจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า

ที่มา

  • www.prachachat.net/breaking-news/news-838589
  • www.scbeic.com/th/detail/product/eic-monthly-0722
  • www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/MonetPolicyComittee/Schedule/Pages/default.aspx
  • www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2022/Pages/n3165.aspx
  • theconversation.com/nigeria-has-just-hiked-interest-rates-why-its-the-wrong-recipe-for-curbing-inflation-184090
  • www.reuters.com/business/egypts-central-bank-raises-key-interest-rates-by-200-basis-points-2022-05-19/
  • www.intellinews.com/polish-central-bank-surprises-with-massive-100bp-interest-rate-hike-240643/
  • www.aljazeera.com/news/2022/3/17/bank-of-england-raises-key-interest-rate-to-tackle-inflation
  • www.reuters.com/business/swedish-cbank-hikes-key-interest-rate-says-more-come-2022-04-28/
  • www.aljazeera.com/economy/2022/4/14/singapore-korea-lead-asias-central-bank-attack-on-inflation
  • www.bloomberg.com/news/articles/2022-05-04/iceland-ramps-up-tightening-with-biggest-rate-hike-since-2008#xj4y7vzkg?sref=LQZclhPm
  • techcrunch.com/2022/07/13/sri-lanka-central-bank-warns-against-use-of-cryptocurrency-amid-economic-crisis/
  • www.ft.com/content/f9c5fc13-3101-4046-984b-c9fa3a5daabc
  • hungarytoday.hu/hungarian-forint-strengthens-after-central-bank-base-rate-hike/
  • asia.nikkei.com/Economy/Inflation/Pakistan-central-bank-raises-interest-rate-125-basis-points-to-15
  • www.pionline.com/investing/australia-hikes-interest-rates-inflation-battle-super-funds-ramp-bonds
  • www.cnbc.com/2022/06/23/norway-announces-50-basis-point-hike-to-interest-rates-largest-for-20-years.html
  • apnews.com/article/inflation-politics-czech-republic-prices-milos-zeman-741b72a6a5b24c25a083f89bf9a33d49
  • www.reuters.com/markets/asia/saudi-central-bank-raises-key-interest-rates-by-50-bps-2022-06-15/
  • www.reuters.com/markets/asia/qatar-central-bank-raises-deposit-rate-by-75-bps-225-2022-06-15/
  • www.bloomberg.com/news/articles/2022-06-15/taiwan-set-for-back-to-back-rate-hikes-for-first-time-since-2011?sref=LQZclhPm
  • www.ft.com/content/9e7847d4-2eb6-44c7-87cb-18bfd697e105
  • qz.com/2134814/russian-central-bank-raises-interest-rate-to-20-percent-as-ruble-crashes/
  • www.centralbanking.com/central-banks/monetary-policy/monetary-policy-decisions/7950756/new-zealands-central-bank-delivers-third-straight-50bp-hike
  • www.cnbc.com/2022/07/13/canadas-central-bank-raises-interest-rate-a-full-point.html
  • www.cnbc.com/2022/07/14/philippine-central-bank-hikes-interest-rates.html

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า