SHARE

คัดลอกแล้ว

ทำไม ‘เวียนนา’ เมืองหลวงของออสเตรีย ถึงเป็นเมืองน่าอยู่ที่สุดในโลก

โครงสร้างพื้นฐาน 100 คะแนน
บริการสุขภาพ 100 คะแนน
การศึกษา 100 คะแนน
เสถียรภาพ 100 คะแนน
วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม 96.3 คะแนน
รวมออกมาเป็นดัชนี 99.1 จากคะแนนเต็ม 100

จึงไม่แปลกที่ในปีนี้ ‘เวียนนา’ เมืองหลวงของประเทศออสเตรีย จะกลับมาครองบัลลังก์ ‘เมืองน่าอยู่ที่สุดในโลก’ อีกครั้งและกลายเป็นแชมป์ 3 สมัย หลังจากเสียตำแหน่งไปในปี 2020-2021 จากสถานการณ์โควิด-19

การจัดอันดับที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ คือ The Global Liveability Index 2022 หรือ ‘ดัชนีความน่าอยู่ทั่วโลกปี 2022’ จากการจัดทำของ Economist Intelligence Unit แผนกวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่ม Economist ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาทางด้านเศรษฐกิจ

โดย ‘ดัชนีความน่าอยู่ทั่วโลกปี 2022’ ได้รวบรวมข้อมูลหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐาน เสถียรภาพ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม บริการสุขภาพ และการศึกษา จาก 173 เมืองทั่วโลกมาให้คะแนนและจัดอันดับ ‘ความน่าอยู่’ ของเมืองต่างๆ จากทั่วโลก

ซึ่งในการจัดอันดับ ‘ดัชนีความน่าอยู่ทั่วโลกปี 2022’ ที่พึ่งปล่อยออกมาสู่สาธารณชนในเดือนที่ผ่านมา ‘เวียนนา’ เมืองหลวง เมืองที่ใหญ่ที่สุด และหนึ่งใน 9 รัฐของสาธารณรัฐออสเตรีย ประเทศเล็กๆ ที่ปกครองด้วยระบบสหพันธรัฐทางตอนใต้ของยุโรปกลาง ก็กลับมาครองอันดับ 1 เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลกอีกครั้ง หลังจากเคยได้รับตำแหน่งนี้มาแล้วในปี 2018 และ 2019 และเสียตำแหน่งไปในช่วง 2 ปีที่ใช้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19

แต่หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่า ทำไม ‘เวียนนา’ ถึงเป็นเมืองน่าอยู่ที่สุดในโลก แม้จะมีประชากรเพิ่มขึ้น 25,000 คนต่อปีจากที่มีอยู่แล้วกว่า 2 ล้านคน ชวนอ่านสรุปความลับของ ‘เวียนนา’ มหานครแห่งเสียงดนตรี ศิลปะ และสถาปัตยกรรม จาก TODAY Bizview

ข้อ 1 เมืองสวย สะอาดมาก และเดินได้

ถ้าใครเคยไปเยือน ‘เวียนนา’ มาแล้วคงจะรู้ดีว่า เมืองหลวงของออสเตรียแห่งนี้ผสมผสานสถาปัตยกรรมยุโรปจากหลากหลายยุคสมัย รวบรวมอดีตและปัจจุบันเอาไว้ในเมืองเดียว หลายพื้นที่ในเวียนนายังคงปูด้วยหิน มีรถม้าวิ่งผ่านใจกลางเมือง และแม้แต่ร้านค้าจากยุคปัจจุบันอย่าง Starbucks ก็ยังกลมกลืนไปกับเมือง จัดเป็นหนึ่งในเมืองที่สวยที่สุดในยุโรป

นอกจากนั้น เวียนนายังได้ชื่อว่าเป็นอีกเมืองที่สะอาดมากและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดในยุโรป ล้อมรอบด้วยเนินเขาเขียวชอุ่มและบรรยากาศชนบท พื้นที่สีเขียวกินพื้นที่ประมาณครึ่งเมือง มีขยะน้อย มีกราฟิตีน้อย อากาศและน้ำในเมืองได้รับการรับรองว่าคุณภาพดี น้ำประปาสามารถดื่มได้ รสชาติดี มีน้ำพุอยู่ทั่วเมือง ขณะที่มลพิษทางเสียงและแสงต่ำ

อีกอย่างที่สำคัญ คือ ด้วยผังเมืองและขนาดเมือง ทำให้ทุกอย่างไม่ไกลเกินไป ประกอบกับอัตราการเกิดอาชญากรรมที่ต่ำมาก เคยได้รับตำแหน่งเมืองที่ปลอดภัยที่สุดอันดับ 6 ของโลกในปี 2019 จึงทำให้ชาวเวียนนาสามารถไปไหนมาไหนได้ด้วยการเดิน ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน

ข้อ 2 ขนส่งดี ราคาถูก

เวียนนามีระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพมาก ตั้งแต่เครือข่ายรถราง รถไฟใต้ดิน หรือรถบัสประจำทาง รถมาตรงเวลา สม่ำเสมอ สะอาด และกว้างขวาง และมาพร้อมกับราคาย่อมเยา อย่างบัตรผ่านรายปีของระบบขนส่งสาธารณะทั้งหมดมีราคา 356 ยูโร ประมาณ 1 ยูโรต่อวัน หรือคิดเป็นเงินไทยแค่วันละประมาณ 36 บาทเท่านั้น ส่วนรถไฟใต้ดินนั้นมีบริการตลอด 24 ชั่วโมงในวันหยุดสุดสัปดาห์ ทำให้ 73% ของการคมนาคมในเวียนนาเป็นการใช้ขนส่งสาธารณะต่างๆ ไม่ใช่รถยนต์ส่วนตัว

นอกจากนั้น เวียนนายังมีถนนและเส้นทางจักรยานที่ดีทั่วเมืองด้วย รวมถึงด้วยที่ตั้งของเวียนนาที่อยู่ตรงกลางของแผ่นดินใหญ่ของยุโรป ทำให้จากเวียนนาสามารถเดินทางไปยังประเทศอื่นๆ อย่างเช่นอิตาลี สโลวีเนีย ฮังการี และเยอรมนีได้ไม่ยาก

ข้อ 3 ถึงอยู่ยุโรป แต่ค่าเช่าถูก

วิสัยทัศน์ของเวียนนามองว่า ‘ที่อยู่อาศัย’ เป็น ‘สิทธิมนุษยชน’ อย่างหนึ่ง ทำให้เมืองมีกฎหมายที่ดินที่เข้มงวดและมีแผนการพัฒนาที่พักอาศัยเพื่อสังคม โดยใช้งบประมาณ 700 ล้านดอลลาร์ต่อปี (ประมาณ 2.4 หมื่นล้านบาท) ในการสร้างและปรับปรุงใหม่ทุกปี จึงทำให้ที่พักอาศัยในเวียนนามีราคาถูก

ถ้าถามว่าถูกแค่ไหนตัวอย่างอพาร์ทเมนต์ขนาด 45 ตารางเมตรในเวียนนา มีค่าเช่าราว 360 ยูโร หรือคิดเป็นเงินไทยราว 13,500 บาทเท่านั้นเมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ ในยุโรปหรือแม้แต่ในออสเตรียเอง ทำให้กว่า 80% ของประชากรเวียนนาล้วนเช่าห้องหรือบ้านอยู่

โดยกว่า 60% ของการเช่าที่พักในเวียนนาเป็นการเช่าที่พักของรัฐบาล (เปิดให้ผู้มีรายได้น้อยและปานกลางเช่า) และทำให้คนเวียนนาจ่ายค่าที่พักอาศัยเมื่อเทียบกับรายได้น้อยที่สุดในยุโรป คิดเป็นค่าที่พักแค่ราว 27% ของรายได้ต่อเดือนเท่านั้น (ค่าเช่าเฉลี่ยของนิวยอร์กคิดเป็น 58% ของรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย)

ข้อ 4 ระบบการศึกษาดี มีระบบบริการสุขภาพ

‘ระบบการศึกษา’ ของเวียนนาเองก็โดดเด่น มีมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับดีที่สุดในโลก และโด่งดังในการใช้วิธีการแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) หรือการศึกษาแบบก้าวหน้า เน้นส่งเสริมความคิด ความสร้างสรรค์ และความแตกต่างของแต่ละคน เป็นเรื่องปกติในโรงเรียนอนุบาลและประถมศึกษา รวมถึงมีโรงเรียนเฉพาะทางสำหรับเด็กที่ไม่เหมาะกับรูปแบบการสอนแบบเก่า เพื่อให้เด็นที่มีจุดแข็งแตกต่างกันได้รับการศึกษาที่ดีที่สุด

นอกจากนั้น เวียนนาก็ยังมีระบบบริการสุขภาพที่ดี มีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความสามารถ บริการรวดเร็วและเข้าถึงได้ไม่ยาก ในแง่ค่าใช้จ่ายในการรักษา ออสเตรียมีประกันสุขภาพที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบประกันสังคมแห่งชาติ ซึ่งประชาชนจะต้องส่งสมทบโดยการหักจากเงินเดือน แต่ฟรีสำหรับผู้ไม่มีรายได้หรือรายได้น้อย โดยรัฐบาลออสเตรียใช้งบมากกว่า 10% ของ GDP ในการบริการสุขภาพ

ข้อ 5 มหานครแห่งดนตรี ศิลปะ สถาปัตยกรรม และอาหาร

นอกจากเป็นนครแห่งเสียงดนตรี เพราะเป็นต้นกำเนิดของนักดนตรีระดับโลกหลายคน อย่าง บีโธเฟ่น, โมสาร์ท, โยฮันน์ ชเตราสส์ รวมถึงมีสถาปัตยกรรมหลากหลายยุค ไม่ว่าจะเป็นกอธิก บาโรก หรือเรอเนสซอง มีพิพิธภัณฑ์และสถานที่แสดงดนตรีมากมาย

อีกอย่างคือ เวียนนายังมีอาหารหลากหลายสัญชาติ และมีวัฒนธรรมคาเฟ่ที่น่าสนใจ เพราะคาเฟ่ในเวียนนาจะเปิดให้บริการในตอนเย็นและขายแอลกอฮอล์ด้วย นอกจากนั้น เวียนนายังมี 4 ฤดูกาล แต่ละฤดูกาลจะมีบรรยากาศและกิจกรรมกลางแจ้งที่น่าใจแตกต่างกันออกไป จะปั่นจักรยานก็ได้ ชมเมืองก็ดี ว่ายน้ำในแม่น้ำก็ยังไหว หรือถ้าเป็นคนชอบไนท์ไลฟ์ก็ยังตอบโจทย์

เราอาจจะพอสรุปได้ว่า ‘กุญแจ’ สำคัญของการสร้าง ‘เมืองน่าอยู่’ นั้นต้องอาศัยปัจจัยพื้นฐานอย่างโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา บริการสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมแบบเลี่ยงไม่ได้

แต่ที่สำคัญกว่านั้น คือ แม้ว่าการพัฒนาเมืองจะไม่ได้ทำให้เวียนนาไม่มีการแบ่งแยกทางเศรษฐกิจและความไม่เท่าเทียมทางสังคม ระหว่างคนจน คนกลางๆ และคนรวย แต่ด้วยวิสัยทัศน์ในการพัฒนาเมืองที่ผ่านมา ก็ทำให้เวียนนาบรรเทาการแบ่งแยกและความไม่เท่าเทียมเหล่านั้นลงและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนจนกลายเป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลกได้

ย้อนกลับมาที่ ‘กรุงเทพมหานคร’ เมืองหลวงของประเทศไทย หากใช้กระจกอย่างเวียนนาสะท้อนดูตัว เราอาจจะค่อนข้างห่างไกลจากเมืองน่าอยู่ที่สุดในโลกอยู่สักหน่อย แต่หลังจากอยู่กับความสิ้นหวังมาหลายปี ตอนนี้อาจจะเป็นช่วงเวลาที่ความหวังของชาวเมืองฟ้าอมรมีโอกาสได้เติบโตอีกครั้ง และพอจะจินตนาการถึงกรุงเทพมหานครที่กลายเป็น ‘เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน’ ตามนโยบายของ ‘ชัชชาติ’ ผู้ว่าฯ คนใหม่ที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี

ที่มา

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า