SHARE

คัดลอกแล้ว

วิกฤตอาหาร หรือ Food Crisis อาจเป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด หลังสื่ออังกฤษ The Economist รายงานดัชนีความมั่นคงทางอาหารโลก (Global Food Security Index) โดยพบว่า ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 51 จากทั้งหมด 113 ประเทศ

แม้ไทยจะมีคะแนนที่ดีในมิติราคาอาหารที่เข้าถึงได้ (Affordability) แต่ในมิติความพร้อมของอาหาร (Availability) มิติคุณภาพและความปลอดภัย (Quality and Safety) รวมถึงมิติทรัพยากรธรรมชาติและความยืดหยุ่น (Natural Resources and Resilience) ยังได้คะแนนไม่มาก

[ วิเคราะห์ต้นตอ-ความรุนแรงของวิกฤต ]

StashAway สตาร์ทอัพด้านการลงทุน ให้ความเห็นว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดวิกฤตอาหารมาจากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ซึ่งส่งผลกระทบทางตรงต่อราคาสินค้าสำคัญหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น

– ราคาข้าวสาลีที่เพิ่มขึ้น 53% จากช่วงต้นปี (ข้อมูลจาก The Economist)

– ราคาน้ำมันปาล์มที่พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพราะยูเครนและรัสเซียเป็นประเทศหลักในการส่งออกน้ำมันทานตะวันกว่า 80% ของโลก (ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ) เมื่อส่งออกไม่ได้ หลายประเทศจึงต้องซื้อน้ำมันปาล์มแทน

นอกจากนี้ ราคาข้าวโพดและราคาปุ๋ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ผลักดันให้ราคาเสินค้าพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน

จากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) พบว่ากว่า 36 ประเทศทั่วโลกพึ่งพาการนำเข้าข้าวสาลีจากรัสเซีย และยูเครนมากกว่า 50%

นอกจากนี้ ราคาอาหารที่สูงขึ้นยังมาจากราคาพลังงานในตลาดโลกที่สูงขึ้น ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศทั่วโลกพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว

หากถามว่าวิกฤตอาหารครั้งนี้ร้ายแรงแค่ไหน จากข้อมูลครึ่งปีที่ผ่านมา พบว่า หลายประเทศ และองค์กรต่างๆ ทั่วโลก ทั้งธนาคารโลก (World Bank) องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) รวมถึงธนาคารกลางอังกฤษ

ต่างให้ความสำคัญกับการที่ราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้น เพราะเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นทั่วโลก ทุกฝ่ายจึงเร่งหาทางรับมือกับปัญหานี้

[ 3 สิ่งที่ต้องลงทุนเพื่อรับมือวิกฤตอาหาร ]

ในสถานการณ์ที่ราคาอาหารสูงขึ้น StashAway มองว่า การกระจายลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย และเหมาะกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันจะส่งผลดีต่อพอร์ตการลงทุน

โดยตั้งแต่ต้นปี 2565 StashAway ลงทุนในกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มตอบรับกับสถานการณ์เงินเฟ้อสูงได้ดี ได้แก่

– กลุ่มธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Staples) เช่น ธุรกิจค้าปลีกอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจเครื่องดื่ม และธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร รวมถึงธุรกิจในเซกเตอร์ที่มีความทนทานต่อภาวะต่างๆ สูง (Defensive Sector) เช่น กลุ่มการแพทย์ (Healthcare)

– กลุ่มพันธบัตรที่อ้างอิงตามเงินเฟ้อ (Inflation-protected bonds) เพื่อช่วยลดผลกระทบจากสถานการณ์เงินเฟ้อสูง

– กลุ่มทองคำ ซึ่งควรกระจายการลงทุนไว้บางส่วน

ส่วนกลุ่มธุรกิจพลังงาน แม้จะเป็นสินทรัพย์ที่ช่วยปกป้องพอร์ตการลงทุนในช่วงภาวะเงินเฟ้อสูง แต่ปัจจุบันราคาของกลุ่มธุรกิจพลังงานมีความผันผวนสูง ดังนั้น ต้องระมัดระวังในการเข้าลงทุน

[ กูรูวิเคราะห์วิกฤตครั้งนี้ไม่จบง่ายๆ ]

ขณะที่ ดร.แอนดรูว์ สต๊อทซ์ นักวิเคราะห์ นักวิจัย และผู้ก่อตั้ง A.Stotz Investment Research (ASIR) ระบุว่า วิกฤตอาหารเป็นปัญหาที่ถูกกล่าวถึงในหลายประเทศทั่วโลก แม้จะยังไม่ส่งผลกระทบมาถึงไทย เนื่องจากประเทศของเรามีความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ก็ตาม

วิกฤตดังกล่าวเป็นผลพวงจากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ทำให้พืชผลทางการเกษตรสำคัญของโลก อาทิ ข้าวโพด และข้าวสาลี ไม่สามารถส่งออกได้ โดยทั้ง 2 ประเทศมีสัดส่วนการส่งออกรวมกันสูงถึง 15-20% เมื่อเทียบกับทั่วโลก

สะท้อนผ่านดัชนีราคาอาหารโลก (FAO Food Price Index: FFPI) เดือน มี.ค. 2565 ที่พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 160 จุด และยังทรงตัวสูงต่อเนื่อง 157 จุด ในเดือน พ.ค. 2565

เบื้องต้นคาดว่าปัญหาจะกินระยะเวลาอีกนาน เพราะต้นตอที่แท้จริงมาจากการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจ (Power Struggle) ระหว่างสหรัฐ รัสเซีย จีน และสหภาพยุโรป (EU) แต่ผลพวงของวิกฤตอาหารกลับลามไปทั่วโลก โดยเฉพาะแอฟฟริกา

[ รู้จักทำกำไรเมื่อราคาของแพง ]

ท่ามกลางวิกฤตในครั้งนี้ ดร.แอนดรูว์ มองว่า ยังมีการลงทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้นักลงทุนได้ เช่น การลงทุนสินค้าโภคภัณฑ์อย่างน้ำมัน แม้ราคาจะปรับตัวลงมาแล้ว แต่ยังยืนอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง

ยกตัวอย่างเช่น พอร์ตลงทุน All-Weather Strategy ที่เน้นลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ ส่งผลให้ผลตอบแทนในช่วงที่ผ่านมาเติบโตสูงกว่าตลาด 88.8% เทียบกับพอร์ตการลงทุนแบบเดิม (หุ้น 60% และตราสารหนี้ 40%) ที่ให้ผลตอบแทน 88.84% และพอร์ตการลงทุนหุ้นโลก ผลตอบแทน 81% (ข้อมูล 9 เดือนย้อนหลัง ณ วันที่ 22 มิ.ย. 2565)

‘รู้ตัวหรือไม่ว่า อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารในปัจจุบัน ปรับขึ้นไม่ทันอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในต้นทุนก๋วยเตี๋ยว 1 ชามที่คุณกินด้วยซ้ำ’ ดร.แอนดรูว์ กล่าว

[ ไทยยังไม่เจอวิกฤต แต่ของกินแพงขึ้น ]

วิกฤตอาหารโลกเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสนใจมาต่อเนื่อง หากย้อนดูในช่วง 2-3 ปีก่อนหน้า เราเห็นสัญญาณจากปัญหาการเกิดภาวะขาดแคลนซัพพลาย (Supply Chain Disruption) ซึ่งส่งผลกระทบต่อด้านอาหารและเกษตรมาตั้งแต่ช่วงโควิด-19

แน่นอนว่าการหยุดชะงักนี้ส่งผลให้อุปทาน (Supply) ไปไม่ถึงปลายทาง หรือไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ปี 2565 เกิดวิกฤตอาหารอย่างชัดเจนมากขึ้นไปทั่วโลก และเรายังเห็นการระงับการส่งออกในหลายประเทศ 

ในส่วนของไทยเมื่อความต้องการโลก (Global Demand) ด้านอาหารเพิ่มสูงขึ้น อาจส่งผลดีต่อผู้ส่งออก ด้านอาหารของไทย ซึ่งไทยเป็นประเทศการเกษตรที่เผชิญปัญหาการผลิตน้อยกว่าประเทศอื่น จึงอาจไม่ได้เผชิญกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง แต่ราคาอาหารและราคาสินค้าต่างๆ กลับปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า