SHARE

คัดลอกแล้ว

อย. อนุญาตให้กระจายยารักษาโควิด-19 กลุ่มยาต้านไวรัสที่ขึ้นทะเบียนกับ อย. ไป ‘คลินิกเวชกรรม’ ได้แล้ว เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงการรักษาและการรับยาเพิ่มเติมของประชาชน ย้ำวัคซีนชนิด AstraZeneca, Pfizer และ Moderna ประสิทธิผลที่ใกล้เคียงกัน

น.พ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า วันนี้ (20 ก.ค. 2565) คลินิกเวชกรรมสามารถจัดหายาได้เองจากบริษัทเอกชนที่นำเข้าและขึ้นทะเบียนกับ อย. ได้แล้ว โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกประกาศเพิ่มเติมจากเดิมที่ผู้ขึ้นทะเบียนสามารถจำหน่ายยาให้กับโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนได้เท่านั้น ให้สามารถกระจายยาโมลนูพิราเวียร์และยาต้านไวรัสอื่น ๆ ไปในระดับคลินิกเวชกรรมตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล 2541 ได้ แต่ยังต้องเป็นการจ่ายยาโดยแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามแนวทางการใช้ยาของกระทรวงสาธารณสุข และใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล

นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ให้ข้อมูลว่า การรักษาโรคโควิด-19 มีการใช้ยาที่เกี่ยวข้องหลายชนิด หนึ่งในนั้นคือ กลุ่มยาต้านไวรัส ซึ่งปัจจุบันได้มีการขึ้นทะเบียนกับ อย. จำนวนหลายทะเบียน โดยเกือบทั้งหมดเป็นบริษัทเอกชน ได้แก่ ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) 3 ทะเบียน ยาเรมเดซีเวียร์ (Remdesivir) 5 ทะเบียน ยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) 1 ทะเบียน ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) 2 ทะเบียน และมียาที่นำเข้าโดยองค์การเภสัชกรรม เพื่อสนับสนุนภารกิจของกระทรวงสาธารณสุข

ทั้งนี้ บริษัทเอกชนทั้งหมดที่มาขึ้นทะเบียนและเป็นผู้นำเข้ายาจะสามารถจำหน่ายยาให้กับโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนได้ เช่น ยาเรมเดซีเวียร์ที่ขึ้นทะเบียนโดยบริษัทเอกชน 5 บริษัท ได้มีการจำหน่ายยาให้กับโรงพยาบาลเอกชนสำหรับผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยไม่มีการปิดกันหรือผูกขาดการนำเข้ายาแต่อย่างใด และล่าสุด ทาง อย. ยังได้มีประกาศเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถจำหน่ายยาไปยังคลินิกเวชกรรมได้อีกด้วย เป็นการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงการรักษาและการรับยาเพิ่มเติมของประชาชน

  • วัคซีน AstraZeneca, Pfizer และ Moderna ประสิทธิผลใกล้เคียงกัน

ด้านนพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ผลการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยทีมวิจัยจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ศ.นพ.ดร.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ ร่วมกับสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 พบว่า การฉีดวัคซีน AstraZeneca, Pfizer หรือ Moderna เป็นเข็มกระตุ้นที่ 4 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสูตรไขว้ (heterologous booster vaccination) จะมีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อจากสายพันธุ์โอมิครอนได้สูงถึง ร้อยละ 73 ร้อยละ 71 และร้อยละ 71 ตามลำดับ ซึ่งระดับประสิทธิผลนี้เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ได้รับวัคซีนเพียง 3 เข็ม

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็มกระตุ้นที่ 4 ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนชนิด mRNA หรือไวรัสเป็นตัวนำ มีประสิทธิผลไม่ต่างกันในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์โอไมครอนในประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไป ดังนั้น การสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะกลุ่ม 608

นอกจากนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ผู้ได้รับวัคซีนครบ 3 เข็มจะช่วยป้องกันอาการรุนแรงและการเสียชีวิตจากสายพันธุ์โอมิครอนได้สูงถึง ร้อยละ 96 ในกลุ่มอายุ 18-59 ปี และ ร้อยละ 97 ในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ดังนั้น กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และ 7 กลุ่มโรคเสี่ยง รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ จึงเป็นเป้าหมายสำคัญในการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ได้มากที่สุด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อการป่วยหนักและเสียชีวิต ทั้งนี้ ขอเชิญชวนให้ลูกหลานพาผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคซีนอีกประมาณ 2 ล้านคน ตลอดจนผู้ได้รับวัคซีน 2 เข็มแล้วนานกว่า 4 เดือน แต่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 ให้รีบมารับวัคซีนเข็มกระตุ้นโดยเร็ว เพราะว่า 2 กลุ่มนี้ยังพบผู้เสียชีวิตมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิตจากโควิด 19 ในทุกวันนี้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า