SHARE

คัดลอกแล้ว

แพทย์จุฬาฯ เตือน ‘ฝีดาษลิง’ ยากที่จะควบคุมหรือกำจัดให้หมดไป ด้านนายกฯ กำชับสาธารณสุขเตรียมแผนรับมือ ขณะที่ภูเก็ตยืนยันไม่ผู้ติดเชื้อจากชายไนจีเรียเพิ่ม ส่วนกลุ่มเสี่ยงสูง 19 ราย ผลตรวจเป็นลบ 12 ราย รอผลอีก 7 ราย

ความคืบหน้าการผลสอบสวนโรคฝีดาษลิง ผู้สัมผัสเสี่ยงชายไนจีเรียป่วยติดเชื้อเป็นคนแรกของไทย ล่าสุดวันนี้ (25 ก.ค. 2565) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตติดตามผู้สัมผัสและเข้าทำความสะอาด-ฆ่าเชื้อทุกแห่งแล้ว นอกจากยังได้เก็บตัวอย่างกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง จำนวน 19 ราย ส่งตรวจ PCR ห้องปฏิบัติการ ผลตรวจเป็นลบ จำนวน 12 ราย และอยู่ระหว่างรอผลตรวจอีก 7 ราย

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบรายงาน ไทยยังไม่พบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงเพิ่มเติม ด้วยความห่วงใยนายกรัฐมนตรี สั่งการผ่านนายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเน้นย้ำให้กระทรวงสาธารณสุขและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมทุกด้านและแนวทางรองรับโรคฝีดาษวานรหลังองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้โรคฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern :PHEIC) ตลอดจนกำชับให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเฝ้าระมัดระวังผู้เดินทางจากประเทศกลุ่มเสี่ยงเป็นพิเศษ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศระดับการเฝ้าระวัง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน ระบบสาธารณสุขไทยสามารถ ดูแล และป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 และฝีดาษลิง ย้ำให้ประชาชนทุกคนปฏิบัติตามมาตรการ Universal Prevention  อย่างเคร่งครัดต่อเนื่อง เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดโควิด 19 แล้วยังจะสามารถทำให้ป้องกันโรคฝีดาษวารได้อีกทางหนึ่งด้วย

  • โรคฝีดาษลิงยากที่จะควบคุมหรือกำจัดให้หมดไป

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ฝีดาษลิงเป็นโรคที่องค์การอนามัยโลกประกาศเป็น ภาวะฉุกเฉินฯ ระหว่างประเทศ ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2565  ทุกประเทศ ควรจะต้องช่วยกันในการควบคุม ลดการระบาดของโรค

ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้นมากกว่า  16,000 คน มีรายงานกล่าวถึงการเสียชีวิต  5 ราย แต่ตามรายงานขององค์การอนามัยโลกในวันที่ 22 กรกฎาคม 2565 ไม่มีผู้เสียชีวิต พบผู้ป่วยมากกว่า  70 ประเทศ และจะพบจำนวนเพิ่มมากขึ้นอีกแน่นอน

โรคนี้เป็นโรคที่ไม่รุนแรง มีอัตราการเสียชีวิตน่าจะน้อยกว่า  3 ใน 10,000 โดยเฉพาะพวกกลุ่มเปราะบางเท่านั้น ฝีดาษลิงที่รายงานให้องค์การอนามัยโลกพบในเพศชาย  98% และอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ จำนวนมากเป็นชายรักชาย ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (22 กรกฎาคม 2565) และผู้ป่วยมีการติดเชื้อ HIV ร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก (https://worldhealthorg.shinyapps.io/mpx_global/)

โรคฝีดาษลืงติดต่อและแพร่กระจาย โดยการสัมผัสอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะกิจกรรมเพศสัมพันธ์ โรคอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับการสัมผัสทางเพศสัมพันธ์ จึงยากที่จะควบคุมหรือกำจัดให้หมดไป กามโรคมีมานับหลายร้อยปี มียารักษาที่ดี ก็ไม่สามารถกำจัดให้หมดไปได้  ในทำนองเดียวกัน ฝีดาษลิงจึงเป็นการยากในการควบคุม และกำจัดให้หมดไป นอกจากฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพได้ครอบคลุมเกือบทั้งหมด ก็ต้องใช้จ่ายเงินอีกจำนวนมาก  เราคงต้องอยู่กับโรคนี้อีก

ที่มา https://www.facebook.com/yong.poovorawan

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า