SHARE

คัดลอกแล้ว

ค่าจ้างเพื่อชีวิต คืออะไร ทำไมถึงแตกต่างจากค่าแรงขั้นต่ำ
ในสถานการณ์คุณภาพชีวิตแรงงานที่นับวันดูจะยิ่งลำบากขึ้น ในวงเสวนาการกำจัดความเหลื่อมล้ำในอุตสาหกรรมอาหาร เห็นว่าสถานการณ์หลังยุคโควิด-19 แรงงานควรได้รับ ค่าจ้างเพื่อชีวิต หรือ “living wage” ที่เพียงพอต่อคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมและมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มากกว่าค่าแรงขั้นต่ำ

[ ทำไมต้องเปลี่ยนมาจ่ายค่าจ้างเพื่อชีวิตแทน ]

‘คารา ฟลาวเออร์’ ที่ปรึกษาอาวุโสด้านอาหาร ฟาร์มและประมงของ Ethical Trade Initiative (ETI) องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิแรงงานและส่งเสริมการค้าที่เป็นธรรม อธิบายว่า ‘ค่าจ้างเพื่อชีวิต’ ต้องมากกว่าค่าแรงขั้นต่ำ

การที่แรงงานมีรายได้แค่เพียงพอต่อการมีชีวิตรอดนั้นไม่ถือว่าเป็นค่าจ้างเพื่อชีวิต เพราะค่าจ้างเพื่อชีวิตต้องทำให้แรงงานสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเข้าถึงความต้องการพื้นฐานอย่างอาหาร การรักษาพยาบาล การศึกษา บ้านที่อยู่อาศัย ตลอดจนการจ้างงานที่เป็นธรรมได้จริงด้วย

การพูดคุยเกี่ยวกับค่าแรง หลายครั้งมักเป็นความพยายามหาค่าแรงต่ำที่สุดที่จะทำให้แรงงานมีชีวิตรอดได้ แต่เราไม่ได้มองแค่การมีชีวิตรอด เรายังมองไปถึงโอกาสในการเจริญก้าวหน้า และคุณภาพชีวิตของพวกเขาด้วย จึงเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้อย่างมากเมื่อแรงงานบางกลุ่มอุตสาหกรรม อาทิ แรงงานในกลุ่มผู้ผลิตอาหารให้เรากลับเป็นกลุ่มที่กำลังลำบากมากที่สุด

ขณะที่มุมมองจาก ‘สุธาสินี แก้วเหล็กไหล’ ผู้ประสานงานเครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ (MWRN) กล่าวว่า แรงงานอาหารทะเลจำนวนมากได้ค่าจ้างเฉพาะวันที่ทำงานเท่านั้น ดังนั้น แรงงานจะได้ค่าจ้างสูงสุดราว 26 วันต่อเดือน แต่ในความเป็นจริงแรงงานไม่ได้กินข้าวแค่ 26 วัน ต้องกินข้าว 30 วันต่อเดือน พวกเขาควรได้รับค่าแรงที่เป็นธรรมเพื่อให้มีชีวิตรอด

การที่บริษัทเอกชนเริ่มพูดถึง “ค่าจ้างเพื่อชีวิต” มากขึ้นเรื่อยๆ เป็นเรื่องที่ดี โดยเฉพาะในประเทศที่ยังไม่มีเกณฑ์ค่าจ้างเพื่อชีวิตที่ชัดเจนซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย ดังนั้นบริษัทต่างๆ ควรทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมและมีส่วนร่วมกับแรงงานมากขึ้นเพื่อร่วมกันกำหนดเกณฑ์ที่เป็นธรรมต่อทุกฝ่ายอย่างแท้จริง ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำให้ลดลง

ความเห็นจากตัวแทนอุตสาหกรรมอาหารรายใหญ่ของประเทศไทย อย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือซีพีเอฟ ‘โชค กิตติพงษ์ถาวร’ รองกรรมการผู้จัดการด้านการบริหารค่าจ้างและค่าตอบแทน ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟประกาศเป้าหมายว่าจะจ่ายค่าจ้างเพื่อชีวิตให้กับพนักงานทุกคนภายในปี พ.ศ. 2566 โดยเชื่อว่าการจ่ายค่าจ้างเพื่อชีวิตนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อแรงงานแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อบริษัทด้วย เนื่องจากช่วยลดอัตราการลาออกและลดต้นทุนด้านการหาพนักงานใหม่ได้

อย่างไรก็ตามเรื่องนี้บริษัทต้องดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป และต้องผ่านการเห็นชอบของฝ่ายต่างๆ

ทางซีพีเอฟ ระบุว่า จะกำหนดเกณฑ์ค่าจ้างเพื่อชีวิต โดยใช้ค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมายเป็นฐาน จากนั้นจะพิจารณาว่าบริษัทมีความสามารถในการจ่ายค่าจ้างเพิ่มเติมได้มากน้อยแค่ไหน

เมื่อมองปัญหานี้ในระดับโลก ‘จอห์น ซามูเอล’ ผู้อำนวยการอ็อกแฟมในภูมิภาคเอเชีย ระบุว่า ขณะนี้ความเหลื่อมล้ำทั่วโลกอยู่ในระดับที่น่าตกใจอย่างมากด้วยผลกระทบจากโควิด-19 โดยแรงงานผู้หญิงและแรงงานอายุน้อยเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด

[ทำไมถึงทำเรื่องค่าจ้างเพื่อชีวิตได้ไม่ง่าย?]

ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า ปัจจุบันแม้บริษัทหลายแห่งมีนโยบายที่จะจ่ายค่าจ้างเพื่อชีวิตแล้ว แต่ชุดข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างในปัจจุบันยังมีไม่เพียงพอที่จะสามารถนำมากำหนดเกณฑ์ค่าจ้างเพื่อชีวิตที่ชัดเจน เหมาะสม และน่าเชื่อถือได้ เนื่องจากบริบทของแต่ละประเทศ และแต่ละอุตสาหกรรมแตกต่างกันมาก

แต่วิธีที่พอจะทำได้คือ บริษัทต่างๆ ที่มีเป้าหมายจ่ายค่าจ้างเพื่อชีวิต ต้องสร้างการมีส่วนร่วมกับพนักงานของตัวเอง รับฟังและจัดเก็บข้อมูล เข้าใจความต้องการของแรงงานอย่างแท้จริง จะทำให้สร้างแผนงาน ค่าจ้างเพื่อชีวิตออกมาได้เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ

 

เรียบเรียงจากวงเสวนาเรื่อง ‘Battling Inequality in Food Supply Chains: a post-pandemic talk on living wage’ จัดโดย อ็อกแฟม อินเตอร์เนชั่นแนล (Oxfam International) ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่ออาหารทะเลที่เป็นธรรมและยั่งยืน (CSO Coalition)

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า