SHARE

คัดลอกแล้ว

อย. ยืนยันแป้งฝุ่นเด็กที่ขายในไทยปลอดภัย เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในท้องตลาดอย่างเข้มงวด-เก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ ขอให้ผู้บริโภควางใจ

จากการที่บริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (J&J) ประกาศจะหยุดจำหน่ายแป้งเด็กที่ทำจากทัลคัม (Talcum) ทั่วโลกภายในปี 2566 เนื่องจาก มีเหตุฟ้องร้องว่าผลิตภัณฑ์แป้งเด็กที่ทำจากทัลคัมพบการปนเปื้อนของแร่ใยหิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งนั้น

เภสัชกรวีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า แป้งฝุ่นโรยตัวมีส่วนประกอบหลัก คือ ทัลคัม (Talcum) ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่พบได้ตามธรรมชาติ ช่วยดูดซับความชื้น ให้ความรู้สึกสบาย นุ่มลื่นผิว มีการใช้มาเป็นเวลานาน โดยทัลคัมที่นำมาใช้ในเครื่องสำอางต้องมีความบริสุทธิ์สูง ไม่มีการปนเปื้อนของแร่ใยหิน (Asbestos) และปัจจุบันทัลคัมยังคงเป็นสารที่ปลอดภัย สามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางได้

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีการติดตามเฝ้าระวังความปลอดภัยของแป้งฝุ่นโรยตัวที่อาจมีการปนเปื้อนของแร่ใยหินมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน โดยได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์แป้งฝุ่นโรยตัวที่มีส่วนผสมของทัลคัมหลายยี่ห้อ รวมทั้งยี่ห้อจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน รวมจำนวน 133 ตัวอย่าง ล่าสุด ในปี 2563-2565 เก็บส่งตรวจวิเคราะห์ จำนวน 20 ตัวอย่าง เป็นยี่ห้อจอนห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน จำนวน 6 ตัวอย่าง ผลการตรวจวิเคราะห์ทุกรายการไม่พบการปนเปื้อนแร่ใยหินแต่อย่างใด ขอให้ผู้บริโภควางใจ

สำหรับแร่ใยหินเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง หากตรวจพบแร่ใยหินในแป้งฝุ่นโรยตัวจะเข้าข่ายเป็นเครื่องสำอางที่มีสารห้ามใช้ จัดเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้ามีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เภสัชกรวีระชัย ได้แนะนำการใช้แป้งฝุ่นโรยตัวว่า ไม่ควรใช้ในปริมาณมากๆ เพราะผงแป้งจะฟุ้งกระจาย หากสูดดมเข้าไปอาจทำให้ระคายเคืองทางเดินหายใจ นอกจากนี้ กฎหมายได้กำหนดให้แสดงคำเตือนที่ฉลากของผลิตภัณฑ์แป้งฝุ่นสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ว่า “ระวังอย่าให้แป้งเข้าจมูกและปากของเด็ก”

นอกจากนี้กรณีข่าวการเรียกคืนไอศกรีมฮาเก้น-ดาส ที่ผลิตในฝรั่งเศส ของหลายประเทศในยุโรป เนื่องจากพบการปนเปื้อนสาร 2-คลอโรเอทานอล

รองเลขาธิการ อย. เปิดเผยว่า กองด่านอาหารและยาได้ตรวจสอบแล้ว ไม่มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์รุ่นการผลิตที่พบสารปนเปื้อนดังกล่าวเข้ามาในประเทศไทย ขอให้ผู้บริโภคมั่นใจว่า อย. มีมาตรการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าเพื่อจำหน่ายในประเทศอย่างเข้มงวด และติดตามรายงานสถานการณ์ความไม่ปลอดภัยของอาหารในต่างประเทศอย่างใกล้ชิด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า