Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘สภาล่ม’ หลังเปิดประชุมเพียง 20 นาที แต่องค์ประชุมไม่ครบ ปัดตกสูตรหาร 500 กลับไปใช้สูตรหาร 100 ตามร่างเดิมที่ ครม.เสนอมา 

เวลา 09.00 น. วันที่ 15 ส.ค.  2565 ในการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว และปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับมาตรา 23 ที่เกี่ยวกับสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ด้วยการหาร 500 โดยเป็นวันสุดท้ายที่จะครบกำหนดกรอบ 180 วัน โดยมีนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม

หากพิจารณาไม่แล้วเสร็จจะต้องกลับไปใช้ร่าง พ.ร.ป.ฯ ฉบับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ใช้สูตรหาร 100

ก่อนที่ประชุมจะเริ่มการพิจารณามาตรา 24/1 ที่กมธ. เพิ่มขึ้นมาใหม่ เกี่ยวกับการคํานวณ ส.ส. และการประกาศผลการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นมาตราที่ต้องหยุดการพิจารณาไปเพราะช่วงลงมติไม่ครบองค์ประชุม โดยในเวลา 09.01 น. นายชวน ได้กดออดเพื่อเรียกสมาชิกเข้าห้องประชุม และแจ้งต่อที่ประชุมว่า ขณะนี้มีสมาชิกมาลงชื่อเพียง 111 คน ถือยังไม่ครบองค์ประชุม 364 คน อย่างไรก็ตาม เวลาผ่านไป 35 นาทีแล้วองค์ประชุมขยับมาที่ 276 คน ประกอบด้วย ส.ส. 152 คน และส.ว. 124 คน

ต่อมาเวลา 09.50 น. องค์ประชุมก็ยังไม่ครบ ทำให้นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย (พท.) ลุกขึ้นถามหาประธานรัฐสภา เรียกร้องให้นายชวน มาทำหน้าที่ เพราะผ่านมา 50 นาทีแล้ว ก็ยังไม่สามารถเปิดการประชุมได้ เพราะมีเพียง 325 คนเท่านั้น ยังขาดอีก 30 คน

กระทั่งเวลา 10.00 น. นายชวน ได้กดออดเรียกสมาชิกอีกครั้ง และแจ้งต่อที่ประชุมว่า ขณะนี้องค์ประชุมยังไม่ครบ แต่จะให้โอกาส เพราะเหตุว่าครั้งนี้ไม่ใช่การประชุมตามปกติ เพราะปกติเรานัดประชุมเวลา 09.00 น. ผ่านไป 45 นาที องค์ประชุมจึงจะครบ ส่วนวันนี้แม้จะเวลา 10.00 น. องค์ประชุมยังไม่ครบ แต่จะให้เวลาสมาชิก อีก 10 นาที ถ้าไม่ครบก็ไม่ครบ และตนจะปิดประชุม

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทยลุกขึ้นแย้งนายชวนว่า ในที่ประชุมวิป 3 ฝ่าย นายชวนระบุว่าหากเวลา 10.00 น. องค์ประชุมไม่ครบจะสั่งปิดการประชุม ขณะนี้ชัดเจนแล้วว่านี้คือเจตรมณ์ของสมาชิกที่จะให้กลับไปใช้ร่างแรก จึงขอให้นายชวนดำเนินการตามคำมั่นที่ให้ไว้ต่อที่ประชุมวิป 3 ฝ่าย

นายชวน ชี้แจงว่า ในการประชุมวิป 3 ฝ่ายเมื่อวันที่ 9 ส.ค. นี้ ตนพูดแบบนั้นจริง แต่วันนี้ยังไม่ได้ตกลงกันเรื่องเวลา ก็ขอโอกาสใหสมาชิกทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ และอย่าไปวิพากษ์วิจารณ์คนที่ไม่มา เพราะถือว่าไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมายแต่เป็นสิทธิ ไม่ใช่ความขี้เกียจ แต่เป็นความเห็นทางกฎหมาย เราแค่ทำหน้าที่ให้ครบถ้วนของฝ่ายนิติบัญญัติ อีกทั้งวันนี้คือวันสุดท้ายของการพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ ด้านนายจเด็จ อินสว่าง ส.ว. ลุกขึ้นกล่าวว่า ไม่ว่าวันนี้จะเป็นอย่างไร ตนชื่นชมประธานที่ทำหน้าที่ได้อย่างมีเกียรติ และสมศักดิ์ศรี ตนขอเป็นกำลังใจให้ และขออยู่ข้างบัลลังก์เคียงข้างประธานไม่ว่ากาลเวลาจะเป็นอย่างไร

ต่อมาเวลา 10.08 น. หรือก่อนกำหนดเวลาเพียง 2 นาที องค์ประชุมมาครบจำนวน 364 คน ทำให้นายชวน แจ้งว่าขณะนี้องค์ประชุมครบแล้ว ขอเปิดการประชุม นายชวน แจ้งต่อที่ประชุมว่า ขั้นตอนหลังจากนี้ จะเริ่มต้นลงมติมาตรา 24/1 ต่อเนื่องจากการประชุมครั้งที่แล้ว ที่ไม่สามารถลงมติได้ เพราะองค์ประชุมไม่ครบ จากนั้นนายชวน ได้กดออดเรียกสมาชิกรัฐสภา มาแสดงตนเป็นองค์ประชุม ก่อนจะลงมติ โดยใช้เวลากดออดเรียกสมาชิกนานเกือบ 10 นาที แต่ยังไม่มีการประกาศผลการแสดงตน จนนายจุลพันธ์ กล่าวว่า นายชวนกดออดมาสักพักแล้ว ตนเดินไปดูที่หน้าจอมีสมาชิกมาแสดงตนเพียง 320 คน จะรออีกนานแค่ไหน ซึ่งนายชวน ตอบว่า ขอรอต่ออีกสักนิด อย่าให้เขามากล่าวหาว่าฉวยโอกาสรีบปิด ขอให้รออีกสักนิด ไม่ต้องเร่งรีบ แต่ขอให้ใช้ดุลพินิจ ในเวลาที่สมควร ถ้าไม่ครบคือไม่ครบ แต่ขอให้สมาชิกใจเย็นวันนี้ ตนขออนุญาตรอโดยไม่รอการอภิปราย

เวลา 10.27 น. นายชวน กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ในช่วงการตรวจสอบองค์ประชุม หากไม่สามารถพิจารณาร่างกฎหมายได้ทัน 180 วัน ถือว่า ที่ประชุมให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.ป. ที่เสนอมาโดย ครม. ในวาระ 1 ตอนนี้มีผู้มาลงชื่อ 355 คน ไม่ครบองค์ประชุม ตนจึงขอปิดประชุมในเวลา 10.28 น. ทั้งนี้ ถือว่าร่าง พ.ร.ป. พิจารณาไม่ทันตามกรอบเวลา 180 วัน ทำให้จะต้องกลับไปใช้ร่าง พ.ร.ป.ฯฉบับ ครม. ที่ใช้สูตรหาร 100

สำหรับ บรรยากาศภายในห้องประชุม มี ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) นั่งอยู่ประปราย ส่วนใหญ่เป็นส.ส.กทม. และนายนิโรธ สุนทรเลขา ส.ส.นครสวรรค์ พรรค พปชร.ในฐานะประธานวิปรัฐบาล หลังจากที่มีส.ส.โทรหาพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรค พปชร. เพื่อถามถึงความชัดเจนในการเข้าร่วมประชุมในวันที่ 15 สิงหาคมนี้ โดยพล.อ.ประวิตร สั่งให้ ส.ส.พรรค พปชร. เข้าร่วมประชุมเพื่อให้เปิดประชุมได้ แต่ไม่ให้แสดงตนเป็นองค์ประชุมเพื่อลงมติ เช่นเดียวกับพรรค พท. ก็นั่งกันอยู่บางตา มีเพียงนายจุลพันธ์ นายพิเชษฐ์ คอยนั่งรักษาการอยู่ในห้องประชุม ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) พรรคภูมิใจไทย (ภท.) และพรรคก้าวไกล (ก.ก.) นั่งกันอยู่เกือบครบทุกคน ขณะที่ ส.ว. มานั่งประชุมประมาณครึ่งหนึ่ง

  • ไม่รู้ ไม่รู้ สภาล่มหรือ 

ด้านพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ให้สัมภาษณ์ระหว่างลงพื้นที่จังหวัดสระบุรี ภายหลังที่ประชุมร่วมรัฐสภาล่มวันนี้ว่า “ไม่รู้เรื่อง ส่วนที่จะต้องกลับไปใช้สูตรหาร 100 หรือไม่นั้นก็บอก ไม่รู้ ไม่รู้ ก่อนที่จะย้อนถามว่า สภาล่มแล้วเหรอ ?

ส่วนที่นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงนักเล่นเกมที่หัวหน้าทีมให้ลูกทีมไปลงชื่อ แล้วไม่ต้องลงสนาม เปลี่ยนข้างมายิงประตูตัวเองนั้น

พล.อ.ประวิตร ถามกลับว่า ใคร ก็ให้ไปถามนายพีระพันธุ์ จะมาถามอะไรตน นายพีระพันธุ์ รู้ ก็ถามเขา

เมื่อถามว่า ก็มีการตีความว่าหมายถึง “บิ๊กป้อม” พลเอกประวิตร ร้อง เฮ้ย คุณมาพูดอย่างงี้ได้อย่างไร

  • ‘นิกร’ แจงกลับไปใช้สูตรหาร 100 ฉบับ ครม. ชี้ ‘Walk Out’ ไม่ผิด 

นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่. …) พ.ศ. … กล่าวถึงกรณีที่องค์ประชุมร่วมรัฐสภาไม่ครบจนทำให้ร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.ต้องตกไปว่า ถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบตามร่างพ.ร.ป.ฯร่างแรกที่เสนอโดย ครม.

ส่วนประเด็นองค์ประชุมไม่ครบนั้น นายนิกร กล่าวว่า เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยกลไกของรัฐสภา โดยหวังให้กลับไปใช้ใช้ร่างเดิมที่หารด้วย 100 ดังนั้นฝ่ายที่ใช้วิธีการ Walk Out ก็เป็นกรณีที่ทำได้ เพราะไม่เห็นชอบด้วย เนื่องจากเห็นว่าอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ แม้กรรมาธิการ (กมธ.) เสียงข้างมากสนับสนุนหาร 100 ก็ยังแพ้กมธ.เสียงข้างน้อยที่แก้ไขไปเป็นหาร 500 ส่วนสมาชิกรัฐสภาที่เคยลงคะแนนเห็นชอบในร่างหาร 500 มาแต่เดิมแล้ว แต่กลับไม่แสดงตัวเพื่อเข้าร่วมประชุมนั้น เพราะคงปัญหาในการคำนวณ หรืออาจขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ หากจะตกไปทั้งฉบับแล้วกลับมานับหนึ่งใหม่ก็กลัวว่าจะไม่ทันกาล จึงเลือกวิธีให้กลับไปใช้ร่างหลักแรกที่รับมา

หลังจากนี้ต้องส่งให้คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ในฐานะองค์กรอิสระให้ความเห็นกลับมาภายใน 10 วัน เชื่อว่ากกต.จะไม่มีความเห็นแย้ง ก่อนที่ส่งให้นายกรัฐมนตรี รอไว้ 5 วัน เพื่อดูว่าใครจะยื่นศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่ตนขอแนะนำนพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังธรรมใหม่ รวบรวบมื่อ 73 รายชื่อยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ เพื่อประชาชนจะได้สิ้นข้อสงสัย เมื่อผ่านขั้นตอนนี้ก็นำขึ้นทูลเกล้าฯเสนอเพื่อลงพระปรมาภิไธยต่อไป.

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า