SHARE

คัดลอกแล้ว

เมื่อปลายเดือนที่แล้ว หลายๆ คนอาจจะได้เห็นข่าวว่า ‘สยามอะเมซิ่งพาร์ค’ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ ‘สวนสยาม’ ได้ออกมาเปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการส่วนต่อขยายที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างอย่าง ‘บางกอกเวิลด์’ ที่ทุ่มทุนกว่า 3,000 ล้านบาท ในการก่อสร้างกรุงรัตนโกสินทร์จำลองมาไว้บริเวณหน้าสวนสยาม พร้อมเตรียมจะเปิดให้เข้าชมฟรีได้ในเดือน พ.ย. ที่จะถึงนี้

แต่หลายๆ อาจไม่รู้ว่า คน ‘ตระกูลเหลืองอมรเลิศ’ คาดหวังมากแค่ไหน และวางเดิมพันอะไรไปบ้างกับโปรเจ็กต์ ‘บางกอกเวิลด์’ นี้

[ สองปีโควิด ขาดทุน ขายที่ดิน เฉือนเนื้อ รักษาชีวิต ]

ในปี 2019 ประเทศไทยเคยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 40 ล้านคน และมีคนไทยเที่ยวไทยมากกว่า 160 ล้านคน-ครั้ง แต่หลังจากการเข้ามาของโควิด-19 จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศก็ลดลงอย่างฮวบฮาบ และเป็นไปไม่ได้ที่ ‘สวนสยาม’ ที่เป็นธุรกิจท่องเที่ยวจะไม่ได้รับผลกระทบ

หากย้อนดูงบกำไร-ขาดทุนของ บริษัท สยามพาร์คซิตี้ จำกัด ที่เป็นบริษัทแม่หรือบริษัท ‘โฮลดิ้ง’ อาจจะไม่ได้สะท้อนสถานการณ์ของสวนสยาม

แต่หากดูงบกำไร-ขาดทุนของ ‘บริษัท สยามพาร์ค บางกอก จำกัด’ บริษัทในเครือที่รับหน้าที่บริหารสวนน้ำ จะเห็นว่า นับจากปี 61 มา รายได้ของสวนสยามลดลงเรื่อยๆ และขาดทุนตลอด 3 ปีหลังที่อยู่ภายใต้สถานการณ์โควิด-19

งบกำไร-ขาดทุนของ ‘บริษัท สยามพาร์ค บางกอก จำกัด’
2561 รายได้ 378 ล้าน กำไร 1 ล้าน
2562 รายได้ 354 ล้าน ขาดทุน 35 ล้าน
2563 รายได้ 159 ล้าน ขาดทุน 88 ล้าน
2564 รายได้ 70 ล้าน ขาดทุน 45 ล้าน

จึงไม่แปลกที่หลังจากแบกรับค่าใช้จ่ายต่อเดือน 30-40 ล้านบาทต่อเดือน ท่ามกลางการล็อกดาวน์และไร้นักท่องเที่ยวหลายเดือน กลางปี 2020 ครอบครัวเหลืองอมรเลิศ เจ้าของ ‘สวนสยาม’ จะตัดสินใจเฉือนเนื้อ รื้อถอนเครื่องเล่น 3 เครื่อง อย่างไดโนโทเปีย แกรนด์แคนยอน และท่องป่าแอฟฟริกาออก ขายที่ดิน 10% ของที่ดินสวนสยามจากทั้งหมด 300 ไร่ ยอมตัดใจเพื่อรักษาส่วนใหญ่เอาไว้

สาเหตุที่ทำให้ ‘สวนสยาม’ ตัดสินใจขายที่ดินออกไปตอนนั้น นอกจากเพื่อนำเอากระแสเงินสดมาหล่อเลี้ยงบริษัท เลี้ยงพนักงานกว่า 400 ชีวิตแล้ว

อีกเหตุผลหนึ่ง คือ ‘สยามบางกอกกรุ๊ป’ อันเป็นบริษัทแม่ได้เริ่มลงลงเสาเข็ม ใช้ทุนในโปรเจ็กต์ใหม่อย่าง ‘บางกอกเวิลด์’ ไปแล้วก่อนวิกฤตโควิด-19

[ บางกอกเวิลด์ ภารกิจสุดท้ายของผู้ก่อตั้งสวนสยาม ]

‘ดร.ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ’ ประธานที่ปรึกษาสยามบางกอกกรุ๊ป ผู้ก่อตั้งสวนสยาม ที่ปัจจุบันมีอายุกว่า 83 ปี คือ ผู้ริเริ่มโปรเจ็กต์ ‘บางกอกเวิลด์’

โครงการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่จำลองเอาสถานที่สำคัญของกรุงเทพฯ และตึกเก่าที่โด่งดังของกรุงรัตนโกสินทร์ อย่างศาลาเฉลิมไทย ศาลาเฉลิมกรุง สำเพ็ง คลองถม พาหุรัด ไซน่าทาวน์ หรืออนุสาวรีย์ประชาธิปไตยมาไว้รวมกัน

เพื่อให้นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปสามารถท่องเที่ยวทั่วกรุงได้ในสถานที่เดียว ตั้งอยู่บริเวณประตูหน้าของสวนสยาม กินพื้นที่กว่า 70 ไร่ และเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าชมได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

โดยตึกต่างๆ ของ ‘บางกอกเวิลด์’ ยังทำหน้าที่เป็นศูนย์อาหาร ห้างร้านค้าปลีกวางสินค้าไทย 1,000 ร้านค้า ตลาดน้ำ ตลาดกลางคืน 200 ร้านค้า พื้นที่จัดกิจกรรมอีเว้นท์ ลานคอนเสิร์ต และศูนย์ประชุมขนาดใหญ่ 3 ชั้น รวมพื้นที่ใช้สอย 9,000 ตร.ม. ที่รองรับได้มากกว่า 2,000 คนด้วย

ที่สำคัญที่สุด คือ ผู้ก่อตั้งสวนสยามมองว่า โปรเจ็กต์ ‘บางกอกเวิลด์’ เป็น “ภารกิจสุดท้ายในชีวิต” หลังจากทุ่มเทเวลาชั่วชีวิตในการสร้างและรักษาสวนสยาม สวนน้ำที่มีทะเลเทียมที่ใหญ่ที่สุดในโลกให้อยู่คู่คนไทย

‘ดร.ไชยวัฒน์’ เองก็ได้บอกในงานว่า บางกอกเวิลด์เป็นงานส่งท้ายก่อนวางมือจากการบริหารงาน…เดิมพันด้วยที่ดิน 70 ไร่ของโครงการ ที่ถ้าไม่ประสบความสำเร็จก็ยินดีให้ธนาคารยึด

เนื่องจากทุนพัฒนาโปรเจ็กต์มาจากทั้งทุนของสยามบางกอกกรุ๊ปและจากการกู้ธนาคาร

จึงไม่แปลกที่ ‘บางกอกเวิลด์’ จะมีความสำคัญต่อคนตระกูลเหลืองอมรเลิศ แต่นอกจากนั้นแล้ว ในแง่ของธุรกิจเอง ‘บางกอกเวิลด์’ ยังเป็นความหวังทางธุรกิจของทั้งสยามบางกอกกรุ๊ปด้วย

[ ความคาดหวังในการพลิกฟื้นชีวิตสวนสยาม ]

จาก 1.5 ล้านคนสู่ 5 ล้านคนต่อปี คือ ความคาดหวังของสยามบางกอกกรุ๊ปที่มีต่อ ‘บางกอกเวิลด์’

เดิมก่อนโควิด-19 ‘สวนสยาม’ มีจำนวนลูกค้าราวๆ 1.2-1.5 ล้านคนต่อปี แต่ผู้บริหารสยามบางกอกกรุ๊ปเชื่อว่า ภายใน 2 ปีหลัง ‘บางกอกเวิลด์’ เปิดให้บริการในช่วงปลายปีนี้ จะช่วยดึงดูดลูกค้าให้สวนสยามให้ถึงปีละ 5 ล้านคนได้ในปี 2567

โดยตั้งเป้าหมายจะดึงดูดนักท่องเที่ยวไทย 60% และนักท่องเที่ยวต่างชาติ 40% จากเดิมที่เคยมีนักท่องเที่ยวไทย 85% และนักท่องเที่ยวต่างชาติเพียง 15%

จึงอาจจะบอกได้ว่า ‘บางกอกเวิลด์’ คือโปรเจ็กต์ใหม่ที่ออกมาเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพราะใช้เวลาเที่ยวน้อยกว่าสวนสยาม ทำให้สามารถต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีเวลาน้อยได้ด้วย ไปพร้อมๆ กับทำให้สวนสยามสามารถเข้าถึงคนไทยได้หลากหลายและครบวงจรมากขึ้น เพราะมีทั้งตลาด พื้นที่จัดอีเว้นท์ และศูนย์ประชุมด้วย

เป้าหมายจาก 1.5 ล้านคนสู่ 5 ล้านคนต่อปี หรือเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าภายใน 2 ปี รวมถึงคืนทุนสร้างได้ในระยะเวลาประมาณ 7-10 ปีไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะสำหรับสวนน้ำที่เปิดมานานเกือบ 40 ปี อยู่ในจุดที่ค่อนข้างอิ่มตัว ไม่ได้เติบโตอย่างก้าวกระโดดมานานแล้วอย่างสวนสยาม

‘ตัวพลิกเกม’ จึงอาจจะเป็นความหมายของ ‘บางกอกเวิลด์’ ที่มีต่อสยามบางกอกกรุ๊ปและครอบครัวเหลืองอมรเลิศที่ผ่านสถานการณ์โหดหินในช่วงโควิด-19 มา แต่จะพลิกได้จริงไหมท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจและปัญหาภูมิรัฐศาสตร์โลกแบบนี้ก็ต้องรอจับตาดูและเอาใจช่วย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า