SHARE

คัดลอกแล้ว

รู้หรือไม่ว่าผลกระทบจาก ‘ขยะจากเศษอาหาร’ ทำให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 8% ดังนั้นเป้าหมายในการทำให้ขยะจากอาหารลดลง จึงเป็นสิ่งที่หลายประเทศพยายามรณรงค์และแก้ปัญหานี้

การแก้ปัญหาขยะจากอาหาร คือการพยายามหาวิธีจัดการขยะจากอาหารอย่างคุ้มค่าให้มากที่สุด หรือที่เราคุ้นหูกันในชื่อเรียกว่า Zero Food Waste แนวคิดนี้อยู่บนฐานคิดการทำธุรกิจแบบ Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียนนั่นเอง

เราลองไปดูกรณีศึกษาธุรกิจที่ทำ Zero Food Waste ได้อย่างน่าสนใจและเป็นต้นแบบในวงการธุรกิจท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ‘เดอะเลกาซี ริเวอร์แคว รีสอร์ท’ หนึ่งในธุรกิจที่พยายามจะช่วยแก้ปัญหานี้ ซึ่งความพยายามนี้เทียบเท่าการปลูกต้นไม้หรืออนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่อายุ 10 ปี จำนวน 469 ต้น หรือเท่ากับการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำได้พื้นที่ถึง 1 ไร่

[ เส้นทางสู่ Zero Food Waste ]

วัตถุดิบที่รีสอร์ทแห่งนี้ใช้ในการปรุงอาหารทุกอย่างจะมีที่มาที่ไป ถูกหมุนเวียนใช้อย่างคุ้มค่าไม่ให้กลายเป็นขยะเลยสักชิ้น ทั้งยังสามารถลดปริมาณขยะที่ส่งไปยังบ่อฝังกลบของชุมชนลงได้ 67 เปอร์เซ็นต์จากน้ำหนักขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด

จุดแรกทางรีสอร์ทเริ่มตั้งแต่ปลูกผักสลัด ผักสวนครัว เพื่อนำไปใช้ในครัวปรุงอาหารเอง โดยทำมาตั้งแต่เมื่อหลายปีก่อน จากนั้นอาหารที่เหลือจากห้องอาหารก็จะนำมาหมักกับมูลวัวให้กลายเป็นปุ๋ยหมัก เพื่อใช้ในการปลูกผักในรีสอร์ทหมุนเวียนกันไป หรือในส่วนของการจัดการใบไม้แห้งและเศษหญ้าที่ถูกตัดแล้วในรีสอร์ทที่นับเฉลี่ยแล้วได้วันละประมาณ 5 รถกระบะ หากมองเป็นขยะ ก็เท่ากับกับว่าเป็นภาระของรีสอร์ทที่จะต้องนำไปทิ้ง แต่เมื่อเปลี่ยนมุมมอง นำเศษหญ้า ใบไม้แห้งมาหมักเป็นวัสดุปลูกหรือดินปลูกเพื่อใช้ในการเกษตรภายในรีสอร์ท ก็กลายเป็นทรัพยากรที่สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ได้อีก

วัลลภ พิชญ์พงศา ผู้จัดการทั่วไปบริษัท เดอะเลกาซี ทราเวล จำกัด เล่าว่า เราใช้แนวทางของเศรษฐกิจหมุนเวียนหรือ Circular Economy ในการบริหารจัดการขยะอาหารหรือของเหลือทั้งหมด ว่าคือทรัพยากรที่หมุนเวียนใช้ได้ไม่รู้จบ ดังนั้นการเปลี่ยนมุมมองจากขยะเป็นทรัพยากรสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจ เป็นการช่วยลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ย ซื้อดินปลูก ลดการนำใบไม้ออกไปทิ้งข้างนอกซึ่งเป็นภาระค่าใช้จ่ายในการจัดการ

นอกจากนี้เดอะเลกาซียังมีรายได้เพิ่มจากการคัดแยกขยะ จากการจำหน่ายปุ๋ยจากเศษอาหารเหล่านั้น และจากการจำหน่ายผักสลัดอินทรีย์ที่ปลูกเองให้ลูกค้ารีสอร์ท รวมถึงขายให้กับเพื่อนๆ รีสอร์ทใกล้เคียงด้วย

นอกเหนือจากเรื่อง Zero Food Waste แล้ว เรายังลดการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียว โดยเปลี่ยนขวดน้ำที่ให้บริการในห้องพักและร้านอาหารเป็นขวดแก้วทั้งหมด รวมถึงเปลี่ยนหลอดน้ำเป็นแบบย่อยสลายได้ (Bio-degradable) เพื่อลดปริมาณขยะที่ต้องส่งออกไปทิ้งที่หลุมฝังกลบที่รัฐจัดให้ให้น้อยที่สุด โดยตั้งเป้าหมายที่จะลดปริมาณลงให้ได้เจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์ในสิ้นปีนี้

โดย 5 เดือนที่ผ่านมา หลังเก็บข้อมูลน้ำหนักขยะที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจการทั้งหมด เพื่อนำมาวิเคราะห์ Carbon Emission ผลปรากฏว่ารีสอร์ทลดการฝังกลบขยะไปได้ 3,859 กิโลกรัม ซึ่งลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกจากการฝังกลบขยะได้ 7,035 kg.CO2e. ซึ่งเทียบเท่าการปลูกต้นไม้หรืออนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่อายุ 10 ปี จำนวน 469 ต้น หรือเท่ากับการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำได้พื้นที่ 1 ไร่

“เรามีแผนงานที่จะขยายแนวคิดไปยังชุมชนรอบข้างสิบเอ็ดหมู่บ้านในตำบลกลอนโด ซึ่งเป็นตำบลที่ตั้งของรีสอร์ท ให้มีการคัดแยกขยะ และลดการใช้ถุงพลาสติกในต้นปีหน้าด้วย”คุณวัลลภอธิบาย

อีกหนึ่งประเด็นสำคัญในการจะทำให้ธุรกิจขับเคลื่อนในแนวทางนี้ได้ผลคือการ สื่อสารกับพนักงานทั้งองค์กรให้เข้าใจเป้าหมาย Zero Food Waste เพื่อให้ได้รับความร่วมมือกันจากทุกแผนก เพราะบางหน่วยงานจะต้องปรับเปลื่ยนและมีขั้นตอนการทำงานเพิ่มเพื่อให้เข้าไปช่วยระดมกำลังแก้ไขอุปสรรคต่างๆ ได้ทันถ้าพบข้อผิดพลาด

วิธีหนึ่งที่ช่วยให้ทีมงานของรีสอร์ทเห็นคุณค่าของเรื่อง Zero Food Waste และสร้างความภาคภูมิใจให้กับทุกคน คือ ให้พนักงานแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานทำปุ๋ย วัสดุปลูก ไปจนถึงเชฟที่ใช้วัตถุดิบจากฟาร์มในรีสอร์ทไปทำอาหาร มีโอกาสได้นำเสนอและเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เขาทำในโอกาสพิเศษหรือตอนที่มีคนภายนอกเข้ามาดูงานเรื่อง Zero Food Waste และเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งความจริงจังนี้ทำให้เมื่อสองปีก่อนมีการจัดตั้ง Legacy Circular Economy Learning Center ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจหมุนเวียนขึ้นในรีสอร์ท

“หลายคนคิดว่าจะต้องไปปลูกป่า ถึงจะเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและลดโลกร้อน ซึ่งก็เป็นเรื่องดีมาก แต่ทำไม่ได้ทุกวัน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเล็กๆ ในชีวิตประจำวันให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แม้อาจจะเป็นสิ่งเล็กๆ แต่มันคือการรักษ์โลกในทุกวัน ซึ่งเป็นแรงกระเพื่อมในการเปลี่ยนแปลงสังคมและโลกที่ต่อเนื่องและยั่งยืน”คุณวัลลภสรุปทิ้งท้าย

ถือเป็นกรณีศึกษาของธุรกิจการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainability Tourism) ที่พยายามจะสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในทุกมิติ

ข้อมูลและภาพประกอบ
Global Compact Network Thailand
The Legacy River Kwai Resort

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า