SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – สมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉิน เผยทุกชั่วโมงคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลัน 2 ราย  แนะประชาชนควรพกยาอมใต้ลิ้น ร่วมกับ BABY แอสไพริน จี้สธ.- สพฉ.เร่งจัดระบบรองรับการส่งต่อเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย ให้มีประสิทธิภาพทันท่วงที

ศ.เกียรติคุณ นพ.สันต์  หัตถีรัตน์ นายกสมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย  กล่าวว่า จาก สถิติทุกชั่วโมงคนไทยต้องเสียชีวิตจากหัวใจวายเฉียบพลัน 2 คน ซึ่งภาวะหัวใจวายเฉียบพลันเกือบทั้งหมด เกิดจากหัวใจเต้นผิดปกติร้ายแรง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากหัวใจขาดเลือดรุนแรง จากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่นในอก เหมือนถูกเหยียบ หรือรัดแน่น ที่อาจร้าวไปที่คอ คาง ฟัน ยอดอก หรือร้าวไปที่ไหล่และแขนโดยเฉพาะด้านซ้าย ขณะหรือหลังการออกกำลังกายหรือเครียดมากๆ ซึ่งเกิดจากภาวะหัวใจขาดเลือดที่จะนำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้เมื่อมีอาการ ควรนั่งพักทันที ถ้านั่งพักสักครึ่งนาทีแล้วยังไม่ดีขึ้น ควรอมยาแก้อาการหัวใจขาดเลือด หรือ ยาไอเอสดีเอ็น (ISDN) ให้อมยาไว้ใต้ลิ้นทันที และเรียกคนใกล้เคียงให้ช่วยเหลือ หากอาการดีขึ้นหลังอมยาควรไปตรวจหาสาเหตุที่โรงพยาบาล แต่หากภายใน 2-3 อึดใจ หรือ 2-3 นาที ยังไม่ดีขึ้นให้โทรเรียก1669 เพื่อขอให้ส่งรถฉุกเฉินให้มาช่วย จากนั้นให้แล้วอมยา ISDN อีก1เม็ด แล้วรอจนกว่ารถฉุกเฉินจะมาช่วยเหลือ นอกจากผู้ที่มีภาวะเสี่ยงแล้ว ผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป และในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ก็ควรพกยาอมใต้ลิ้น ติดตัวไว้ด้วยเช่นกัน

สำหรับข้อห้ามในการใช้ยาอมใต้ลิ้น ISDN มี 2 กรณี คือ

  1. ผู้ที่ใช้ยากระตุ้นอวัยวะเพศชายให้แข็งตัว เช่น Viagra,Cialis
  2. ผู้ที่หน้ามืดเป็นลม หรือความดันเลือดตก ทั้งนี้ ยาอมใต้ลิ้น ISDN เป็นยาขยายหลอดเลือด รวมทั้งหลอดเลือดหัวใจ ทำให้หัวใจที่ขาดเลือดได้รับเลือดไปเลี้ยงเพิ่มขึ้น และทำให้หัวใจทำงานเบาลง เพราะความดันเลือดลดลงแม้จะไม่ใช่ภาวะหัวใจขาดเลือด การอมยาใต้ลิ้นไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงมากนัก แต่อาจเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ หน้าแดง เล็กน้อยจากการขยายตัวของหลอดเลือด ซึ่งจะหายไปเองใน 10-15 นาที

นพ.สมชาย กาญจนสุต อุปนายกสมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย อยากวิงวอนให้กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ เร่งพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินให้มีหน่วยปฏิบัติการและชุดปฏิบัติการเพิ่มขึ้นให้เหมาะสมกับประชากรในพื้นที่ เพื่อให้มีความรวดเร็วและทันท่วงทีก่อนที่จะเกิดการเสียชีวิตโดยไม่สมควร และควรจัดระบบของโรงพยาบาลที่มีความสามารถในการสวนหัวใจเพื่อรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน พร้อมประกาศให้ประชาชนและหน่วยกู้ชีพต่างๆได้รู้ เพื่อจะได้ตรงไปยังโรงพยาบาลนั้นๆ ได้โดยตรง จะทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิตมากขึ้น การนำส่งผิดที่ทำให้ผู้ป่วยภาวะนี้เสียชีวิตมามากแล้ว

“แม้เราจะเร่งประชาสัมพันธ์และฝึกอบรมให้คนปั๊มหัวใจ มีเครื่องกระตุกหัวใจ มีหน่วยกู้ชีพรับมือต่อและช่วยเหลือเบื้องต้นให้ผู้ป่วยฟื้นมาได้ แต่ปัญหาคือไม่สามารถทราบได้ว่าโรงพยาบาลจำเพาะทางแห่งใดพร้อมรักษาต่อได้(การสวนหัวใจเพื่อรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน) การนำส่งผิดที่จึงเหมือนกับส่งผู้ป่วยไปตาย”  นพ.สมชาย กล่าว

ขอบคุณภาพปกจาก สุขภาพน่ารู้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า