SHARE

คัดลอกแล้ว

จั่วหัวมาแรงแบบนี้ คงโดนใจหลายต่อหลายคน ทั้งโดนใจจากมุมมองของคนเปลี่ยนงานบ่อย และ คนที่ต้องคอยดูแลต้องปวดหัวกับคนเหล่านี้ แน่นอนครับ ทั้ง HR เพื่อนร่วมงาน และ หัวหน้างาน ยาวจนไปถึง พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ก็ไม่เว้นที่หัวจะปวด เพราะทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องคอยมานั่งลุ้นทุกครั้ง เวลาที่ Hopper เหล่านี้ เปลี่ยนงาน

บางมุมมองก็สงสัยว่า “ทำไมหางานเก่งจัง” 

หรือ “ทำไมบริษัทนั้นเขารับเนอะ เปลี่ยนงานบ่อยขนาดนี้”

หรือ “โอยยยยย จะดึง (Retain) ให้อยู่ต่ออย่างไรดี” 

หรือ “แล้วมันจะไปไหนอีกไหมหลังจากนี้ จะอยู่ได้สักกี่นาน”

ส่วนตัวผมขอบอกว่า ไม่มีใครผิดใครถูกนะครับ การ Hop หรือ เปลี่ยนงานบ่อยๆ ไม่ได้เป็นเรื่องผิดบาป บางครั้ง ถ้าไม่ทำ บางคนก็อาจจะเสียใจไปตลอด เรื่องแบบนี้ มันแล้วแต่สถานการณ์ของแต่ละคน

แล้วยิ่งมาถึงยุคนี้ สมัยนี้ เวลานี้ ต้องยอมรับกันแล้วว่า การเป็น Job Hopper เกิดขึ้นบ่อยและชัดเจนกว่าเดิมอย่างมาก โดยเฉพาะเกิดกับบางทักษะที่สวยเลือกได้ เช่น Tech Talent เพราะเป็นทรัพยากรที่หาได้ยากในตลาดแรงงาน หรือ คนๆนั้นเป็นคนเก่งมากๆ จริงๆ ในแบบที่หาใครมาเทียบไม่ได้ หรือ บางบริษัทก็แค่ “ไม่เลือก” เลยจ้างคนๆนั้นไป หรือ คนบางคนที่เปลี่ยนงานบ่อยๆ ก็แค่…อยู่ไหนก็ไม่รอด

เอาจริงๆ สำหรับผม มันเป็นไปได้ทุกกรณีที่กล่าวมาครับ เดี๋ยวลองมาดูกันทีละกรณี และผมขอแชร์มุมมอง ข้อคิดเห็น แนะนำลงไปสักหน่อย ตามประเภท กว้างๆต่อไปนี้

  1. อาชีพหลักของเขาคือ หางาน และเปลี่ยนงานไปเรื่อยๆ มันมีจริงๆ ครับคนขี้เบื่อแบบนี้ คือ เข้าไปสักพักแล้วก็รู้สึกว่า “บางอย่างมันยังขาดหายไป” หรือ “ฉันยังอยากไปไกลกว่านี้” และ “เงินเดือนฉันน้อยเกินไปหรือเปล่า” 

ไม่แปลกครับ ถ้าคุณเป็นคนแนวนี้ เพราะมันมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน ด้วยความทะเยอทะยาน ด้วยความต้องการส่วนตัวของแต่ละคน ที่อาจจะมาจากความจำเป็น แต่ผมขอเตือนว่า ต้องรักษาสมดุลดีๆ ระวังว่า อาชีพของคุณจะเปลี่ยนเป็น “นักหางาน” มากกว่า พนักงาน และที่สุดแล้ว คุณจะถึงจุดที่ “ตัน” 

ทั้ง “ตัน” ด้วยเงินค่าตอบแทนที่คนมองว่าเราปรับเงินเดือนบ่อย สูงเกินกว่าประสบการณ์ที่มี โดยเมื่อเทียบกับคนที่อยู่ในบริษัทเขาอยู่แล้ว และ ทำงานมานานกว่าคุณ หรือพูดง่ายๆก็คือ คุณจะดูเหมือนประสบการณ์น้อย แต่เงินเดือนสูง ผลงานก็ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ และ “ตัน” ทางโอกาสงานเพราะว่าที่นายจ้างเขาก็จะกลัว และออกแนวว่า “ขออนุญาตไม่จ้างดีกว่าเพราะเดี๋ยวก็อยู่ไม่นาน เหมือนที่ผ่านๆมา”   

อยากแนะนำว่า ลองให้โอกาสตัวเองกับที่ทำงานหนึ่งๆ นานๆ สักหน่อยครับ ลองหาความงามในองค์กรนั้นๆให้เจอ แล้วพิสูจน์ตัวเองในหลายๆมิติ มากกว่าสิ่งที่ตัวเองให้คุณค่า เช่น นอกจากเรื่องงาน อาจจะมองมิติเรื่องคน เรื่องวัฒนธรรมองค์กร เข้ามาประกอบ มากกว่าที่จะมองด้านที่ตัวเองสนใจอยู่ด้านเดียว แล้วพอไม่ได้อย่างใจก็ Say Goodbye 

  1. เขาเก่งจริง และ หาใครเปรียบไม่ได้ ใครๆก็เลยอยากแย่งตัว เคสนี้ก็มีจริงอีกครับ และ เป็นเคสที่ความต้องการเกิดมาจากทางบริษัทคู่แข่ง หรือ ในบางกรณีก็เกิดจากการดึงตัวข้ามอุตสาหกรรม เพราะรู้ว่า ทักษะที่คนๆนั้นมี จะมีประโยชน์ต่อองค์กรของตัวเองในอนาคต และคงหาจากคนใน หรือ ที่ไหนๆก็หาได้ยาก เลยต้องลงทุน

ในเคสนี้ ภาระอันหนักอึ้งจะตกอยู่กับตัวบริษัทใหม่ที่ดึงตัวไป เพราะต้องรับทั้งภาระค่าใช้จ่าย เงินค่าจ้าง สวัสดิการ ทั้งอรรถบริขาร รวมไปถึงแผนการต่างๆในการดูแลคนเก่งคนนี้ ทั้ง career path และ การพัฒนาศักยภาพของเขาเหล่านี้ ให้เก่งขึ้นไปอีก เพื่อดูแลให้อยู่ให้นานที่สุด

ถ้าคุณคือบริษัทที่รับเขาเข้ามาทำงานแล้ว ผมแนะนำเลยครับว่า ต้องเตรียมแผนรองรับอย่างดี ทั้งแต่การจ้างงานด้วยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการที่ดึงดูดเขาได้ การดูแลระหว่างทาง จนไปถึงว่า ต้องเร่งวางแผนถ่ายโอนความรู้และมันสมอง ให้มาอยู่กับองค์กรของคุณให้นานที่สุด เพราะไม่นาน เขาก็น่าจะไปต่อกับบริษัทอื่นๆ 

และอีกหนึ่งจุดที่ต้องบริหารจัดการอย่างละเอียดอ่อนมากๆคือ ความรู้สึกของพนักงานคนอื่นๆ ที่นั่งตาปริบๆ ที่มองเข้ามา เพราะบางคนอาจจะมองว่า กำลังถูกมองข้าม บางคนอาจจะรู้สึกว่า “ฉันกำลังได้นายใหม่เพิ่มอีกคน” หรือ “มันต้องมีอะไรไม่ยุติธรรมเกิดขึ้นแน่ๆ” 

เช่น จ้างมาได้ขนาดนี้ เงินเดือนต้องสูงกว่าฉันหลายเท่า แล้วฉันคนนี้ที่นั่งทำงานจนตาจะเป็นต้อนี่ล่ะ…เงินเดือนยังไม่ไปถึงไหน 

และถ้าคุณวางแผนรับมือไม่ดีในทุกๆมิติ คุณอาจจะได้เจอกับความจริงที่ว่า ได้คนเก่งคนใหม่เข้าไป ยังต้องลุ้นว่าเขาจะเข้ากับบริษัทเราได้ไหม จะอยู่นานหรือเปล่า และอาจจะต้องเสียใจ เพราะคนเก่งที่อยู่มาก่อนเก่าจากไปหมด

  1. คนๆนั้น อยู่ทีไหนก็ไม่รอด กรณีแบบนี้ก็มีให้เห็นเยอะครับ และก็มีการว่าจ้างคนแบบนี้เข้าไปในองค์กรจริงๆ และเคสที่เกิด มักจะเป็นคนที่โปรไฟล์แน่น ประวัติดูเหมือนดี แต่…นิสัยไม่ดี 

ง่ายๆคือ รอดการคัดเลือกมาได้ แต่มาตายเพราะสังคมไม่ยอมรับ

ผมเคยเจอกับตัวเลยครับ คนที่เปลี่ยนงานทุก 12 เดือน และหลายต่อหลายบริษัทก็ตกหลุมพลางความงามของโปรไฟล์ ตกลงรับเข้าไป โดยที่ไม่สงสัยเลยว่า มันเกิดจากอะไร และแน่นอนครับบริษัทเก่าเขาก็ยินดีให้ออกไปแบบสาปส่ง จุดพลุฉลองกันแบบเงียบๆ ส่วนบริษัทใหม่ ก็ไม่รู้เลยว่ากำลังจะเจออะไร 

เคสที่ผมเจอ คือ พนักงานฝ่ายกฎหมายของบริษัทหนึ่ง การศึกษาดีมาก ประวัติการทำงานดูดีมาก บุคลิกดีมาก แค่เปลี่ยนงานบ่อย แต่สุดท้าย ทุกบริษัทที่จ้างเข้าไปก็มาเจอที่หลังครับว่า เป็นหัวขโมย ทุจริต มีปัญหาทางจริยธรรมการทำงาน และทำกับทุกบริษัท แต่ฉลาด ชิงลาออกก่อน เพราะไหวตัวทัน

อีกรายคือเก่งมาก ฉลาดมาก สร้างผลงานได้ แต่ทำงานกับใครก็ไม่ได้ มุ่งเน้นผลงานของตัวเอง สร้างผลงานให้เจ้านายเสียจนไม่สนว่าคนรอบข้างจะเป็นอย่างไร ทำให้มีคนส่วนหนึ่งที่อาจจะโอเคกับผลงาน แต่หลายคนรอบข้างต้องเจอกับพฤติกรรมที่เป็นมลภาวะในการทำงานแบบที่เรียกว่า “ผลงานฉันต้องได้ ใครตายไม่สน” ของคนเหล่านี้ 

และนี่เองคือจุดที่ทำให้เขาจะไปต่อได้ลำบาก เพราะเติบโตบนความลำบากของคนอื่น พอหลายคนเริ่มยี้ ทีนี้แหละครับ ระบบจารีต และสังคมจะค่อยๆคัดกรองเขาออกไปจากระบบเอง 

ถามว่า ตัวเขารู้ไหม ว่าทำไม่ถูกต้อง บางรายรู้นะครับ แต่บางรายก็ไม่สน เพราะยังสามารถแต่งโปรไฟล์หางานต่อได้ แต่เบื้องหลังที่แท้จริงคือ อยู่ไม่ไหวแล้ว เพราะ ไม่มีใครเอา และ อยู่ต่อไปก็ไม่รอด

ขอทิ้งท้ายด้วยคำแนะนำอย่างนี้ครับว่า 

สำหรับ Job Hopper อย่าลืมมองภาพระยะยาว และมองหลากหลายมิติมากขึ้นครับ เพราะการ Hop ของคุณ มันคือการกระทำแบบระยะสั้น เป็น Quick Win หรือ สำหรับบางรายเป็น Quick Fix (หนีตาย) ก็ว่ากันไป และลองมองไปที่ Career Goal หรือเป้าหมายทางอาชีพของคุณด้วยว่า ระยะสั้น ระยะกลาง และ ระยะยาว วางไว้อย่างไร 

ถ้าภาพตรงนี้เราชัด เราจะรู้ครับว่า การ Hop ของเราควรจะทำหรือไม่ หรือไม่ควรแล้ว เมื่อเวลาหนึ่งๆมาถึง อย่างที่บอกครับ คุณไม่ได้ทำอะไรผิด แต่คนเราจะกระโดดไกลตลอดการเดินทางระยะยาวตลอดไม่ได้ จริงไหมครับ

ส่วนทางด้านบริษัท ผมขอแนะนำว่า คุณต้องรู้ว่า คุณกำลังต้องการอะไรในเวลานี้ครับ เพราะมันจะนำมาสู่การตัดสินใจที่จะว่าจ้างใคร และบางครั้งต้องยอมรับว่า การจ้าง Job Hopper มันก็ไม่ได้มีข้อเสียเสมอไป ตราบเท่าที่ว่าคุณรู้ว่าจะจัดการ Resource นั้นอย่างไร เมื่อรู้ว่าอาจจะมีโอกาสดูแล หรือ ร่วมงานในระยะสั้น

เรื่องมันก็มีเท่านี้ล่ะครับ สำหรับทั้งนัก Hop และ Hopper lover 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า