SHARE

คัดลอกแล้ว

‘อ.พรสันต์’ เปรียบการจำกัดวาระนายกฯ 8 ปี เป็นไฟที่ไม่เคยดับ มีผลตั้งแต่ปี 50 เป็นต้นมา แม้รัฐธรรมนูญ เคยถูกฉีก

ศาลรัฐธรรมนูญ รับคำร้องฝ่ายค้าน ปม 8 ปี นายกฯ ประยุทธ์ และมีมติ 5 ต่อ 4 ให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หยุดปฏิบัติหน้าที่ นายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันนี้ (24 ส.ค. 65) ย้อนวิเคราะห์แนวทางการตีความการเป็นนายกฯ 8 ปี ของพล.อ.ประยุทธ์ ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ จากมุมมองทางวิชาการของ ผศ.ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ให้สัมภาษณ์กับworkpointTODAY LIVE ไว้เมื่อวันที่ 23 ส.ค. ที่ผ่านมา

อาจารย์พรสันต์ มองว่า การนับวาระดำรงตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรี” 8 ปี ไม่ได้มีการย้อนหลัง เป็นเรื่องบังคับใช้ปกติ การนับจากการขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2 คือ วันที่ 9 มิ.ย. 2562 ตามมาตรา 158 ของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 จะครบ 8 ปี วันที่ 8 มิ.ย. 2570 เป็นการนับการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยการเลือกตั้ง ซึ่งตนเห็นว่า การนับโดยเชื่อมโยงกับ “ที่มาของนายกรัฐมนตรี” ไม่ได้ เพราะที่มาของนายกรัฐมนตรี กับ การจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นคนละส่วนกัน เนื่องจาก ที่มาของนายกรัฐมนตรี เป็นเรื่องของความชอบธรรมในการใช้อำนาจ ถ้ามาจากการเลือกตั้ง ก็ชอบธรรมมาก ประชาชนก็ให้การยอมรับการเข้ามาปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี แต่ถ้ามาจากการทำรัฐประหาร หรือวิธีอื่น ก็จะเป็นเรื่องของการชอบธรรมการใช้อำนาจจะต่ำ ดังนั้นประชาชนจะไม่ค่อยยอมรับ เวลาเข้ามานั่งปกครอง สั่งการ ออกกฎระเบียบ คนจะไม่ค่อยชอบเพราะไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ตั้งแต่ต้น แต่กรณีบทบัญญัติ “จำกัดวาระ 8 ปี” มีวัตถุประสงค์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ “ที่มา” เพราะไม่ว่าจะมาจากการแต่งตั้ง เลือกตั้ง หรือยึดอำนาจ เมื่อเข้ามาสู่ระบบรัฐธรรมนูญ ใช้อำนาจในฐานะตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็จะเริ่มนับวาระเมื่อนั้น ฉะนั้นไม่เกี่ยวกับการเข้ามารับตำแหน่งจากการเลือกตั้งเมื่อใด ในทางวิชาการก็ไม่ได้ดูแบบนั้น ดังนั้นแนวทางนี้ตัดออกไปได้เลย

ส่วนแนวทางการเริ่มนับจากรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ประกาศใช้ คือวันที่ 6 เม.ย. 2560 พล.อ.ประยุทธ์ จะครบ 8 ปี วันที่ 5 เม.ย. 2568 นั้น อาจารย์พรสันต์ มองว่า ดูราวกับว่าจะใช่ แต่ตนคิดว่าไม่ใช่ รัฐธรรมนูญมองว่าถ้าปล่อยให้ใครอยู่ในตำแหน่งนานๆ มันอาจจะมีผลกระทบว่าด้วยเรื่องของการใช้อำนาจที่อาจกระทบระบอบประชาธิปไตย กับหลักนิติธรรมในระยะยาว ฉะนั้นรัฐธรรมนูญจึงบอกว่าอนุญาตให้อยู่ในระยะเวลาหนึ่ง จากนั้นควรพ้นไปได้แล้ว และให้คนอื่นมากระทำการแทน” ระบบแบบนี้เหมือนการเล่นฟุตบอล ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาดำรงตำแหน่ง คือวัตถุประสงค์ของรัฐธรรมนูญ ของประเทศไทย ใช้เป็น “เทอม” 4 ปี “2 เทอม” คือ 8 ปี แล้วก็มองว่า 8 ปี ควรพอได้แล้ว หรือแม้กระทั่งมองว่า ถ้ามันเลยกว่า 8 ปี อาจจะนำไปสู่การผูกขาดทางการเมือง ดังนั้นห้ามเกิน 8 ปี

ข้อเท็จจริงคือ พล.อ.ประยุทธ์ เข้ามาดำรงตำแหน่งในฐานะ นายกรัฐมนตรี ในปี 2557 ในฐานะที่ได้รับการโหวตจาก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ย้ำว่าข้อเท็จจริงเป็นแบบนั้น และเป็นเรื่องข้อกฎหมายด้วย คำว่า “นายกฯ” เป็นตำแหน่งที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งตอนนั้น รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2557 รองรับตำแหน่ง “นายกฯ” สนช. เลือก พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ดังนั้น พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2557 ใช้อำนาจในการบริหารประเทศ

นักกฎหมายหลายคนไปเปิดดูรัฐธรรมนูญชั่วคราว ไม่ได้มีบทบัญญัติจำกัดวาระ 8 ปี เมื่อไม่มีบทบัญญัติ แล้วรัฐธรรมนูญปี 2560 ประกาศใช้ แล้วในรัฐธรรมนูญปี 2560 มีบทบัญญัติวาระ 8 ปี อยู่ดีๆ จะไปนับย้อนหลังได้อย่างไร จึงมองว่าไปเริ่มจากการประกาศรัฐธรรมนูญ แต่ตนคิดว่า คนที่มองแบบนี้อาจเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะว่า รัฐธรรมนูญ ปี 2557 ดูประหนึ่งไม่มีบทบัญญัติ 8 ปี ไม่มีจริงๆ แต่การที่ไม่มีบทบัญญัติชัดเจนแบบนั้น ไม่ได้หมายความว่า การจำกัดวาระ 8 ปี ไม่ทำงาน ยังทำงานอยู่

ต้องเข้าใจก่อนว่ารัฐธรรมนูญชั่วคราว กับรัฐธรรมนูญปกติไม่เหมือนกัน เพราะรัฐธรรมนูญช่วงคราวเกิดหลังการรัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญ จึงมีการร่างรัฐธรรมนูญแบบชั่วคราวแบบสั้นๆ มาตราน้อยมาก ขณะที่รัฐธรรมนูญปกติยาวหลายร้อยมาตรา การจำกัดวาระ 8 ปี อยู่ในมาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 กรณีใดที่ไม่มีบืบัญญัติ ลายลักษณ์อักษรเขียนเอาไว้ กรณีให้ใช้ หรือวินิจฉัยไปตาม ประเพณีการปกครองประเทศไทย อันมีพระมหากษัติรย์ทรงเป็นประมุข ขีดเส้น “ประเพณีการปกครองประเทศไทย อันมีพระมหากษัติรย์ทรงเป็นประมุข” คำนี้คือคำที่รวมไว้ซึ่งข้อจำกัด 8 ปี ของนายกฯ เชิงหลักวิชาการ เนื่องจากรัฐธรรมนูญชั่วคราวเขียนสั้นๆ จึงเขียนแค่คำนี้เข้าไป แล้วให้กินความรวมถึงการจำกัดวาระ 8 ปี เพราะ ประเพณี ต้องวิ่งย้อนไปหารัฐธรรมนูญฉบับเก่า คือรัฐธรรมนูญ ปี 2550 คือรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มีการจำกัดวาระ 8 ปีของนายกรัฐมนตรี หมายความว่า รัฐธรรมนูญ ปี 2550 ครั้งแรกที่กำหนดประเพณีในระบอบการเมืองไทย คือนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไป อยู่ในตำแหน่ง ห้ามเกิน 8 ปี

รัฐธรรมนูญ ปี 2550 ตั้งตรงนี้เป็นประเพณีแล้ว หลังจากนั้นรัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญไป แต่กฎเกณฑ์นี้ไม่หาย เพราะรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 มาตรา 5 ประเพณีการปกครอง ไปรับต่อมาอีกที จากนั้น มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 60 บทเฉพาะกาลบอกว่า ทั้งนี้ให้ครม. ก่อนหน้านี้ เป็น ครม. ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แล้วรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็มีบทบัญญัติในมาตรา 158 ว่าด้วยการจำกัดวาระ 8 ปี ฉะนั้นไฟดวงนี้ไม่เคยดับ การจำกัดวาระการดำรงตำแหน่ง 8 ปี เปรียบเสมือนเป็นดวงไฟ แล้วจุด ไว้ตั้งแต่ปี 2550 ปี 2557 ก็ยังติด ปี 2560 ก็ยังติด จนกระทั่งปัจจุบัน มันจึงคิอการบังคับใช้ปกติ เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ มาเป็นนายกฯ ตั้งแต่ปี 2557 แล้ว มาตรา 5 ก็บังคับใช้กับเขา จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังนับต่อเนื่องยาวจนถึงปัจจุบันก็ต้องนับปี 2557 ดังนั้น ส่วนตัวจึงยืนยันว่า ไม่มีการบังคับใช้ย้อนหลัง แต่บังคับใช้ตลอด ถ้านับปี 2560 หรือปี 2562 คือการเทียบผิดฝาผิดตัว

คลิปสัมภาษณ์เต็ม :

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า