SHARE

คัดลอกแล้ว

ครอบครัวเหยื่อซ้อมทรมาน-อุ้มหาย ขอบคุณ พ.ร.บ.อุ้มหายผ่านสภา ชี้แม้จะไม่ใช่คัมภีร์วิเศษที่จะหยุดยั้งคนทำผิด แต่ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ขอบคุณคำขอโทษ ธิษะณา ชุณหะวัน ที่ขอขมาครอบครัว หะยีสุหลง

ภายหลังที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับให้บุคคลสูญหาย (ร่างพ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการอุ้มหายฯ) ฉบับที่ผ่านการแก้ไขของวุฒิสภา เมื่อวันที่ 24 ส.ค.ที่ผ่านมา สร้างความยินดีให้กับเหยื่อและครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก

.ล่าสุด (31 ส.ค. 2565) พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคภูมิใจไทย จ.ปัตตานี พร้อมด้วยนายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ ส.ส.ยะลา พรรคพลังประชารัฐ, นายรังสิมันต์ โรม ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ฃพรรคก้าวไกล, น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกบังคับให้สูญหายและซ้อมทรมาน เดินทางไปที่อาคารรัฐสภา แถลงขอบคุณที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการอุ้มหายฯ

พญ.เพชรดาว กล่าวว่า หลายครอบครัวยังรอทราบชะตากรรมของคนในครอบครัวที่ถูกอุ้มหายว่าจะมีชีวิตอยู่หรือไม่ ในฐานะ ส.ส. ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญฯ และในฐานะหลานของบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหายเมื่อ 68 ปีที่ผ่านมา มองว่ากฎหมายฉบับนี้ถูกพิจารณาอย่างรอบคอบ ให้ครอบคลุมทุกประเด็น

“การประกาศใช้ พ.ร.บ. ฉบับนี้เป็นการเริ่มต้น แม้ไม่ใช่คัมภีร์วิเศษที่จะหยุดยั้งบุคคลกระทำผิด แต่เราต้องติดตามอย่างเข้มข้นเพื่อไม่ให้เกิดสิ่งเลวร้ายกับครอบครัวอื่น พร้อมเยียวยาดูแลครอบครัวผู้ที่ถูกอุ้มหายและซ้อมทรมาน” พญ.เพชรดาว กล่าว

พญ.เพชรดาว กล่าวขอบคุณน.ส.ธิษะณา ชุณหะวัณ ที่ออกมาขอโทษครอบครัว ‘อับดุลกาเดร์’ หรือ ‘หะยีสุหลง โต๊ะมีนา’ ผู้นำและปัญญาชนของชาวไทยเชื้อสายมลายูมุสลิม โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งถูกบังคับสูญหายเมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2497 เนื่องจากคนในครอบครัวมีส่วนเกี่ยวข้องในการบังคับสูญหาย ซึ่งหลังจากได้รับคำขอโทษครั้งแรกจากนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ บิดาของน.ส.ธิษะณา เมื่อ 6 ปีที่แล้วในวันจัดงานรำลึกบุคคลสูญหาย คำขอโทษนั้นถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น มีคุณค่าและความหมายต่อจิตใจครอบครัวผู้ถูกกระทำเป็นอย่างมาก การให้อภัยเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ในศาสนาอิสลามและทุกศาสนา เพราะเมื่อความจริงปรากฏ ความเท็จย่อมมลายหายสิ้น

ด้านนายอาดิลัน กล่าวถึงกระบวนการออกกฎหมายว่า ภายหลังจากผ่านการพิจารณาโดยฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว จากนี้รัฐบาลต้องรอคอย 15 วันก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป กฎหมายฉบับนี้เปลี่ยนแปลงกระบวนการสืบสวนสอบสวนจากที่มีในประมวลวิธีพิจารณาความอาญา ฝ่ายปกครองและอัยการต่างช่วยกันถ่วงดุล สืบสวนสอบสวนทั้งการทรมาน กระทำย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นสิ่งใหม่ให้การสอบสวนและรวบรวมหลักฐานเป็นธรรมให้ประชาชนมากขึ้น

ส่วนนายรังสิมันต์ กล่าวว่า ความเจ็บปวดจากการใช้อำนาจรัฐเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันกฎหมายนี้ เรามาไกลเกินกว่าความตั้งใจหรือความคิดแรกที่ได้ฝันเอาไว้ เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างการเมืองปัจจุบัน ได้เท่านี้ก็นับเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของภาคประชาชนและของคนที่ครั้งหนึ่งถูกกระทำไว้

ขณะที่ พรเพ็ญ กล่าวว่า ขั้นตอนต่อไปคือการที่เจ้าหน้าที่โดยเฉพาะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องทำความเข้าใจ พ.ร.บ. ฉบับนี้ เพื่อไม่ให้มีการกระทำที่เข้าข่ายความผิด ตลอดจนเข้าข่ายการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ในอนาคตหากเราประสบกับรายละเอียดที่จะต้องแก้ไขในกฎหมายฉบับนี้ก็ต้องแก้ไข

ภาคประชาสังคม ออกแถลงการณ์เนื่องในวันผู้สูญหายสากล 30 ส.ค. 65

ด้านภาคประชาสังคม วานนี้ มูลนิธิผลานวัฒนธรรม คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) และแอมเนสตี้อินเตอร์เนชันแนล ออกแถลงการณ์เนื่องในวันผู้สูญหายสากล 30 สิงหาคม 2565 ร้องขอให้ทางการไทยดำเนินการต่อแม้มีการผ่านร่างกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทรมานและอุ้มหายแล้ว เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมเสนอข้อเรียกร้อง 6 ข้อ ได้แก่

  1. ขอให้เร่งรัดการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้กฎหมายมีผลบังคับใช้โดยเร็ว
  2. ขอให้เผยแพร่ ฝึกอบรมให้เจ้าหน้าที่รัฐ ในหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะด้านความมั่นคง ที่เกี่ยวข้องกับการจับกุม ควบคุมตัว ด้วยวิธีการต่างๆ การสอบสวน ซักถามหรือดำเนิน “กรรมวิธี” รวมทั้งเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมให้มีความรู้ ความเข้าใจบทบัญญัติของกฎหมายฉบับนี้ และจัดหาอุปกรณ์ต่างๆให้เจ้าหน้าที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้สามารถใช้กฎหมายได้อย่างเที่ยงธรรมและมีประสิทธิภาพ
  3. เผยแพร่ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจกฎหมาย เพื่อให้ตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของตน ในการสอดส่องดูแลป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่กระทำผิด  สนับสนุนและช่วยเหลือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการสืบสวน สอบสวนการกระทำผิดที่เกิดขึ้น
  4. จัดทำร่างอนุบัญญัติต่างๆ กฎ ระเบียบ นโยบายเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและการบริหารงานยุติธรรม โดยเฉพาะกฎ ระเบียบ มาตรการเพื่อป้องกันการกระทำผิด การสืบสวน สอบสวนเจ้าหน้าที่ที่กระทำผิด การคุ้มครองประชาชนที่แจ้งเบาะแสการกระทำผิดและพยาน  โดยขอให้รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้เสียหาย เพื่อปรับปรุงร่างอนุบัญญัติ และกฎระเบียบดังกล่าว ก่อนการอนุมัติเห็นชอบเพื่อนำไปใช้ต่อไป
  5. กำหนดมาตรการในการอำนวยความยุติธรรม การคุ้มครอง ช่วยเหลือ ฟื้นฟูเยียวยาครอบครัวของผู้ถูกกระทำให้สูญหายทั้งด้านสังคมและจิตใจ โดยพยายามฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมทั้งขอให้กระทรวงยุติธรรม ดำเนินการให้ผู้เสียหายจากการทรมานและการกระทำให้สูญหาย มีสิทธิที่จะได้รับค่าตอบแทนตาม พรบ. ค่าตอบแทนผู้เสียหาย ค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 ด้วย
  6. ขอให้ดำเนินการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ (International Convention for the Protection of all Persons from Enforced disappearance : CED) โดยทันทีเมื่อกฎหมายมีผลบังคับ ตามที่รัฐไทยได้ให้คำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับประชาคมระหว่างประเทศตั้งแต่ปีพ.ศ.2554

ส่วนคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) และแอมเนสตี้อินเตอร์เนชันแนล เรียกร้องให้ทางการไทยเร่งอุดช่องว่างของพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการซ้อมทรมาณและบังคับสูญหาย ที่มีบางจุดยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

“ร่างพระราชบัญญัติ ฯ ฉบับนี้ยังไม่มีบทบัญญัติครบถ้วนหรือถูกต้องตามข้อกำหนดของสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี ทำให้ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องที่ต้องบังคับใช้พระราชบัญญัติในลักษณะที่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment หรือ UNCAT) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights หรือ ICCPR)” เอียน เซเดอร์แมน (Ian Seiderman) ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายและนโยบายของ ICJ เผย

ส่วนเอ็มเมอร์ลีน จิล รองผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคฝ่ายวิจัย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยว่า แอใเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล ยอมรับว่าข้อบกพร่องบางประการที่องค์กรเคยเสนอแนะก่อนๆ ได้รับการแก้ไขแล้วในร่างพระราชบัญญัติฉบับที่ผ่านมติรับรอง ยกตัวอย่างเช่น บทบัญญัติเกี่ยวกับการปฎิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี พร้อมทั้งมีบทบัญญัติที่รับรองให้อาชญากรรมการบังคับบุคคลให้สูญหายเป็นอาชญากรรมต่อเนื่อง และหวังว่า ในอนาคต ประเทศไทยควรทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อไป และดำเนินการตามขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอย่างสมบูรณ์

องค์กรทั้งสองยังเรียกร้องให้ประเทศไทยดำเนินการตามคำมั่นว่าจะทำการให้สัตยาบันแก่อนุสัญญา ICPPED โดยไม่ล่าช้า พร้อมทั้งแก้ไขข้อบกพร้องในร่างพระราชบัญญัติเพื่อรับประกันการปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอย่างครบถ้วน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า