SHARE

คัดลอกแล้ว

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) เตือนปรากฏการณ์ ‘ลานีญา’ จะลากยาวไปจนถึงปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า เป็นสาเหตุของสภาพอากาศแปรปรวนทั่วโลก เกิดภัยแล้งและน้ำท่วมหนักบางพื้นที่

WMO เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญาฉบับปรับปรุงล่าสุด โดยมีการคาดการณ์ว่า ปรากฏการณ์ลานีญา ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่เดือน ก.ย. 2564 จะดำเนินต่อไปอย่างน้อยอีก 6 เดือน โดยมีโอกาสมากถึง 70% ในเดือน ก.ย.-พ.ย. 2565 และลดลงเหลือ 55% ในเดือน ธ.ค. 2565 – ก.พ. 2566

โดยลานีญาเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้เกิดกระแสลมพัดจากฝากตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกไปยังฟากตะวันตกมีกำลังรุนแรงกว่าปกติ ส่งผลให้กระแสน้ำอุ่นไหลมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น จึงทำให้ภูมิภาคดังกล่าวรวมถึงออสเตรเลียมีระดับน้ำทะเลสูงขึ้นและฝนตกหนักมากกว่าปกติ และในทางกลับกันก็เกิดภาวะแห้งแล้งตามแนวชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ ตรงกันข้ามกับเอลนีโญ ซึ่งทำให้เกิดฝนตกหนักในทวีปอเมริกาใต้ และความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากกระแสลมพัดกลับในทิศทางที่ตรงข้ามกัน 

WMO อธิบายในรายงานว่า สภาพอากาศของลานีญาในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนซึ่งมีการพัดของลมสินค้า (trade winds) หรือลมประจำปีที่พัดจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกในบริเวณเส้นศูนย์สูตรของโลกมีความรุนแรงขึ้นมาตั้งแต่ช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. ได้ส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิและปริมาณน้ำฝนทั่วโลก ทำให้เกิดความแห้งแล้งและน้ำท่วมรุนแรงในพื้นที่ต่างๆ 

เพตเตอรี ทาลาส เลขาธิการ WMO กล่าวว่า “แม้จะเป็นเรื่องดีที่ลานีญาเกิดขึ้นมา 3 ปีติดต่อกัน ส่งผลให้มีอิทธิพลความเย็นมาทำให้อุณหภูมิอุ่นขึ้นช้าลง แต่ก็ยังไม่ช่วยพลิกแนวโน้มของภาวะโลกร้อนในระยะยาวได้”

ทาลาสระบุว่า ภัยแล้งที่ทวีความรุนแรงขึ้นในแถบจะงอยแอฟริกา (Horn of Africa) หรือ แอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือ และอเมริกาใต้เป็นผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจนจากลานีญา เช่นเดียวกับปริมาณน้ำฝนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสตราเลเซีย 

ทาลาสเสริมว่า “เป็นเรื่องน่าตกใจที่รายงานเกี่ยวกับปรากฏการณ์ลานีญาที่มีการปรับปรุงใหม่นี้ได้เข้ามายืนยันถึงการคาดการณ์สภาพอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความแห้งแล้งรุนแรงในแถบจะงอยแอฟริกาว่ามีแนวโน้มจะแย่ลง และจะส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้าน”

ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ลานีญาและเอลนีโญ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากความผกผันของสภาวะอากาศบริเวณแถบเส้นศูนย์สูตรเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้การไหลเวียนของน้ำและกระแสลมเกิดความแปรปรวน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกอย่างรุนแรง เช่น ในบางพื้นที่ที่เคยมีฝนตกชุกอาจจะต้องเผชิญกับภาวะความแห้งแล้งฉับพลัน และในทางกลับกันบางพื้นที่ก็อาจต้องเผชิญกับพายุฝนรุนแรง ซึ่งกระทบต่อระบบนิเวศและความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างเลี่ยงไม่ได้ 

 

ที่มา 

https://www.straitstimes.com/world/europe/la-nina-weather-pattern-to-last-till-at-least-the-end-of-the-year-says-un-agency

https://www.gistda.or.th/news_view.php?n_id=3312&lang=TH

https://ngthai.com/science/26980/elnino-lanina/

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า