SHARE

คัดลอกแล้ว

ดีแทค ร่วมกับ สดช.-สถาปัตย์ จุฬาฯ-บุญมีแล็บ วิเคราะห์ดาต้าการเที่ยวไทยยุคหลังโควิด พร้อมกันนี้ยังได้ เสนอ 3 แนวทางเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศไทย โดยอ้างอิงจากผลวิเคราะห์ดาต้าคือ  

  1. การดึงดูดการท่องเที่ยวระยะใกล้หรือ Micro-tourism 
  2. การส่งเสริมการค้างคืนเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่
  3. การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบกลุ่มจังหวัด  

ตัวงานวิจัยใช้ชื่อว่า “ศักยภาพการท่องเที่ยวจังหวัดเมืองรองจาก Mobility data โดยภาพรวมคือ ดีแทคมีข้อมูลการใช้งานอยู่ในมือ และได้ส่งข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน และไม่ระบุ GPS แต่ใช้ข้อมูลจากเสาสัญญาณให้สำนักวิจัย สถาปัตย์ จุฬาฯ และบุญมีแล็บ แหล่งรวมนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อ โดยสำรวจข้อมูลตั้งแต่เดือน มิ.ย. ปี 2020 ถึง เดือน ต.ค. 2021  

การวิเคราะห์ใช้ 3 ดัชนีชี้วัดคือ 1.ปริมาณการกระจุกตัวของการเดินทางท่องเที่ยวแบบค้างคืนในพื้นที่  2.สัดส่วนการเดินทางท่องเที่ยวแบบค้างคืนที่สามารถดึงดูดได้จากจังหวัดอื่นในระยะ150 เมตร และ 3.สัดส่วนการเลือกพักค้างของผู้มาเยือนในพื้นที่ 

ผลการวิจัยพบว่า ผู้เดินทางในภาพรวม เป็นเพศชายราว 40% เพศหญิงราว 35% และไม่ได้ระบุเพศ 25% โดยส่วนใหญ่มีถิ่นพำนักในกรุงเทพฯ ถึง 54% ทั้งนี้ นักเดินทางท่องเที่ยว 47% มีอายุระหว่าง 21-40 ปีหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ตามด้วยวัยกลางคน (41-60 ปี) มีสัดส่วนที่ 35% วัยสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) 14% และวัยเด็กและเยาวชน (ต่ำกว่า 20 ปี) ที่ 4%   

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาถึงลักษณะนักท่องเที่ยวในช่วงการระบาดโควิด-19 พบว่ามีลักษณะเป็นการเดินทางแบบพักค้างถึง 67% และการเดินทางแบบเช้าไปเย็นกลับ 33%

ทางคณะวิจัยเสนอ 3 แนวทางที่จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ 3 กลุ่มใหญ่ 

1 ] การส่งเสริม Micro tourism หรือการเดินทางแบบเช้าไปเย็นกลับในระยะการเดินทางประมาณ 150 กิโลเมตร (1-2 ชั่วโมง) พบว่ามี 16 จังหวัดที่มีศัพกยภาพดึงดูดการเท่องเที่ยวได้คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช เชียงราย นครพนม ลำพูน นครนายก ระนอง เพชรบูรณ์ อุบลราชธานี แม่ฮ่องสอน พัทลุง ราชบุรี นครสวรรค์ บุรีรัมย์ มหาสารคราม สุพรรณบุรี และชุมพร

ทางคณะวิจัยเสนอแนวทางแบบประเทศญี่ปุ่น โดยภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบเช้าไปเย็นกลับภายใต้แนวคิดการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบ Micro-tourism หรือการส่งเสริมประชาชนเดินทางท่องเที่ยวไปยังพื้นที่ธรรมชาติ สวนเกษตรกรรม และเมืองเก่าในต่างจังหวัดที่ตั้งอยู่โดยรอบถิ่นที่อยู่ของตน ซึ่งแต่ละเมืองต้องร่วมกันทำงานเพื่อหาดีเอ็นเอของตัวเองให้พบ (ยกตัวอย่างพัทลุง มีข้าวสังข์หยดเป็นของฝากชื่อดัง ก็มีการสร้างคอร์สเรียนทำขนมปังจากข้าวสังข์หยด เป็นกิจกรรมเสริมให้นักท่องเที่ยว)

2 ] พัฒนาการท่องเที่ยวแบบค้างคืนเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ (Experience-based overnight tourism) 

เมืองที่มีสัดส่วนดังกล่าวสูงที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ ตราด (36.4%) น่าน (36.2%) ระนอง (35.8%) แม่ฮ่องสอน (35.6%) และเชียงราย (34.3%) 

ในขณะที่จังหวัดที่เรียกได้ว่าเป็น “ทางผ่าน” ยอดฮิต แต่มีคนแวะพักค้างน้อยกว่าเมืองรองอื่นๆ ได้แก่ สิงห์บุรี อ่างทอง ชัยนาท สมุทรสงคราม และลำพูน ซึ่งมีสัดส่วนผู้มาเยือนที่พักค้างในจังหวัดอยู่สัดส่วน 19 – 22%

เนื่องจากการพักค้าง ทำให้เกิดการใช้จ่ายในพื้นที่มากกว่าการเดินทางแบบเช้าไปเย็นกลับ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจเชิงการท่องเที่ยวให้แก่จังหวัด 

โดยจังหวัดเมืองรองที่มีศักยภาพสูงในการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบค้างคืน ได้แก่ นครศรีธรรมราช เพชรบูรณ์ เชียงราย อุบลราชธานี พิษณุโลก ชุมพร จันทบุรี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ เลย ตราด น่าน นครสวรรค์ อุดรธานี ลำปาง ร้อยเอ็ด สุรินทร์ มหาสารคราม สตูล ตรัง และชัยภูมิ ตามลำดับ

ทางคณะวิจัยจึงเสนอว่า ควรมีการพัฒนารูปแบบการพักค้างที่แปลกใหม่ ตัวอย่างเช่นการพัฒนาที่พักแบบ car camping  ที่พักแบบ glamping  ที่พักแบบบ้านต้นไม้, จัดการกิจกรรมภายในที่พักที่มีเอกลักษณ์ เช่น การสอนทำอาหารโดยเชฟชื่อดังในที่พัก  การจัดที่กิจกรรมโยคะส่งเสริมสุขภาพยามเช้า  และ ส่งเสริมการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน จะช่วยส่งเสรอมให้นักท่องเที่ยวพำนักที่จังหวัดได้นานกว่า 

3 ] ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบกลุ่มจังหวัด (Tourism Cluster) เป็นแนวคิดการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนากิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวร่วมกันระหว่างกลุ่มจังหวัดเมืองรองที่นักท่องเที่ยวมีแนวโน้มเดินทางไปเยือนในการเดินทางท่องเที่ยว 1 ทริป เพื่อเพิ่มทางเลือกในเป้าหมายการเดินทางท่องเที่ยวให้กับผู้มาเยือน ซึ่งจะช่วยเพิ่มทั้งแรงดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนพื้นที่ เพิ่มการใช้เวลาในการท่องเที่ยวภายในประเทศ และกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนและท้องถิ่นในจังหวัดเมืองรอง ลดความเหลื่อมล้ำในแต่ละจังหวัด 

สามารถแบ่งประเภทของคลัสเตอร์ของการท่องเที่ยวที่จังหวัดเมืองรองเป็นสมาชิกได้เป็น 4 รูปแบบ  ดังนี้ 

1) กลุ่มเมืองรองแฝงเมืองหลัก เป็นกลุ่มที่มีจังหวัดเมืองรองร่วมอยู่ด้วย แต่สมาชิกในกลุ่มโดยส่วนใหญ่เป็นเมืองท่องเที่ยวหลัก เช่น กลุ่มจังหวัดบุรีรัมย์-นครราชสีมา-สระบุรี  

2) กลุ่มเมืองรองล้อมเมืองหลัก เป็นกลุ่มที่มีสมาชิกโดยส่วนใหญ่เป็นจังหวัดเมืองรองอยู่ร่วมกับจังหวัดที่เป็นเมืองท่องเที่ยวหลัก เช่น กลุ่มจังหวัดนครสวรรค์-ชัยนาท-สิงห์บุรี-อ่างทอง-พระนครศรีอยุธยา-ปทุมธานี 

3) กลุ่มเพื่อนเมืองรอง เป็นกลุ่มจังหวัดที่มีสมาชิกทั้งหมดเป็นจังหวัดเมืองรอง เช่น กลุ่มจังหวัดลำปาง-ตาก-กำแพงเพชร-นครสรรค์ 

4) กลุ่มเมืองฝาแฝด เป็นกลุ่มที่มีสมาชิกเพียง 2 จังหวัด โดยมีทั้งการจับคู่ระหว่างเมืองหลักกับเมืองรอง หรือระหว่างเมืองรองด้วยกันเอง เช่น จังหวัดปราจีนบุรี-ฉะเชิงเทรา

การส่งเสริมการท่องเที่ยวประเภทนี้ ทำได้หลายวิธี เช่น สร้างเรื่องราวเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรม และเส้นทางท่องเที่ยวระหว่างจังหวัด  รวมถึงการจัดทำโปรโมชั่นส่วนลดร้านอาหาร โรงแรมและสถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถใช้ร่วมกันได้ระหว่างจังหวัด เป็นต้น 

สำหรับเนื้อหาข้อเสนอ และผลการวิจัยโดยละเอียด สามารถเข้าไปอ่านได้ที่เว็บไซต์ https://www.dtac.co.th/mobility-data/ 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า