Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘สุชัชวีร์’ เผยน้ำท่วมออกจากบ้านย่านลาดกระบังแทบไม่ได้-เสนอ 6 ทางแก้ปัญหาในฐานะ ‘วิศวกรธรณีเทคนิค’

นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อดีตผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเป็นหัวหน้าทีมการศึกษาทันสมัย พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ภาพสถานการณ์น้ำในย่านลาดกระบัง พร้อมข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว เอ้ สุชัชวีร์ โดยระบุว่า “ไม่มีปั๊ม ไม่มีเซนเซอร์ ไม่เปิดประตูน้ำ ไม่ระบายน้ำ ไม่รอดเช้านี้ผมออกจากบ้านที่ลาดกระบังแทบไม่ได้ น้ำท่วมเป็นทะเลหน้าบ้าน ลองดูภาพ ถนนลาดกระบัง-หลวงแพ่ง-หัวตะเข้ จมถึงเข่า ไปถึงซอยเข้าวัดพลมานีย์ อ่วมหนัก สาหัสมากมาหลายวัน ไม่แก้ไข ท่านต้องมาเจอถึงจะเข้าใจความทุกข์ของคนลาดกระบัง ทุกข์แท้จริง”

นายสุชัชวีร์ ยังได้เสนอแนวทางแก้ปัญหา 6 ข้อ  ระบุว่า “ผมต้องระวังการแสดงความคิดเห็น จึงขอพูดในฐานะชาวบ้าน คนกรุงเทพธรรมดา ที่เดือดร้อนตรงนี้ และเสนอหลักแก้ปัญหาในฐานะวิศวกรธรณีเทคนิค ที่เราทำงานเรื่องดินเรื่องน้ำ มาทั้งชีวิต”

ทั้งนี้ 6 แนวทางแก้ปัญหาจากนายสุชัชวีร์ มีดังนี้

1. ไม่มีเครื่องสูบน้ำ ถนนลาดกระบัง-หลวงแพ่ง- หัวตะเข้ หลายกิโลเมตร ที่น้ำท่วมขัง ทั้งฝั่งเข้า และฝั่งออก ผมเห็นเครื่องสูบน้ำเพียงไม่กี่เครื่อง น้อยมาก และสูบย้อนไป ย้อนมา กลับมาท่วมที่เดิม ขอแนะนำให้นำเครื่องสูบน้ำ จากพื้นที่ที่ยังปลอดภัย ขอยืมมาระดมสูบน้ำ และต้องวางแผนการสูบ ไม่ใช่การสูบโยนไป-โยนมา ชาวบ้านเดือดร้อนเพิ่ม เพราะอะไร มาดูข้อ 2

2. ผมติดตามระดับน้ำบนคลองประเวศบุรีรมย์ทุกวัน ไม่มีลด ดูรูปประกอบ ระดับล้นตลิ่งคลองหลัก คลองแขนง ฝั่งหัวตะเข้-ลาดกระบัง ล้นมา 3 วัน เกิน 100 เปอร์เซนต์ที่จะรับได้ พูดง่ายๆ น้ำทะลักแล้ว ไม่มีการช่วยระบายน้ำ เพื่อพร่องคลองประเวศฯ ที่เป็นคลองสายหลักของกรุงเทพตะวันออกเลย และไม่พร่องคลองแขนงเช่น คลองลำปลาทิว ดังนั้นต่อให้มีเครื่องสูบน้ำ ก็สูบไปไหนไม่ได้ เพราะคลองรับไม่ได้แล้ว ถ้าไม่พร่องน้ำ ก็สูบหลอก สูบย้อนไปย้อนมา ทะลักเข้าบ้านเรือนชาวบ้านอีก

3. ไม่ทราบว่ามีการประสานกับจังหวัดฉะเชิงเทรา หรือไม่ อย่างไร เพราะน้ำท่วมต้องระบายออกทางตะวันออกบ้าง เพื่อพร่องน้ำในคลองหลัก และคลองแขนง ระบายในระดับที่เพื่อนบ้านไม่เดือดร้อน ทำได้ครับ แม่น้ำบางประกงติดอ่าวไทย ไหลระบายลงเร็วมาก ช่วยได้ทันที แทนที่จะปล่อยเขตลาดกระบัง และกรุงเทพตะวันออกให้จมมิดสนิท

4. แทบไม่เปิดประตูน้ำคลองประเวศฯ ให้น้ำผ่านไปขึ้นแม่น้ำเจ้าพระยาที่สถานีสูบน้ำพระโขนง เพราะเมื่อไม่ระบายทางตะวันออก ก็มีทางน้ำออกทะเลทางเดียวคือ ทางเจ้าพระยา ที่ไกลมากกว่า 20 กิโลเมตร จากที่นี่ ดังนั้นกว่าจะถึงพระโขนง ระดับน้ำในคลองก็ถูกลดระดับ เฉลี่ย จนแทบไม่มีผลกระทบต่อเขตชั้นใน ลองคำนวณดูก็ได้ครับ ประตูน้ำถูกสร้างมาเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม แต่กลับมาสร้างปัญหาน้ำท่วม ไม่น่าเลย
5. ไม่มีเซนเซอร์วัดระดับน้ำอัตโนมัติ? ในพื้นที่ลาดกระบัง จากที่ติดตามข้อมูลของสำนักระบายน้ำ น่าตกใจที่สุด ที่พื้นที่เสี่ยงที่สุด กลายเป็นพื้นที่ที่ไม่มีข้อมูลจากสถานีตรวจวัด ในการจัดการแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพ เพราะเมื่อไม่มีเซนเซอร์ ไม่มีระบบการวัดระดับน้ำอย่างละเอียด ก็เหมือนคนตาบอด แก้ปัญหาไม่ตรงตามสถานการณ์ สูบน้ำก็พลาด เปิดประตูน้ำก็ผิดช่วงเวลา

6. เห็นกระสอบทรายมากั้นท่อระบายน้ำ ผิดที่ ผิดเวลา ไม่กล้าวิเคราะห์จริงๆ จะให้น้ำลงไปทางไหน ท่วมถนน จมขนาดนี้ เครื่องสูบก็แทบไม่มี

นายสุชัชวีร์ ทิ้งท้ายด้วยว่า “ฝนกำลังมาอีกระลอก ผมแนะนำด้วยความห่วงใย ไม่ทำเดี๋ยวนี้ ก็จะจมต่อไป จากนั้นถนนจะพัง ดินจะทรุด บ้านเรือนจะเสียหาย ไฟฟ้าจะดูด ผลกระทบต่อเนื่องน่ากลัวกว่าที่คิดครับ”

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า