SHARE

คัดลอกแล้ว

‘วิษณุ’ ย้ำตั้งกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษถกปม 8 ปีนายกฯ ไม่ขัดระเบียบ ชี้ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว เพราะเป็นตำแหน่งโปรดเกล้าฯ ถือเป็นปัญหาประเทศ แนะสื่อรอฟังศาล รธน. อย่าวิจารณ์มาก

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง การตั้งข้อสังเกตการณ์ตั้งกรรมการกฤษฎีกา คณะพิเศษ พิจารณาปมนายกฯ 8 ปี ขัดหลักกฤษฎีกาหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องส่วนตัวของพลเอกประยุทธ์ ว่า ไม่ขัดระเบียบ เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว แต่เป็นตำแหน่งทางราชการที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ และมีปัญหาเกิดขึ้น ถือเป็นปัญหาของประเทศ

ส่วนที่สังคมออนไลน์ตั้งคำถามว่า นายกรัฐมนตรีขาดตอนหมายถึงอะไร นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ทราบ ขอให้รอฟังคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ อย่าวิพากษ์วิจารณ์ พร้อมระบุ นายกรัฐมนตรีตามบทเฉพาะกาล ยึดตาม รธน. มาตรา 264 และขอร้องสื่อฯ อย่ามาถามเรื่องนี้ เพราะนั้นคือ คำให้การที่ชี้แจง ถูกบ้าง ผิดบ้าง ก็ไม่รู้ แล้วแต่จะให้การไป และตอบไปตามประเด็นที่ผู้ร้องตั้งประเด็นไว้ สุดท้ายจะเป็นอย่างไร ถูกหรือผิด ฟังขึ้นหรือไม่ อยู่ที่ศาล ศาลอาจทิ้งประเด็นต่างๆ ก็ได้ อย่างบางประเด็นที่ให้การมา ตนก็ไม่เห็นด้วยที่จะต้องไปตอบทั้งหมด แต่เมื่อทีมกฎหมายเห็นว่า ตอบให้หมดทุกข้อก็ได้

ส่วนเรื่องที่ไม่ควรตอบคืออะไรนั้น นายวิษณุ กล่าวว่า เรื่องนี้เคยมีคำวินิจฉัยของศาลมาแล้วว่า แบบนั้นแบบนี้ แต่ก็ไม่ตรงกับเรื่องปัจจุบัน แล้วจะชี้แจงทำไม แต่เมื่ออยากชี้แจงก็ชี้แจงไป อย่างมากก็เสมอตัวไม่ขาดทุน และย้ำอีกครั้งว่า ให้รอฟังศาล ไม่มีประโยชน์ที่มาวิพากษ์วิจารณ์

นายวิษณุ ยังระบุว่า ไม่ทราบว่าในวันที่ 14 ก.ย.นี้ ศาลจะวินิจฉัยหรือไม่ พร้อมยืนยันว่า รัฐบาลยังไม่ได้วางแนวทางรับมือว่า หลังจากนี้จะเป็นอย่างไร เพราะถ้าวินิจฉัยว่า 8 ปีไม่ได้เริ่มนับตั้งแต่ปี57 พลเอกประยุทธ์ก็กลับมาทำงานได้ในวันรุ่งขึ้น แต่ศาลนับตั้งแต่ปี 57 ซึ่งก็ครบตั้งแต่ 24 ส.ค. 65 ก็ไม่ต้องกลับมา โดยพลเอกประวิตรก็นั่งรักษาการไป จะกี่วันก็แล้วแต่ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ จะเรียกประชุมสภา และไม่มีอะไรโมฆะทั้งสิ้น

นายวิษณุ ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ถ้าเริ่มนับตั้งแต่ปี 57 พลเอกประยุทธ์ จะพ้นไป และคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดไปด้วย แต่ก็รักษาการไปไม่มีปัญหา โดยพลเอกประยุทธ์ก็สามารถรักษาการ แต่ก็มองว่า ไม่ควร โดยให้พลเอกประวิตรรักษาการไป จนกว่านายชวน จะมีการเรียกประชุม เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่

เมื่อถามว่า พลเอกประวิตร รักษาการมีอำนาจยุบสภาหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ตนตอบเรื่องนี้มาหลายครั้งแล้วว่า ทฤษฎีมี แต่ในทางปฏิบัติไม่ใช่เรื่องง่าย พร้อมยกตัวอย่างสมัยพฤษภาทมิฬ ที่พลเอกสุจินดา คราประยูร ลาออกจากนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายมีชัย ฤชุพันธุ์ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นรักษาการ และมีการเตรียมคิดที่จะยุบสภา ซึ่งมีอำนาจ แต่เมื่อคิดไปคิดมาก็ไม่ทำ ก็ให้เขาไปหานายกรัฐมนตรีคนใหม่ แล้วให้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ยุบสภาดีกว่า ซึ่งก็ได้นายอานันท์ ปันยารชุนแล้วก็ยุบสภา

นายวิษณุ ยอมรับว่า วันหยุดสุดสัปดาห์ ได้พบ
กับนายมีชัย แต่ไม่ได้พูดคุยกัน โดยพบในงานสังคมที่มีคนจำนวนมาก ไม่ได้คุยเรื่องนายกรัฐมนตรี 8 ปี และมองว่าไม่จำเป็นต้องคุย พร้อมย้อนถามสื่อว่า ตนใกล้ชิดกับนายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขานุการ กรธ.มาก ในฐานะผู้บังคับบัญชา ซึ่งนายมีชัยและนายปกรณ์ต่างก็ต้องชี้แจงศาลรัฐธรรมนูญ แต่ทำไมสื่อสนใจเพียงนายมีชัยจะตอบอะไร แต่ไม่สนใจว่า นายปกรณ์จะตอบอะไร เมื่อถามย้ำว่าได้คุยกับนายปกรณ์หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ตนไม่ตอบ

“ไม่มีปัญหา ไม่มีอะไรต้องเตรียมตัวเตรียมใจทั้งสิ้น ถ้าศาลบอกว่า นับตั้งแต่ปี 57 ก็ครบ 8 ปี ครม.ก็สิ้นสุดลง แต่ก็รักษาการต่อไป พลเอกประวิตรก็รักษาการจนกระทั่งประธานชวน เลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ต้องตั้งครม.ใหม่ และถวายสัตย์ปฏิญาณตน จึงจะทำให้ครม.รักษาการพ้นไป” นายวิษณุ กล่าว

ส่วนที่พรรคเพื่อไทย ไปหาเสียงว่า จะเอาคนที่รักกลับบ้าน ในทางกฎหมายเอากลับมาได้อย่างไร นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ทราบ ตนไม่ได้เป็นคนพูดว่าจะเอากลับ คนที่จะเอากลับ เขาต้องคิดได้ว่า เขามีปัญญา และไม่รู้ว่ามีช่องทางกฎหมายหรือไม่

ส่วนที่พลเอกประวิตร พูดที่ จ.ตากว่า พรรคพลังประชารัฐจะไม่ส่งผู้สมัคร ลงทับไลน์กับพรรคเศรษฐกิจไทย ถือเป็นการครอบงำ ชี้นำ มีความผิดหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ตนไม่รู้ ไม่ได้ยิน ไม่ทราบว่า พลเอกประวิตร พูดอะไร ฟังจากสื่อไม่ได้ จะวิพากษ์วิจารณ์กันไปใหญ่

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า