SHARE

คัดลอกแล้ว

workpointTODAY เข้าร่วมหนึ่งในงานที่น่าสนใจของวงการอาหารเอเชีย โดยงานนี้ถือเป็นหนึ่งในเป็นเทรนด์เซตเตอร์ของอุตสาหกรรมอาหารที่สำคัญ นั่นก็คืองาน “ฟู้ด อินกรีเดียนท์ เอเชีย 2022”  โดยจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 25 ณ จาการ์ตา อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็กซ์โป  กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย  

ตลอดงานทั้ง 3 วัน มีผู้เข้าชมงานจากหลากหลายประเทศทั่วโลกกว่า 12,000 คน สะท้อนการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในอาเซียนที่เติบโตต่อเนื่องทุกปี โดยหลังจากงานที่อินโดนีเซีย จะมีการจัดงานในวันที่ 5-7 ตุลาคมนี้ ณ  ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ประเทศไทย

นางสาวรุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานภูมิภาคอาเซียน บริษัท อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จัดงาน ฟู้ด อินกรีเดียนท์ เอเชีย 2022 เปิดเผยว่า “อุตสาหกรรมอาหารในอาเซียนยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี โดยปัจจัยบวกที่ส่งผลให้เติบโตนั้นนอกจากความต้องการของตลาดและการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคแล้วนั้น การพัฒนานวัตกรรมและกระบวนการการผลิตใหม่ ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นให้มูลค่าโดยรวมของอุตสาหกรรมเติบโต ซึ่งส่วนผสมอาหารและเครื่องดื่มก็มีความสำคัญกับอุตสาหกรรมอาหาร เพราะช่วยสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ อาทิ  ส่วนผสมที่ช่วยปรุงรสแต่งกลิ่น สี ส่วนผสมที่ช่วยยืดอายุของอาหารให้เก็บรักษาได้นานขึ้น จะสามารถช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหาร ถือว่าเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภค”

“การจัดงานในครั้งนี้ ถือเป็นการกลับมาจัดแบบเต็มรูปแบบอีกครั้งในรอบ 3 ปี โดยได้รับความสนับสนุน และความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักธุรกิจ นักลงทุน และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เนื่องจากอินโดนีเซียพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศจากประชากรกว่า 270 ล้านคน และมีการเติบโตด้านเศรษฐกิจต่อเนื่อง ทำให้เป็นตลาดที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุกทั่วโลก  ซึ่งนอกจากการจัดแสงดนวัตกรรมส่วนผสมอาหารและเครื่องดื่ม การเจรจาธุรกิจแล้ว  นิทรรศการในครั้งนี้ยังจัดในรูปแบบสมาร์ทอีเว้นต์ เป็นครั้งแรกของเอเชีย โดยมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาสร้างประสบการณ์ และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ร่วมงานแบบครบวงจร  โดย ภายในงานยังมีการจัดแสดง Pavilion นานาชาติ อาทิ  สหรัฐอเมริกา อินเดีย  มาเลเซีย และ ไทย” 

ภายในงาน Fi Asia  2022 มีเทคโนโลยีส่วนผสมอาหารที่เปิดตัวครั้งแรกภายในงานจำนวนมาก รวมถึงนวัตกรรมส่วนผสมอาหารใหม่ ๆ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด อาทิ   ส่วนผสมอาหารสำหรับแต่งสี กลิ่นและรส ที่สกัดจากธรรมชาติ (Flavor and Fragrance ), ผลิตภัณฑ์นมทางเลือก (Alternative Milk), ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีหน้าที่เฉพาะเจาะลงในการส่งเสริมสุขภาพ เช่น จุลินทรีย์พรีและโพรไบโอติกส์  ไฟเบอร์ และส่วนผสมอาหารที่ช่วยลดผลกระทบจากความเครียด นอกจากนี้ยังมี ส่วนผสมอาหารที่ช่วยพัฒนาเนื้อสัมผัส ความคงตัว รวมถึงลดต้นทุนในการผลิตและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม ผลสำเร็จจากการที่นักธุรกิจที่เข้าชมงานและร่วมเจรจาธุรกิจภายในงานนั้น เป็นผลจากความตื่นตัวของผู้ประกอบการที่กำลังมองหาโอกาส และส่วนผสมอาหารใหม่เพื่อสร้างจุดเด่นให้ผลิตภัณฑ์ได้รับความสนใจผู้บริโภค ซึ่งงาน Fi Asia 2022 ที่จะจัดขึ้นอีกครั้งในประเทศไทย ระหว่างวันที่  5-7 ตุลาคมนี้ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยความพิเศษของปีนี้คือ การจัดงาน Vitafoods Asia 2022 ขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย เป็นงานแสดงสินค้าด้านโภชนเภสัช นวัตกรรมการผลิตอาหารเสริม การรับจ้างผลิต บรรจุภัณฑ์ และบริการด้านโภชนาการต่าง ๆ จึงเป็นโอกาสที่ดีในการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มภายในประเทศให้แข่งขันบนเวทีระดับโลกได้ต่อไป ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนร่วมงานได้ที่ https://online.fiasia.com

สัมภาษณ์ Exclusive กับตัวจริงในวงการอาหารอินโดนีเซีย

ด้านของ Ir. Adhi Siswaya Lukman, Chairman Indonesian Food and Beverage Association – GAPMMI บอกว่า ในอินโดนีเซียเรามีทั้งอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มและอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่น้ำมันปาล์ม โดยอาหารและเครื่องดื่มมีสัดส่วนในมูลค่าทางเศรษฐกิจถึง 38% หรือมากกว่า 1 ใน 3 ของอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่น้ำมันปาล์ม 

ในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมีการเติบโตในเชิงบวกอย่างต่อเนื่องโดย ในปี 2020 การเติบโตอยู่ที่ 0.5% ในปี 2021 การเติบโตอยู่ที่ 2.5% และปี 2022 มีการเติบโตถึง 3.6% ในครึ่งปีแรก นี่ไม่ใช่แนวโน้มตามปกติ เพราะการเติบโตของเราเคยอยู่ที่ประมาณ 7-10% ในช่วงก่อนเกิดโรคระบาด 

การบริโภคภายในประเทศเป็นตลาดขนาดใหญ่ เนื่องจากค่าใช้จ่ายต่อหัวของประชากรสำหรับค่าอาหาร อยู่ที่ราว  49% ของรายได้ โดยอุตสาหกรรมอาหารของเรามีส่วนร่วมอยู่ 1 ใน 3 ของมูลค่าดังกล่าว ผมคิดว่าเราสามารถส่งเสริมให้อุตสาหกรรมอาหารส่งออกได้มากขึ้น เนื่องจากการส่งออกของเรามีส่วนสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจ การส่งออกอาหารและเครื่องดื่มรวมถึงน้ำมันปาล์มของเราในปีที่แล้วมีมูลค่าประมาณ 40 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ 

ประเทศไทยกำลังส่งเสริมการเป็นครัวของโลก หรือ Kitchen of the World รัฐบาลของเราเองก็ได้ริเริ่มโครงการพิเศษในปี 2022 นี้ ภายใต้ชื่อ Indonesia Spices Up the World ซึ่งประธานาธิบดีของเราได้เปิดตัวแนวคิดดังกล่าวเมื่อปีที่ผ่านมา จากการส่งออกเครื่องเทศของอินโดนีเซียในปี 2020 ที่มีมูลค่าถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายใต้โครงการนี้ ประธานาธิบดีของเราตั้งเป้าหมายไว้ว่าในปี 2024 จะเพิ่มการส่งออกเครื่องเทศให้เป็น 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ 

ในปี 2020 มีร้านอาหารอินโดนีเซียราว 1,020 แห่งทั่วโลก ในปี 2024 เราตั้งเป้าหมายไว้ที่ 4,000 แห่งทั่วโลก แต่ก็ยังถือว่ามีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับจำนวนร้านอาหารไทย เนื่องจากทั่วโลกมีร้านอาหารไทยมากกว่า 60,000 แห่ง รวมทั้งที่อยู่ในอินโดนีเซียด้วย นี่จะเป็นโครงการความร่วมมือระดับประเทศ ซึ่งกระทรวงและหน่วยงานระดับชาติทั้งหมด จะมาร่วมให้การสนับสนุนโครงการนี้ เพื่อโปรโมตออกไปทั่วโลกผ่านกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย

ข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

ความมั่นคงทางอาหาร…ความมั่นคงของโลก

องค์การสหประชาชาติมีการคาดการณ์ว่าภายในสิ้นปี 2022 ทั่วโลกจะมีประชากร 8 พันล้านคนโดยประมาณ ซึ่งการเพิ่มจำนวนของประชากรนี้ นำมาสู่ปัจจัยที่ต้องจับตามอง นั่นก็คือ “ความั่นคงทางอาหาร” ซึ่งประเด็นนี้ได้รับความสนใจจากผู้นำทั่วโลกหลังได้รับผลกระทบจาก สงครามรัสเซีย – ยูเครนที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มโลก เนื่องจากทั้งรัสเซียและยูเครนต่างเป็นผู้ส่งออกอาหาร และวัตถุดิบอาหารลำดับต้น ๆ ทั้งสองประเทศ ประกอบกับการ การแพร่ระบาดของ COVID-19

ในปี 2564 ประเทศไทยส่งออกกลุ่มสินค้าเกษตรวัตถุดิบอาหาร 506,970 ล้านบาท ขยายตัวจากปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5 ขณะที่กลุ่มสินค้าอาหารแปรรูปมีมูลค่าส่งออก 600,480 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4  โดยประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าอาหารในอันดับที่ 13 ของโลก มูลค่ากว่า 1.25 ล้านล้านบาท ขณะที่ตัวเลขการส่งออกอาหารในไตรมาศแรกของปี 2565  มีมูลค่า 286,022 ล้านบาท โต 28.8%   จากยอดติดเชื้อโควิด-19 มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องส่งผลให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้นทั่วโลก และปัจจัยเสริมจากตลาดโลก คือ  ค่าเงินบาทของไทยที่อ่อนค่าสูงสุดในรอบ 5 ปี ราคาอาหารโลกพุ่งสูงขึ้นส่งผลดีต่อสินค้าเกษตรและอาหารของไทย 

 ซึ่งอาหารส่งออกที่น่าสนใจและมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือ อาหารกลุ่ม ผัก ผลไม้สด น้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ไขมัน และน้ำมันจากพืช และสัตว์  และผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง   ซึ่งในปัจจุบันทั้งภาครัฐและเอกชน มุ่งส่งเสริมยุทธศาสตร์การวิจัย และพัฒนา (R&D) มุ่งเน้นส่งเสริม และพัฒนาผู้ประกอบการใน ธุรกิจอาหารนำเอาเทคโนโลยีขั้นสูงเข้ามาใช้ใน การพัฒนา และปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับในระดับสากลผ่าน โครงการต่าง ๆ อาทิ การเชื่อมโยงงานวิจัย และนวัตกรรมสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ การส่งเสริม และพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยี แห่งอนาคต และ ยังมีความพยายามจากหลายหน่วยงาน พลักดันให้กรุงเทพฯเป็น“ฟู้ดเทคซิลิคอนวัลเลย์” หรือ “ศูนย์กลางด้านนวัตกรรมอาหารของ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และระดับโลก”

อินโดนีเซีย ตั้งเป้าเป็นคลังอาหารโลกภายใน 2588

  เศรษฐกิจอินโดนีเซียเป็นหนึ่งในประเทศกำลังพัฒนาที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก โดยเศรษฐกิจมี ขนาดใหญ่ถึง 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 6 ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และใหญ่เป็นอันดับ 1 ในกลุ่มอาเซียน ขณะที่เศรษฐกิจขยายตัวค่อนข้างดีต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมารวมถึงฟื้นตัวได้ดีจากวิกฤต โรคระบาด COVID-19 (ในปี 2015-2019 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยอยู่ที่ 5% ต่อปี ก่อนที่จะหดตัว ในปี 2020 อยู่ที่ -2.1% และฟื้นตัวในปีถัดมาที่ 3.7% โดยล่าสุดในไตรมาสแรกของปี 2022 ขยายตัว 5% YOY) ประเทศอินโดนีเซียมีจำนวนประชากรสูงถึง 277 ล้านคน จัดเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจาก จีน อินเดีย และสหรัฐอเมริกา อินโดนีเซียเป็นตลาดเกิดใหม่และมีแนวโน้มที่น่าสนใจเพราะขนาดตลาดที่ใหญ่ ประชากร อายุเฉลี่ยต่ำ รายได้เติบโตดี  เป็นประเทศมีพื้นฐานทรัพยากรที่มีจำนวนมาก และโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ แข็งแกร่งจากการพึ่งพาการบริโภคและการใช้จ่ายในประเทศเป็นสำคัญแตกต่างจากไทยและเวียดนามที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก แม้อินโดนีเชียจะมีการนำเข้าสินค้าหมวดอาหารคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 9,000 ล้านเหรียญ สหรัฐ หรือประมาณ 327,510 ล้านบาท เนื่องจากกำลังการผลิต และวัตถุดิบในประเทศยังไม่เพียงพอ ที่จะนำไปผลิตให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในประเทศ  และอินโดนีเซียยังตั้งเป้าเป็นคลังอาหาร ระดับโลกภายในปี 2588 และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองด้านอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ ล่าสุด อินโดนีเซียเปิดโครงการ “อินโนนีเซีย สไปซ์ อัป เดอะ เวิลด์” (Indonesia Spice Up the World) ส่งเสริมการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ปรุงรสอาหารและเครื่องเทศ  โดยตั้งเป้า เปิดร้านอาหารอินโดนีเซีย 4,000 ในต่างประเทศ และส่งออกผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเครื่องเทศให้ได้ 2,000 ล้านเหรีญสหรัฐฯ ภายในปี 2024  ขณะที่มูลค่าการส่งออกเครื่องเทศในปัจจุบันอยู่ที่ 1,000  ล้านเหรีญสหรัฐฯ

โอกาสและความท้าทายผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมอาหาร

ผู้ประกอบการอาหารและเครื่องดื่มทั้งไทยและอินโดนีเซีย ต้องหาวิธีการรับมือเพื่อคงความอยู่รอด ของธุรกิจในช่วงปี 2562 – 2563 เนื่องจากการส่งออกอาหารของไทยลดลงไปถึง 20%-30% โดยในปี 2562 ลดลง 5% และปี 63 ลดลงไปถึง 12% และในปี 2564 แม้ตัวเลขการส่งออกเพิ่มสูงขึ้นถึง 13%  แต่ผู้ประกอบการยังต้องเผชิญปัจจัยความท้าทายที่น่าสนใจ ได้แก่ ไม่ว่าจะเป็นภาวะเงินเฟ้อ ความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย  ต้นทุนค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นจากค่าน้ำมัน และมาตรการในการตรวจสอบเพื่อป้องกันการ ระบาดของเชื้อไวรัส Covid – 19 ระหว่างการขนส่ง นอกจากนี้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารยังต้องรับมือกับวิกฤตสงครามรัสเซีย – ยูเครน ที่ส่งผลกระทบทั้งห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรม ไปจนถึงพฤติกรรม ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากสถานการณ์โควิด ที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม และการตรวจสอบย้อนกลับ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า