SHARE

คัดลอกแล้ว

หลายคนไม่คาดคิด แต่ในที่สุด ‘รถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว’ ก็สร้างเสร็จตามกำหนด และเปิดให้บริการประชาชนเรียบร้อยแล้ว ซึ่งแน่นอนว่ารถไฟความเร็วสูงเชื่อมจีนกับภูมิภาคอาเซียนเส้นนี้ย่อมส่งแรงกระเพื่อมออกไปกระทบไทยและทั่วทั้งภูมิภาค แต่ยังไง แบบไหน

TODAY Bizview มีโอกาสได้คุยกับ ‘ศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์’ คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่งเกี่ยวกับประเด็นนี้เลยนำมาสรุปให้ได้อ่านกัน

[ ไทย จะไปทางไหน หลังรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว ]

ในด้าน ‘ศูนย์กลางทางการขนส่ง’ ใครที่สร้างเสร็จก่อนก็จะได้เปรียบกว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาวที่กลายเป็นช่องทางใหม่ในการค้าระหว่างจีน-อาเซียนก็เช่นกัน ก่อนหน้านี้หลายๆ คนไม่คิดว่าจะสามารถสร้างเสร็จได้ตามกำหนดเวลา แต่สุดท้ายก็เสร็จตามกำหนดเวลากลายเป็นโครงการเมกาโปรเจ็กต์ด้านโลจิสติกส์แรกของลาวได้สำเร็จ

ส่วนการเชื่อมต่อระหว่างลาว-ไทยยังไม่มีการพูดคุยถึงการเชื่อมต่อว่าจะเกิดขึ้นไหม หรือเกิดขึ้นยังไง เนื่องจากโครงการรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาวเป็นโครงการทวิภาคีของสองประเทศ ไม่ใช่โครงการระดับภูมิภาค แต่โครงการรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาวจะส่งผลกระทบให้สินค้าจีนลงมาในอาเซียนได้ถูกลงมาก ในขณะที่สินค้าจากอาเซียนหรือจากไทยไม่สามารถกลับไปขึ้นที่จีนได้

[ ประเมินโลจิสติกส์ไทยในรัฐบาลที่ผ่านมา ]

พอถามถึงการบ้านของรัฐบาลประยุทธที่กำลังจะหมดวาระในช่วงต้นปีหน้า

คำตอบ คือ ให้ไม่ถึงครึ่งของคะแนนเต็ม เพราะว่าสุดท้ายแล้วโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ของไทยในช่วงที่ผ่านมา ไม่มีอะไรเป็นไปตามแผน เดินช้ากว่ากำหนดหลายโครงการ

รวมถึงโครงการเชื่อมต่อระหว่างไทย-ลาวที่เดิมคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2565 แต่ปัจจุบันเลื่อนเวลาแล้วเสร็จเป็นปี 2570 แล้ว

ส่วนแผนการพัฒนาใหม่ๆ ส่วนใหญ่ก็ยังไม่เห็นแนวทางในการพัฒนามากนัก ไม่ว่าจะเป็นโครงการแลนด์บริดจ์ โครงการสายการเดินเรือแห่งชาติ หรือโครงการอื่นๆ มีเพียงโครงการเกี่ยวกับถนนเท่านั้นที่สามารถจับต้องได้

[ อนาคตโลจิสติกส์ไทย ต้องหันมาสนใจส่วนที่เคยมองข้าม ]

ด้าน ‘อนาคตการค้าระหว่างประเทศกับโลจิสติกส์’ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

1) โครงสร้างพื้นฐาน ที่มีแผนการที่ทำการศึกษามานานแล้วและดีแล้ว แต่ขาดการดำเนินการให้ทันตามแผน ทำให้เสียเวลา เสียโอกาส และทำให้ต้นทุนในการสร้างแพงขึ้น

2) การอำนวยความสะดวกทางการค้าและโลจิสติกส์ อย่างเช่นการจัดเก็บสินค้า คลังสินค้า ฯลฯ ให้สะดวกมากขึ้น เพราะมักจะถูกมองข้าม

3) ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ เพราะผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทยส่วนมากเป็นรายเล็กและยังขาดความเข้มแข็ง ไม่มีการจับมือกับบริษัทห้างร้านขนาดเล็กและขนาดย่อม

‘ศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์’ คิดเห็นว่ามองภาพโลจิสติกส์ไทยแบบนี้ แล้วทุกคนคิดเห็นยังไงกับสถานการณ์โลจิสติกส์ไทยบ้าง มาแชร์กัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า