SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศ 1 ต.ค. 65 เป็นต้นไป ยกเลิกโควิด-19 จากการเป็นโรคติดต่ออันตราย และกำหนดให้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ศบค. 23 ก.ย.นี้เตรียมพิจารณาแนวปฏิบัติรองรับ พร้อมประกาศปลดโควิดออกจากโรคต้องห้ามเข้าประเทศ

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วานนี้ (20 ก.ย. 2565) มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดโรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร หรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร สาระสำคัญคือ

ยกเลิกโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด-19) ออกจากการเป็น โรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา 12 (4) หรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามาตรา 44 (2) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ส่วนโรคต้องห้ามอื่นๆ ยังคงกำหนดไว้ตามเดิม ดังนี้

1.โรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร คือ
– โรคเรื้อน
– วัณโรคในระยะอันตราย
– โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
– โรคยาเสพติดให้โทษ
– โรคซิฟิลิสในระยะที่ 3

2.โรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร คือ
– โรคเรื้อน
– วัณโรคในระยะอันตราย
– โรคเท้าช้าง
– โรคยาเสพติดให้โทษ
– โรคพิษสุราเรื้อรัง
– โรคซิฟิลิสในระยะที่ 3

ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ยกเลิกโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตราย

นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ 2 ฉบับ ซึ่งได้เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 65 ประกอบด้วย

1)ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2565

2) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565 โดยประกาศทั้ง 2 ฉบับจะมีผลยกเลิกโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตราย แล้วกำหนดให้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 65 เป็นต้นไป

การยกเลิกโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตรายนี้ เนื่องมาจากสถานการณ์การระบาดทั่วโลก มีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตลดลง การแพร่ระบาดและความรุนแรงของโรคในต่างประเทศก็มีแนวโน้มลดลง ประกอบกับจำนวนวัคซีนป้องกันโรคโควิด19 ในประเทศมีเพียงพอกับความต้องการ ขณะที่ประชาชนได้รับวัคซีนในระดับความครอบคลุมสูง มีภูมิคุ้มกันโรคเพิ่มขึ้น จึงสมควรปรับมาตรการทางกฎหมายให้สอดคล้องกับการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ในประเทศและสถานการณ์ปัจจุบัน

ทั้งนี้ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ได้ติดตามและดำเนินการตามแผนงานที่สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด19 มาเป็นระยะ ซึ่งรวมถึงการจัดทำกรอบนโยบาย แนวปฏิบัติภายหลังโควิด-19 ปรับสู่การเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง แนวปฏิบัติของภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน เมื่อเข้าสู่ภาวะหลังการระบาดใหญ่ (Post-pandemic) ซึ่งที่ประชุม ศบค. ชุดใหญ่ในวันที่ 23 ก.ย. 65 นี้ จะได้พิจารณาอนุมัติแนวดำเนินการต่างๆ ซึ่งได้เตรียมไว้เพื่อไปสู่ในทางปฏิบัติต่อไป

การประกาศลดระดับโควิด-19 สู่โรคติดต่อเฝ้าระวังของกระทรวงสาธารณสุข มีการผ่อนคลายทางนโยบายที่สอดคล้องกับที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 65 ได้เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดโรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร หรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยมีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกโควิด19 ออกจากกลุ่มโรคต้องห้าม หลังจากที่ถูกกำหนดให้เป็นโรคต้องห้ามสำหรับชาวต่างชาติที่จะเดินทางเข้าประเทศไทยตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา โดยประกาศจะมีผลตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า