Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ถดถอยจริง หรือเพียง ถดถอยทางทฤษฎี เป็นเรื่องที่ยังเถียงกันไม่จบสิ้น ปัจจัยกดดันหลักๆ มาจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง

ขณะที่ตัวเลขสำคัญต่างๆ ที่บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ อัตราการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ (Nonfarm Payrolls หรือ NFP) กลับออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดไว้

ในขณะที่ ดัชนีราคาผู้บริโภค (Core Consumer Price Index หรือ CPI) ได้มีการประกาศตัวเลขเดือน ส.ค. เมื่อสัปดาห์ก่อนอยู่ที่ 8.3% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ในระดับ 8.1% ซึ่งเมื่อดูตัวเลขยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

แต่ก็มีสัญญาณที่ดีจากการปรับลดลงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่มีการประกาศจากกระทรวงแรงงานสหรัฐฯตั้งแต่ช่วงเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา

แม้ตัวเลขบ่งชี้จะออกมาดี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพราะล่าสุดเมื่อคืนที่ผ่านมา Fed ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.75%

นอกจากนี้ ‘เจอโรม พาวเวลล์’ ประธาน Fed ยังแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป แม้จะต้องแลกมาด้วยการหดตัวทางเศรษฐกิจ จนกว่าเงินเฟ้อจะลงมาอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 2%

ดังนั้น แรงกดดันเหล่านี้จะยังคงสร้างผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ และการลงทุนทั่วโลกต่อไปอีกระยะ เป็นเหตุผลให้นานาชาติต่างกังวลว่าหากเศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงอยู่ในภาวะถดถอย และมีความไม่แน่นอนสูงเป็นเวลานาน อาจจะส่งผลต่อการค้าระดับประเทศตามมาในที่สุด

อย่างไรก็ตาม บริษัทไทยที่ทำธุรกิจ และมีฐานลูกค้าในสหรัฐฯ กลับมีความเห็นที่แตกต่างกับภาพรวมศรษฐกิจที่เกิดขึ้น โดยอ้างอิงจากปริมาณของกลุ่มลูกค้าที่เพิ่มขึ้น และมองว่าจะเป็นโอกาสที่สามารถสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจอีกทางหนึ่งเลยทีเดียว

‘ชูเดช คงสุนทร’ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บมจ. ไวส์ โลจิสติกส์ หรือ WICE ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ กล่าวว่า สถานการณ์เงินเฟ้อสหรัฐฯ อาจส่งผลในกลุ่มเกษตร กลุ่มสินค้าคงทน และกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

แต่ยอดปริมาณขนส่งสินค้าไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นกลุ่มตลาดหลักของบริษัทกลับมีแนวโน้มเติบโต

โดยในช่วงปี 2564 บริษัทมีปริมาณขนส่งเกินกว่าเป้าหมายที่เคยตั้งไว้ 6,000 TEUs (หน่วยตู้ 20 ฟุต) และในช่วงครึ่งปีแรก 65 บริษัทสามารถขนส่งได้จำนวน 5,091 TEUs หรือคิดเป็น 51% จากเป้าหมายที่วางไว้สิ้นปี 10,000 TEUs

นอกจากนี้ สถานการณ์ด้านค่าระวางเรือที่มีท่าทีผ่อนคลายลงเป็นปัจจัยหนุน ประกอบกับการบริหารเที่ยวขนส่งร่วมกับบริษัทในเครือ จะส่งผลให้ต้นทุนในการขนส่งปรับลดลง

และคาดว่าหากสถานการณ์เงินเฟ้อมีท่าทีผ่อนคลายลง จะทำให้มีปริมาณการขนส่งในตลาดสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมากกว่าเป้าหมายที่วางไว้อย่างแน่นอน

‘รชต ลีลาประชากุล’ กรรมการผู้จัดการ บมจ. ไทย-เยอรมัน โปรดักส์ หรือ TGPRO ผู้ผลิตและจำหน่ายท่อสแตนเลส เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาสหรัฐฯ ต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง แต่บริษัทกลับมีปริมาณคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่องในกลุ่มท่อสเตนเลสฟู๊ดเกรด หรือ ท่อสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร

โดยมองว่าแม้เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีความผันผวนมากขนาดไหน อุตสาหกรรมอาหารก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นในการบริโภคของคนในประเทศ และ ตัวเลขยอดขายยังอยู่ในระดับ 35-40%

นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังมีเกณฑ์ที่เข้มงวดสำหรับการนำเข้าสินค้า คือ ต้องเป็นสินค้าที่มีการรับรองมาตรฐาน 3A หรือ ทริปเปิ้ลเอ (Triple A) โดยใช้กับอุตสาหกรรมอาหารและนมในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของบริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้นจากการส่งออกสินค้าดังกล่าว

สำหรับครึ่งปีหลัง 2565 บริษัทยังคงบริษัทมุ่งเน้นการขยายฐานลูกค้าสหรัฐฯ รวมถึงประเทศกลุ่มทวีปอเมริกาใต้ และ ทวีปแอฟริกา โดยเน้นการส่งออกสินค้าที่มีมาร์จิ้นสูง อาทิ ท่ออุตสาหกรรมอาหาร ท่อน้ำแข็งปลอดเชื้อ และท่อสเตนเลสส่งผ่านความร้อน ซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญในการผลิตสินค้าของบริษัท

ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าหมายสัดส่วนของยอดขายต่างประเทศที่ 20-25% จากเป้าหมายปกติ 15%

‘ธีรพงศ์ จันศิริ’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU บริษัทผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและส่งออกอาหารทะเลแช่แข็ง กล่าวว่า แม้ที่ผ่านมาสถานการณ์เงินเฟ้อยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลในด้านต่างๆ ของธุรกิจอาหารแช่แข็งในสหรัฐฯ ที่มีสัดส่วนการส่งออก 44% อาทิ ซัพพลายเชนที่ค่าขนส่งยังคงอยู่ในระดับสูง

อย่างไรก็ตาม ทุกวิกฤติยังคงมีโอกาสสำหรับบริษัทเสมอ โดยในช่วงครึ่งปีแรก บริษัทมีการเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่และส่งออกไปยังลูกค้าต่างประเทศในกลุ่มยุโรปและสหรัฐฯ มากขึ้น ซึ่งส่งผลให้มียอดขายในช่วงไตรมาส 2/65 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 38,946 ล้านบาท

ด้านทิศทางครึ่งปีหลังยังคงมั่นใจในแผนการดำเนินงานท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงมีความท้าทายอย่างต่อเนื่อง โดยมีนโยบายต่างๆในการบริหารจัดการต้นทุนและราคาวัตถุดิบ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง

พร้อมปรับเป้ายอดขายจาก 7-8% เป็น 10-12% จากการเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและการเพิ่มราคาสินค้า อีกทั้งเงินบาทอ่อนค่ายังเป็นปัจจัยสนับสนุนให้กับธุรกิจอีกด้วย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า