SHARE

คัดลอกแล้ว

รัฐบาลศรีลังกาไฟเขียวปรับสถานะประเทศเป็น ‘ประเทศรายได้ต่ำ’ เพื่อเปิดทางให้มีคุณสมบัติเข้าถึงเงินกู้แก้วิกฤติเศรษฐกิจประเทศในอนาคต
.
โฆษกรัฐบาลศรีลังกาเปิดเผยในวันนี้ (11 ต.ค.) ยืนยันการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรีในการปรับสถานะดังกล่าวในบัญชีของธนาคารโลก (World Bank) หลังจากที่ศรีลังกาเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจรุนแรง จนเกิดภาวะขาดแคลนอาหารและพลังงาน ซึ่งทางการศรีลังกาเคยออกมายอมรับถึงขั้นว่า ศรีลังกาอยู่ในสถานะประเทศที่ล้มละลายแล้ว
.
โฆษกรัฐบาลศรีลังกาเปิดเผยเพิ่มเติมว่า บรรดาผู้แทนหน่วยงานระหว่างประเทศได้ให้ข้อมูลกับทางการศรีลังกาว่า ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจที่ศรีลังกาเผชิญอยู่ การปรับลดสถานะเป็นประเทศรายได้ต่ำ จะทำให้สามารถเข้าถึงเงินจากแหล่งกองทุนต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
.
สื่อท้องถิ่นของศรีลังการะบุว่า การปรับลดสถานะประเทศจะทำให้ศรีลังกาสามารถเข้าถึงเงินจากกองทุนของสมาคมเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (IDA) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ธนาคารโลก ที่มีเป้าหมายช่วยเหลือประเทศยากจนและประเทศที่มีเศรษฐกิจเปราะบางเป็นหลัก

สำหรับวิกฤติเศรษฐกิจของศรีลังกาครั้งนี้ ถือเป็นปัญหาเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุด นับตั้งแต่ได้รับเอกราชเมื่อปี 1948 ผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้ประเทศศรีลังกาขาดรายได้จากการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศมาตลอด ขณะเดียวกันสงครามยูเครนทำให้ราคาพลังงานพุ่งสูงขึ้น
.
นอกจากนี้ วิกฤติเศรษฐกิจของศรีลังกายังเกิดจากปัจจัยภายใน ผลกระทบจากการออกนโยบายที่ผิดพลาดของรัฐบาล เช่น นโยบายห้ามใช้ปุ๋ยเคมี จนทำให้ผลผลิตการเกษตรตกต่ำ ซึ่งรายงานของธนาคารกลางศรีลังกาชี้ว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของศรีลังกาในปีนี้ อาจติดลบ 8.7%
.
รองศาสตราจารย์ดรานันเจย์ ทรีปาตี ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเอเชียใต้ ประเทศอินเดีย ให้ความเห็นว่า นี่คือการยอมรับความจริงของศรีลังกา ซึ่งเป็นประเทศที่เคยมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ในระดับสูงเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาค โดยการปรับสถานะดังกล่าวจะทำให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้หลากหลายกว่า และมีสิทธิ์กู้ได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ
.
รองศาสตราจารย์ทรีปาตียังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า จีนซึ่งเป็นหนึ่งในเจ้าหนี้ของศรีลังกายังไม่มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับศรีลังกามากนัก อาจเป็นเพราะจีนก็มีความกังวลว่า หากยื่นมือเข้าช่วยเหลือผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ให้ศรีลังกา ก็อาจมีประเทศอื่นที่เป็นลูกหนี้จีนและกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจ ขอความช่วยเหลือในลักษณะเดียวกัน
.
ที่มา Nikkei Asia, India Narrative

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า