SHARE

คัดลอกแล้ว

ผลสำรวจของศูนย์ยุทธศาสตร์และนานาชาติศึกษา (CSIS) จากสหรัฐฯ พบว่า บริษัทสัญชาติไต้หวัน เกิน 1 ใน 4 มีความกังวลต่อการพึ่งพาตลาดจีนมากเกินไป จึงย้ายการผลิตบางส่วนออกจากจีน โดยส่วนมากย้ายไปอาเซียน และอีกส่วนหนึ่งย้ายกลับประเทศตนเอง

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนได้เพิ่มแรงกดดันทางการเมือง เศรษฐกิจ และการทหารต่อไต้หวัน โดยจีนมีคำสั่งห้ามการนำเข้าจากไต้หวันและเปิดตัวการฝึกซ้อมทางทหารครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา

CSIS ได้ทำการสำรวจในช่วงปลายเดือน ก.ค. ก่อนการเยือนของประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ แนนซี เปโลซี ที่ไทเป จากการสอบถามผู้บริหารบริษัทไต้หวันกว่า 500 รายพบว่า จำนวนกว่า 3 ใน 4 (76.3%) คิดว่าไต้หวันจำเป็นต้องลดการพึ่งพาทางเศรษฐกิจจีนลง 

บริษัทไต้หวันเกิน 1 ใน 4 (25.7%) ระบุว่า ปัจจุบันได้ย้ายการผลิตหรือการพึ่งพาวัตถุดิบบางส่วนออกจากประเทศจีนแล้ว และบริษัท 1 ใน 3 ระบุว่ากำลังพิจารณาเรื่องนี้อยู่

ที่น่าสนใจคือ บริษัทที่กำลังย้ายฐานการผลิต ส่วนใหญ่ (63.1%) ระบุว่า กำลังย้ายไปประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเกือบครึ่งระบุว่าจะย้ายกลับไปไต้หวัน 

โดยก่อนหน้านี้ ในปี 2559 ประธานาธิบดีไช่ อิง เหวิน ได้เปิดตัวนโยบายต่างประเทศที่เรียกว่า นโยบายมุ่งใต้ใหม่ (NSP) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไต้หวันกำลังมุ่งเข้าหาประเทศเพื่อนบ้านและพันธมิตรประเทศเอเชียที่อยู่ทางใต้ของไต้หวัน และกระจายตัวออกจากตลาดจีน 

ความคิดริเริ่มของไช่ อิง เหวิน นั้นให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน การค้า และการลงทุนของไต้หวันกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอื่นๆ

Chen Kuan-ting ซีอีโอของมูลนิธิ Taiwan NextGen Foundation กล่าวว่า NSP ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ที่ใหญ่สำหรับไต้หวัน ซึ่งนักลงทุนชาวไต้หวันพยายามสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย

ทั้งนี้ ประธานาธิบดีไต้หวันยังกล่าวใน Yushan Forum ซึ่งเป็นการเจรจาระดับภูมิภาคที่จัดโดยมูลนิธิแลกเปลี่ยนไต้หวัน-เอเชียในเมืองไทเปว่า บริษัทไต้หวันได้เพิ่มการลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอัตรามหาศาล

โดยตั้งแต่เดือน ม.ค. – ก.ค. ที่ผ่านมา การลงทุนจากไต้หวันใน 18 ประเทศ NSP มีจำนวนเกิน 2.2 พันล้านดอลลาร์แล้ว คิดเป็น 43.9% ของการลงทุนภายนอกทั้งหมดของไต้หวัน

อย่างไรก็ตาม การขยายธุรกิจของบริษัทไต้หวันต้องเผชิญกับภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะประชาธิปไตยกำลังถอยหลังกลับในหลายๆ ประเทศ ตั้งแต่กัมพูชาไปจนถึงเมียนมาร์

นั่นแปลว่าประเทศเหล่านี้มีการแนวโน้มไปทางระบอบเผด็จการมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้ขัดต่อผลประโยชน์ของไต้หวัน

CSIS สรุปว่า จีนจำเป็นต้องพยายามหยุดวิกฤตความเชื่อมั่นนี้ และไต้หวันต้องหาจุดสมดุลระหว่างการกระจายความเสี่ยงออกจากจีน

นอกจากนี้ยังแนะนำว่า ไต้หวันจำเป็นต้องเพิ่มการสนับสนุนในด้านการวิจัยและพัฒนา การศึกษา พลังงาน และองค์ประกอบอื่นๆ ที่ช่วยให้บริษัทไต้หวันสามารถแข่งขันในระดับสากลได้มากขึ้นในอนาคต

ที่มา : 

https://asia.nikkei.com/Politics/International-relations/Taiwanese-companies-in-China-flocking-to-Southeast-Asia-survey

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า