SHARE

คัดลอกแล้ว

‘เงินเดือน’ เป็นหนึ่งในเหตุผลอันดับต้นๆ ที่มีส่วนในการตัดสินใจโยกย้าย เปลี่ยนงานของมนุษย์ออฟฟิศ

แต่ในขณะเดียวกัน ‘เงินเดือน’ ก็เป็นเหมือนเมืองลับแลในสังคมการทำงาน แม้เป็นสิ่งเย้ายวนใจแต่ก็ไม่อาจเปิดเผยให้ใครรู้ได้ และเงินเดือนยังถูกตีตราให้เป็นความลับสุดยอด ไปจนถึงเป็น ‘เรื่องต้องห้าม’

บางองค์กรถึงกับมีกฎเลยว่า ห้ามพนักงานเปิดเผยตัวเลขเงินเดือนซึ่งกันและกัน หากฝ่าฝืนอาจมีบทลงโทษถึงขั้นพักงาน ให้ใบเตือน หรือพิจารณาไล่ออกทันที

ฟากหนึ่งก็เข้าใจได้ถึงเหตุผลที่ต้องการให้เก็บตัวเลขเงินเดือนเป็นความลับ ในกรณีที่เป็นคนทำงานตำแหน่งใกล้เคียงกัน หากมีการพูดคุยกันแล้วเงินเดือนมีเปอร์เซ็นต์สูง-ต่ำโดดกันมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดข้อครหากับองค์กร รวมถึงคนทำงานกันเองก็จะแคลงใจกันเปล่าๆ ด้วย

ทว่า เรื่องนี้กลับเป็นความคิดที่คร่ำครึไปเสียแล้ว เพราะกรณีการปิดตัวเลขเงินเดือนเป็นความลับถูกหยิบยกมาถกเถียงกันบ่อยครั้งว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ฐานเงินเดือนควรเปิดเผยกับคนทำงานทุกคนได้

และองค์กรที่ขาดความโปร่งใส ชวนให้พนักงานตั้งคำถามตลอดเวลา จะเป็นผลเสียระยะยาวมากกว่าหรือไม่ TODAY Bizview ชวนหาคำตอบจากบทความนี้

[ ไม่เปิดเงินเดือน ไม่เลือกทำงานด้วย ]

มีผลสำรวจในสหรัฐอเมริกาที่ทำการเก็บดาต้าจากกลุ่มตัวอย่างที่กำลังหางานกว่า 2,000 คน โดย 1 ใน 3 ให้ความเห็นว่า พวกเขาเลือกจะปฏิเสธการนัดหมายสัมภาษณ์งานทันทีหากยังไม่ทราบช่วงเงินเดือนที่จะได้รับ

และที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ มากกว่าครึ่งหนึ่งเลือกจะปฏิเสธข้อเสนอเกี่ยวกับการจ้างงานหลังจากทราบฐานเงินเดือนในภายหลังด้วย ซึ่งตรงนี้ก็ทำให้นายจ้างมีราคาที่ต้องจ่ายจากช่วงเวลาที่เพิ่มขึ้นในการต้องเฟ้นหาพนักงานต่อไป

โดยตลอดปี 2022 นิวยอร์ก วอชิงตัน และแคลิฟอร์เนีย ทั้งสามรัฐในสหรัฐอเมริกาได้มีการผ่านร่างพระราชบัญญัติความโปร่งใสด้านเงินเดือนทั่วทั้งรัฐ

ฟังดูเหมือนจะเป็นข้อดีสำหรับดีเบตนี้ แต่ทั้งหมดล้วนมีสาเหตุมาจากการที่สหรัฐฯ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีความโปร่งใสเรื่องการเปิดเผยฐานเงินเดือนแย่ที่สุดในโลก

การขาดความโปร่งใสเรื่องเงินเดือนมีชื่อเรียกว่า ‘pay gaps’ ระยะยาวจะทำให้องค์กรดังกล่าวเกิดอคติต่อผู้สมัครงาน ความชัดเจนของเงินเดือนจึงเป็นเหมือนดาบสองคมที่องค์กรเองก็ต้องระมัดระวังในการประกาศช่วงเงินเดือนสำหรับตำแหน่งดังกล่าว

รวมถึงการสร้างอคติของผู้สมัครที่อาจถูกตีตราได้ว่า องค์กรขาดความจริงใจตั้งแต่แรกพบ ทำลายความน่าดึงดูดใจจากแคนดิเดตที่มีคุณสมบัติตรงตามที่องค์กรต้องการด้วยนั่นเอง

ผลสำรวจที่ว่านี้ยังมีชุดคำถามเจาะกับกลุ่มตัวอย่างที่กำลังมองหางานใหม่ๆ โดยพวกเขามองว่า นายจ้างหรือองค์กรที่ปิดบังเงินเดือนน่าจะมีอะไรซ่อนอยู่ ขาดความน่าไว้ใจ

อีกส่วนมองว่า การที่องค์กรไม่ยอมเปิดตัวเลขออกมาตรงๆ มีแนวโน้มที่บริษัทจะจ่ายเงินเดือนให้ต่ำกว่าความเป็นจริง

และอีกส่วนมองว่า มีความเป็นไปได้ที่บริษัทจะ ‘ลำเอียง’ และให้เรตเงินเดือนในตำแหน่งระดับเดียวกันไม่เท่ากัน จึงเลือกที่จะไม่เปิดเผยตัวเลข

[ ต้องจริงใจ โปร่งใจ เปิดเผยได้ ]

ฟังความเห็นฟากฝั่งพนักงานกันไปแล้ว และดูเหมือนว่าการเก็บตัวเลขเงินเดือนเป็นความลับไม่ได้ส่งผลดีกับบริษัทมากเท่าไร ถ้าอย่างนั้นจะทำอย่างไร เริ่มเปลี่ยนแปลงตรงไหนให้คนทำงานและคนที่กำลังสนใจองค์กรรู้สึกว่า บริษัทนี้น่าทำงานด้วยดีล่ะ?

อันดับแรก โละความคิดเก่าๆ ปรัชญาว่าด้วยเรื่องเงินเดือนแบบเดิมทิ้งไปซะ ก่อนนี้เราอาจจะถูกฝังหัวกันมาว่า เงินเดือนเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและไม่ควรถูกหยิบมาพูดกันอย่างตรงไปตรงมา แต่ในความเป็นจริงแล้ว เงินเดือนเป็นชิ้นส่วนสำคัญที่หลายคนเลือกพิจารณาว่าจะไปต่อหรือพอแค่นี้กับองค์กร

ฉะนั้น ทั้ง HR และภาพรวมของบริษัทต้องก้าวไปข้างหน้า ไม่ยึดติดกับหลักคิดเดิมๆ

โดยเริ่มจากการกำหนดช่วงเงินเดือนและประชาสัมพันธ์ว่า ตำแหน่งงานนี้ ระดับงานเท่านี้ จะมีช่วงเงินเดือนเท่าไรถึงเท่าไร

อาจจะไม่ได้กำหนดเป็นตัวเลขตายตัวได้ขนาดนั้น เพราะในเชิงรายละเอียด ภูมิหลังและประสบการณ์การทำงานของแต่ละคนย่อมมีความแตกต่าง ที่ทำให้ฐานเงินเดือนในตำแหน่งเดียวกันถูกปรับเพิ่มไม่เท่ากัน

นอกจากนี้ ยังมีความเข้าใจผิดในเรื่องดังกล่าวด้วยว่า การหยิบเรื่องเงินเดือนขึ้นมาพูดคุยกันในหมู่พนักงานสร้าง Toxic มากกว่าหรือเปล่า? ซึ่งท้ายที่สุดแล้วเรื่องนี้คงไม่อาจเลี่ยงได้ โดยเฉพาะพนักงานที่มีความสนิทสนมกันค่อนข้างมาก ไม่แปลกที่พวกเขาจะแลกเปลี่ยนเรื่องตัวเลขกัน

ซึ่งจากงานศึกษาชิ้นเดียวกันนี้ก็พบว่า พนักงานส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดความรู้สึกไม่ดีหลังได้รับทราบเรื่องตัวเลขเงินเดือน ในทางกลับกัน พวกเขายังยินดีกับสิ่งที่เพื่อนร่วมงานได้รับด้วยซ้ำไป มีเพียง 1 ใน 10 เท่านั้นที่บอกว่า ตนไม่พอใจกับเรื่องเงินเดือนที่มากกว่าของเพื่อนร่วมงาน

ส่วนสุดท้ายที่พนักงานอาจจะไม่สามารถทำได้ นั่นคือการสร้างมาตรฐานเรื่องการเปิดเผยช่วงเงินเดือน บริษัทต้องทำให้เกิดเป็นพิมพ์เขียวของบริษัทให้ได้ ทำให้ทั้งคนในองค์กรและคนนอกที่มองเข้ามาเห็นถึงความชาญฉลาดที่เลือกจะเปิดเผยตัวเลข

หากขจัดชุดความคิดเดิมๆ ออกไปได้ ไม่แน่ว่าบริษัทก็อาจจะดึงดูดคนเก่งๆ มากความสามารถเข้ามาจากความจริงใจ และตัวเลขที่พวกเขารู้สึกพึงพอใจด้วยเหมือนกัน

ที่มา:

https://qz.com/as-the-deadline-for-the-twitter-musk-deal-approaches-3-1849697528

https://qz.com/everything-need-to-know-salary-transparency-1849397396

https://www.uschamber.com/co/run/finance/salary-transparency-pros-and-cons

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า