SHARE

คัดลอกแล้ว

บทวิเคราะห์จาก EIC หรือ Economic Intelligence Center ของธนาคารไทยพาณิชย์ พบว่า ครัวเรือนไทยกว่า 2 ล้านครัวเรือน เป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางจากปัญหาหนี้สูง และอาจใช้เวลาเกิน 10 ปี ถึงจะหลุดพ้นจากปัญหานี้

รายละเอียดของบทวิเคราะห์นี้เป็นอย่างไร? คนไทยเราหนี้ท่วมขนาดไหน? TODAY Bizview สรุปให้อ่านกันในโพสต์นี้

-EIC บอกว่าช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ครัวเรือนไทย ‘เปราะบาง’ ทางการเงินมากขึ้น จากการสะสมหนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ขณะที่รายได้ไม่ได้เติบโตเร็วเท่าๆ กัน จนครัวเรือนไทยเสียสมดุลทางการเงิน

-ถ้ามาดูสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP จะพบว่าในปี 2008 หนี้ครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ 52.4% ส่วนปี 2021 พุ่งขึ้นมาอยู่ที่ 90.1% และยิ่งถ้าเทียบกับต่างประเทศก็ยิ่งน่าตกใจ เพราะไทยมีแนวโน้มหนี้ต่อรายได้เติบโตอย่างรวดเร็ว

-ยิ่งช่วงหลังวิกฤตโควิด ไทยมีสัดส่วนหนี้ต่อ GDP สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศพัฒนาแล้วอย่างชัดเจน แม้รายได้ต่อประชากรของไทยจะต่ำกว่ามากก็ตาม

-ส่วนปีนี้ หนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยครึ่งปีแรกอยู่ที่ 88.2% ซึ่ง EIC ประเมินว่าจะลดลงอย่างช้าๆ สิ้นปีจะอยู่ที่ราว 86-87% แต่ถึงอย่างนั้นก็เป็นระดับสูงสุดเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ใกล้เคียงกัน

-แม้หนี้ครัวเรือนไทยจะสูง แต่ถึงอย่างนั้นประเทศไทยไม่ได้มีการกำหนดว่าครัวเรือนที่มีหนี้ระดับเท่าไหร่ถึงจะเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางทางการเงิน EIC จึงใช้วิธี Machine Learning เพื่อระบุและแบ่งกลุ่ม โดยอาศัยเกณฑ์ 4 ข้อ คือ รายได้, อัตราส่วนหนี้ต่อสินทรัพย์, ภาระการชำระหนี้ต่อรายได้ และอัตราส่วนหนี้ต่อรายได้ทั้งปี

-จากข้อมูลปี 2021 สามารถแบ่งกลุ่มครัวเรือนไทยออกมาได้ 6 กลุ่ม คือ

1) กลุ่มรายได้ปานกลางหนี้น้อยหรือไม่มีหนี้ (ค่ากลางรายได้ 2 หมื่นบาท/เดือน) มีสัดส่วน 36.6% ของครัวเรือนทั้งหมด

2) กลุ่มรายได้ปานกลางหนี้สูงมากเมื่อเทียบกับรายได้และสินทรัพย์ (ค่ากลางรายได้ 1.9 หมื่นบาท/เดือน) มีสัดส่วนเป็น 3.0% ของครัวเรือนทั้งหมด

3) กลุ่มนี้คล้ายกับกลุ่มที่ 2 คือมีหนี้สูงเมื่อเทียบกับรายได้และสินทรัพย์ แต่รายได้ครัวเรือนสูงกว่าค่าเฉลี่ย (ค่ากลางรายได้ 3.4 หมื่นบาท/เดือน) กลุ่มนี้มีสัดส่วน 6.4% ของครัวเรือนทั้งหมด

4) กลุ่มรายได้สูง (ค่ากลางรายได้ 5.1 หมื่นบาท/เดือน) มีหนี้อยู่ในระดับต่ำ กลุ่มนี้มีสัดส่วน 17.8% ของครัวเรือนทั้งหมด

5) กลุ่มรายได้น้อย (ค่ากลางรายได้ 8.9 พันบาท/เดือน) คิดเป็น 25.5% ของครัวเรือนทั้งหมด กลุ่มนี้มีหนี้น้อยหรือไม่มีหนี้ แต่ก็สะท้อนว่าเป็นกลุ่มมีข้อจำกัดในการเข้าถึงสินเชื่อ

6) กลุ่มรายได้ปานกลาง (ค่ากลางรายได้ 2.0 หมื่นบาท/เดือน) มีหนี้อยู่ในระดับค่าเฉลี่ย โดยกลุ่มนี้คิดเป็น 10.7% ของครัวเรือนทั้งหมด

-EIC วิเคราะห์ว่ากลุ่มที่เป็นครัวเรือนกลุ่มเปราะบาง คือกลุ่มที่ 2 กับ 3 เพราะแม้รายได้จะเกินค่าเฉลี่ย แต่มีปัญหาหนี้สินรุนแรงกว่ากลุ่มอื่นชัดเจน คือถ้าเทียบหนี้กับรายได้ของสองกลุ่มนี้จะมีค่าสูงถึง 4.7 และ 2.2 เท่าต่อรายได้ทั้งปีตามลำดับ ขณะที่ค่าเฉลี่ยสัดส่วนหนี้ต่อรายได้ของครัวเรือนไทยที่มีหนี้ปี 2021 อยู่ที่ 1.1 เท่า

-ส่วนกลุ่มที่ 5 แม้จะไม่เข้าข่ายกลุ่มเปราะบางเพราะไม่มีหนี้ แต่กลุ่มนี้ก็เป็นกลุ่มที่อ่อนแอทางเศรษฐกิจ เพราะนอกจากจะรายได้น้อย ก็ยังพึ่งพารายได้จากคนอื่นค่อนข้างสูง แถมยังเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ยาก

-EIC บอกว่ากลุ่มที่ 5 เป็นครัวเรือนที่รายได้หลักไม่ได้มาจากการทำงาน พึ่งพารายได้จากเงินชดเชยออกจากงาน เงินช่วยเหลือจากรัฐ หรือเงินที่ได้จากผู้อื่น ส่วนหนึ่งมาจากคนจำนวนมากในกลุ่มนี้เป็นคนสูงอายุ ที่อาจจะมีข้อจำกัดในการหารายได้ด้วยตัวเอง

-ทีนี้ถ้ามาดูแค่เฉพาะกลุ่มเปราะบาง ครัวเรือนกลุ่มเปราะบางส่วนใหญ่ 61.4% เป็นกลุ่มรายได้ปานกลางถึงสูง คือมีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 3-6 หมื่นบาท/เดือน ที่มาของรายได้มาจากการทำธุรกิจและการทำเกษตร ซึ่งมักมีความไม่แน่นอนของรายได้สูงกว่าอาชีพอื่น เช่น มนุษย์เงินเดือน ข้าราชการ

-กลุ่มเปราะบางส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.2 คน ส่วนกลุ่มไม่เปราะบางเฉลี่ยมีสมาชิก 2.7 คน

-การเป็นกลุ่มเปราะบางมีโอกาสอย่างน้อย 30% ที่จะมีปัญหารายได้ไม่พอจ่ายมากกว่ากลุ่มอื่น โดยสาเหตุหลักอาจมาจากกลุ่มนี้มีหนี้สูงเมื่อเทียบกับรายได้ การจ่ายหนี้ก็สูงตามไปด้วย

-แต่ถ้ากลุ่มนี้มีสภาพคล่องทางการเงินมากขึ้นเมื่อเทียบกับรายจ่าย โอกาสที่จะเกิดปัญหาเงินไม่พอใช้ก็จะลดลง กล่าวคือ ถ้ารายได้เพิ่มขึ้น 1% โอกาสเกิดปัญหาเงินไม่พอใช้จะลดลงราวๆ 0.16-0.18%

-ครัวเรือนเปราะบางของไทยยังมีจำนวนและสัดส่วนเพิ่มขึ้นด้วย โดยหลังโควิดในปี 2021 จำนวนครัวเรือเปราะบางอยู่ที่ 2.1 ล้านครัวเรือน จากปี 2019 อยู่ที่ 1.7 ล้านครัวเรือน หรือเพิ่มขึ้น 24.2%

-และไม่ใช่แค่จำนวนที่เพิ่มขึ้น กลุ่มเปราะบางยังมีแนวโน้มมีรายได้ลดลง สวนทางกับกลุ่มไม่เปราะบางที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยถ้าเทียบรายได้ปี 2013 กับปี 2021 กลุ่มเปราะบางรายได้ลดลงที่ -7.9% ส่วนกลุ่มไม่เปราะบางเพิ่มขึ้น 9.5%

-EIC ยังประเมินอีกว่าปัญหาความเปราะบางนี้จะใช้เวลาแก้ไขนาน คือเฉลี่ยอาจใช้เวลาถึง 13 ปีถึงจะหลุดพ้น เพราะหนี้สูงเมื่อเทียบกับรานได้หรือสินทรัพย์ ทำให้การปลดหนี้ในระยะสั้นเพื่อหลุดพ้นจากภาวะเปราะบางนั้นทำได้ยาก ต้องมีรายได้ต่อเนื่องควบคู่ไปกับการมีวินัยชำระหนี้อย่างสม่ำเสมอ

-แต่สิ่งที่น่ากังวลก็คือไม่ใช่ครัวเรือนเปราะบางทุกครัวเรือนจะแก้ไขปัญหานี้ได้ง่ายๆ เพราะยังมีข้อจำกัดอีกหลายด้านคือ ไม่มีเงินเหลือเก็บ การเป็นครัวเรือนสูงอายุ และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้ยาก

-ซ้ำร้ายคือ ปัญหาค่าครองชีพและดอกเบี้ยขาขึ้นในปัจจุบัน ก็ยิ่งมีส่วนทำให้การแก้ไขปัญหาความเปราะบางยากขึ้นและกินเวลานานขึ้นไปอีก

-และถ้าไม่ทำอะไรเลย ปัญหาเหล่านี้ก็อาจทำให้สัดส่วนหนี้เสีย (NPL) ในไทยเพิ่มขึ้น EIC แนะนำว่า ดังนั้นการขึ้นดอกเบี้ยควรทำอย่างค่อยเป็นค่อนไป และควรมีความช่วยเหลือพิเศษให้กลุ่มเปราะบาง เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ การส่งเสริมการมีงานทำและสัวสดิการสำหรับกลุ่มสูงอายุที่ยังต้องการรายได้

รวมถึงการใช้ข้อมูลทางเลือกควบคู่เทคโนโลยีในการอนุมัติสินเชื่อ แทนที่การใช้ข้อมูลแบบเดิมๆ เช่น สลิปเงินเดือน สเตทเมนต์ธนาคาร เป็นต้น

ที่มา: https://www.scbeic.com/th/detail/product/household-debt-041122

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า