SHARE

คัดลอกแล้ว

รีวิว Triangle of Sadness มันยอร์ชมาก เงิน อ้วก อำนาจ และความเท่าเทียมอันแสนเศร้า

Triangle of Sadness มันยอร์ชมาก เป็นภาพยนตร์เจ้าของรางวัลปาล์มทอง ผลงานของ Ruben Östlund ที่เสียดสีสังคมได้อย่างสนุกจัดจ้านสะใจ ไล่แซะเริ่มไปตั้งแต่ความเท่าเทียมทางเพศ ไปจนถึงชนชั้น สมกับชื่อเรื่องที่บ่งบอกว่าสื่อถึงสามเหลี่ยมปิรามิดแห่งชนชั้นที่น่าเศร้า ผ่านมุมมองของ ญาญ่า (รับบทโดย Charlbi Dean Kriek) และ คาร์ล (รับบทโดย Harris Dickinson) ในช่วงแรกของเรื่องก่อนจะถูกสมทบด้วยนักแสดงฝีมือเยี่ยมอีกมากมาย ที่มาร่วมกันขยายประเด็นของชนชั้นและความเท่าเทียมที่เรื่องต้องการจะนำเสนอให้ใหญ่ขึ้นตามเวลาของเรื่องท่ีเดินไป

[เนื้อหาในบทความต่อจากนี้มีการเปิดเผยเนื้อเรื่องบางส่วน]

Triangle of Sadness ถูกแบ่งเรื่องเป็นสามองก์ ที่ปูเรื่องด้วยการนำเสนอความย้อนแย้งของนิยามของคำว่า ‘เท่าเทียม’ ในสมัยนี้ ในองก์แรกผ่านทางญาญ่า นางแบบสาวผู้ประสบความสำเร็จ และคาร์ล นายแบบหนุ่มผมทองตาฟ้าผู้กำลังอยู่ในช่วงขาลง กลิ่นไหม้ของการเสียดสีเริ่มฟุ้งมาตั้งแต่ตอนแรกในฉากที่คาร์ลไปแคสต์งาน และชัดจนเตะจมูกในฉากการเดินแบบของญาญ่าที่ คำว่าเท่าเทียม นั้นถูกนำไปฉายขึ้นจอ ประหนึ่งคำนี้เป็นแค่เทรนแฟชั่นที่ผ่านมาและอาจจะผ่านไปในซีซั่นหน้า ก่อนจะกระจายไปทั่วใน ฉากมี้ออาหารของทั้งสองที่นำมาสู่การทุ่มเถียงกันเรื่องเงิน สิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและธำรงชีวิตคู่ แต่คนไม่พูดกันเพราะพอพูดเรื่องเงินมันทำให้คนดู ‘ไม่เซ็กซี่’ และการที่ญาญ่าถึงจะบอกว่าเธอใจกว้างและรักความเท่าเทียม แต่ก็ยังอยากให้คาร์ลจ่ายค่าอาหารและการกินอยู่ของเธออยู่ดีก็ สะท้อนความย้อนแย้งของผู้หญิงบางกลุ่มที่เรียกร้องความเท่าเทียมแต่เมื่อมาถึงเรื่องเงินกลับต้องการให้ผู้ชายเลี้ยง ส่วนอาการรักษาหน้าและโกรธเพราะอีโก้ความเป็นชายมันถูกท้าทายในช่วงหลังขององก์แรกนั้นก็สื่อถึง ความต้องการความเท่าเทียมในเรื่องเงิน แต่ก็ยังคงกระหายสภาวะผู้นำและคนหาเลี้ยงอยู่ในส่วนลึก และการคืนดีของทั้งสองคนเพื่อรักษาภาพลักษณ์ในโซเชียลมีเดียและผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายก็เป็นการเสียดสีค่านิยมด้านความรักของคนในยุคนี้ได้อย่างแสบสันต์

องก์ที่สองนั้นพูดถึงความเท่าเทียมและสถานการณ์การเมืองในภาพที่ใหญ่ขึ้นระดับโลกที่ถูดย่อส่วนเหลือเพียงแค่เรือยอร์ชที่แล่นอยู่กลางทะเล มีชนชั้นแรงงานที่ไม่ค่อยมีบทเท่าไหร่ถูกแทนตัวด้วยแม่บ้านและพนักงานห้องเครื่องคอยรับคำสั่งจากชนชั้นกลาง พนักงานออฟฟิศที่ถูกแทนที่ด้วยเหล่าพนักงานหน้าตาดีผมทองตาฟ้า ในเรือที่ถูกควบคุมด้วยเหล่าเศรษฐีจากชาติต่าง ๆ และชาวอเมริกันที่ทำหน้าที่กัปตันควบคุมทุกชีวิตที่อยู่บนเรือ ล็อกห้องนั่งเถียงไฟแล่บอยู่กับเศรษฐีชาวรัสเซีย ทำให้ภาพดูไม่ต่างกับโลกเราทุกวันนี้ที่อยู่ในสงครามที่ถูกชักเชิดโดยทั้งสองชาตินี้สักเท่าไหร่ นอกจากบริบทเรื่องการเมืองแล้วการเสียดสีเรื่องชนชั้นที่เริ่มมาจากองก์หนึ่งก็ยังคงอยู่ และเห็นได้ชัดในฉากที่น่าจะติดอันดับฉากน่าประทับใจของเรื่อง เมื่อเมียเศรษฐีอยากให้รางวัลพนักงานบทเรือ ด้วยการทำให้พวกเขาได้เล่นน้ำ และ ‘ มีความสุขกับชีวิต’ เหมือนกับที่เธอกำลังมี เธอจึงใช้อำนาจของความเป็นลูกค้าในการ ‘บังคับ’ ให้พนักงานทั้งเรือต้องหยุดงานทุกอย่างแล้วเปลี่ยนชุดมาเล่นน้ำ ในขณะที่เธอยืนชอบอกชอบใจ และเป็นสุขกับการได้เป็น ‘ผู้ให้’ อยู่บนดาดฟ้าเรือ

ถ้าองก์หนึ่งและสองเป็นการวิพากย์วิจารณ์​สังคมที่เราอยู่ องก์สุดท้ายก็นับเป็นการเอาปิรามิดแห่งชนชั้นมากลับหัวกลับหางปักลงดินให้คนดูได้ชมในตอนท้าย เมื่อเรืออับปางลงและคนที่เหลือรอดต้องมาใช้ชีวิตบท ‘เกาะร้าง’ ซึ่งเปรียบเสมือนโลกเมื่อถอดลำดับชั้นในสังคมทิ้งไปและรีเช็ตทุกอย่างใหม่ซึ่งทำให้ผู้ชมเห็นว่าทุนนิยม เงินตรา ของนอกกายนั้นไร้สาระเพียงใด และทำให้เห็นว่าเมื่ออำนาจตกอยู่ในมือของคนที่เคยเป็นเบี้ยล่างนั้นจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง ฉากในองก์ที่สามซึ่งพาให้ผู้ชมขำขื่นได้มากที่สุดเห็นจะเป็นฉากที่อบิเกล (รับบทโดย Dolly De Leon) และญาญ่าค้นพบว่าเกาะที่พวกเขาอยู่นั้น เป็นเพียงรีสอร์ตที่จำลองธรรมชาติขึ้นมาเฉย ๆ และอบิเกล ผู้กลัวการสูญเสียอำนาจที่เธอเพิ่งได้เคยสัมผัสเป็นครั้งแรกนั้น พยายามยื้อเวลาทุกวินาทีเพื่อที่จะไม่กลับสู่โลกแห่งความเป็นจริง เพราะเพียงแค่เธอก้าวเท้าเข้าไปในลิฟท์ ทุกอย่างจะกลับมาเหมือนเดิมอย่างที่เคยเป็นมา 

แต่สิ่งที่ตลกร้ายยิ่งกว่าภาพยนตร์ คือเมื่อผู้ชม นักวิจารณ์ และแม้แต่ตัวผู้เขียนเอง ที่หลังจากหัวเราะไปกับเหตุการณ์ในเรื่อง เห็นใจอบิเกล (รับบทโดย Dolly De Leon) แม่บ้านที่ผลิกมาเป็นชนชั้นสูงสุดของสังคม และนึกด่าตัวละครที่เหลือในใจแล้ว ก็เดินออกจากโรงภาพยนตร์ที่หรูหรานั่งสบายไม่แพ้เรือในเรื่อง กลับมาสู่สังคมที่มีชนชั้น social polarisation คนรวยก็รวยจัด คนทำงานก็ลืมตาอ้าปากไม่ได้ โดยที่ส่วนใหญ่ก็คงได้แต่ปล่อยตัวไปกับโลกที่หมุนไปด้วยความเท่าเทียมจอมปลอมนี้อย่างไม่อาจต้านทานได้ 

ชม Triangle of Sadness ได้แล้ววันนี้ในโรงภาพยนตร์

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า