SHARE

คัดลอกแล้ว

เป็นเวลา 5 เดือนแล้ว ที่ ‘ชัชชาติ’ ใช้เวลาวันหยุด ลงพื้นที่สัญจรไปรับฟังปัญหา คุยสารทุกข์สุกดิบกับลูกจ้าง กทม.

นายขัชชาติ​ สิทธิพันธุ์​ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร​ สัญจรเขตบางรัก​ ตามนโยบายผู้ว่าฯ สัญจร​ 50 เขต​ ซึ่่งเขตบางรักเป็นเขตที่​ 14 ของการสัญจร​ โดยในวันนี้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รับประทานอาหารกลางวันร่วมกับลูกจ้างประจำของสำนักงานเขต จำนวน 5 คน ประกอบด้วย

1. นางสาวราตรี ขำงิ้ว ตำแหน่ง พนักงานทั่วไป (กวาด) บ2 ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ อายุ 57 ปี​

2. นางสาวประเดิม วิชา ตำแหน่ง พนักงานทั่วไป (กวาด) บ1 ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ อายุ 39 ปี​

3. นายรณชัย บุญธรรมโชติ ตำแหน่ง พนักงานทั่วไป (เก็บขนมูลฝอย) ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ​ อายุ 33 ปี​

4. นายสุทธิพันธ์ ยอมาดาร์ พนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดเบา (เก็บขนมูลฝอย) อายุ 47 ปี ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ

5. นายสุชาติ บุญโสพิศ ตำแหน่ง พนักงานทั่วไป (ระบายน้ำ) อายุ 45 ปี ฝ่ายโยธา​

ซึ่งทั้ง 5 คนได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้แทนของลูกจ้างให้ร่วมโต๊ะอาหารกลางวันกับ ผู้ว่าฯ กทม.

ระหว่างมื้ออาหารผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้พูดคุยกับพนักงานอย่างเป็นกันเอง มีการสอบถามทั้งในเรื่องชีวิตส่วนตัว​ เรื่องการทำงานและเรื่องทั่วไป อาทิ ที่พักอาศัย​ ชีวิตครอบครัว​ปัญหาจากการทำงาน​ นอกจากนี้ได้พูดคุยถึงความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่และพื้นที่ที่ปฏิบัติงาน พร้อมทั้งให้กำลังใจในการทำงานกับทุกคน โดยเมนูอาหารวันนี้ ได้แก่ ข้าวหมกไก่ เกาเหลาเนื้อ​ และโรตีมะตะบะ​ จากชุมชนซอยวัดม่วงแคมัสยิดฮารุณที่สะท้อนวัฒนธรรมชาวชุมชน​ ข้าวหน้าเป็ด​ จากร้านอาหารเก่าแก่​ตำนานโอชาเกิน ​100 ปี ผลไม้​ มะม่วง​ และไอศครีม

ทั้งนี้ การรับประทานอาหารร่วมกับลูกจ้างเป็นหนึ่งในนโยบายของผู้ว่าฯ ชัชชาติ เพื่อพบปะพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ รับฟังปัญหาและสอบถามสารทุกข์สุกดิบ อีกทั้งเป็นการให้ความสำคัญกับคนงานของเขตที่เปรียบเสมือนโซ่ข้อสุดท้ายที่เชื่อมต่อกทม.กับประชาชน อยู่ใกล้ชิดพื้นที่และปัญหามากที่สุด โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 ก.ค. 65 จากกิจกรรมผู้ว่าฯ กทม. สัญจร ณ สำนักงานเขตจตุจักร

 

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวว่า เขตบางรักเป็นเขตที่ไม่ใหญ่มาก มีพื้นที่ 5.536 ตร.กม. มีประชากรประมาณ 40,000 คน แต่เป็นเขตเศรษฐกิจ สำหรับปัญหาหลักๆ ที่เร่งด่วน คือ เรื่องรายได้เป็นเรื่องที่น่าสนใจ จากการที่เปลี่ยนการเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน ที่เก็บตามรายได้ตามอัตราประมาณ 12.5 % ของรายได้ ก่อนที่จะมีสถานการณ์โควิด เราเก็บภาษีได้ประมาณ 950 ล้านบาท พอเปลี่ยนไปเป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งปีนี้เก็บครบ 100 %แล้ว ลดจาก 950 ล้านบาท เหลือ 730 ล้านบาท เพราะมีการเปลี่ยนรูปแบบการเก็บ จากรายได้มาเป็นราคาประเมินของที่ดินกับสิ่งปลูกสร้าง ทำให้รายได้ของเขตลดลง ถามว่าทำไมต้องดูที่เขตบางรัก เพราะมีการประเมินค่อนข้างละเอียดและเก็บครบเพราะพื้นที่ไม่ใหญ่ ต้องเร่งประสิทธิภาพในการเก็บ อาจจะต้องหาตัวอื่นเข้ามาประกอบ เช่น ภาษีป้าย หรือมิติอื่น เพราะเป็นสิ่งสำคัญ เปลี่ยนรูปแบบการเก็บเป็นเรื่องนโยบายของรัฐบาล ซึ่งคงต้องเร่งรัดและดูเรื่องรายได้เพิ่มเติม

เรื่องที่ 2 คือ เรื่องหาบเร่แผงลอย เขตบางรักเป็นเขตที่มีคนทำงานจำนวนมาก กลางวันจะมีพนักงานที่ต้องหาอาหารกลางวันทาน จะเห็นว่าตามถนนหนทางบางจุดจะมีปัญหาเรื่องหาบเร่แผงลอย ได้มีการผลักดันโดยทางเท้าถนนสีลมจะมีการปรับปรุงใหม่ ซึ่งได้ให้นโยบาย ผอ.เขตว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงจัง เพราะว่าทางเท้าที่ทำใหม่จะเริ่มมีหาบเร่แผงลอยกลับเข้ามา นโยบายคือห้ามเพิ่มจำนวนหาบเร่ ห้ามกีดขวาง ต้องมีทางให้คนเดินได้  โดย กทม. เริ่มหาพื้นที่ทดแทนให้ เช่น อยู่เส้นทางหลักบนถนนสีลม หรืออาจจะดูซอยที่มีที่ให้ผู้ค้าขยับเข้าไปได้ เช่น ศาลาแดงซอย 2 หรือพื้นที่เอกชนบางจุด ที่สามารถนำหาบเร่แผงลอยเข้าไปอยู่พื้นที่ที่ไม่ใช่พื้นที่สาธารณะ รวมถึงอีกมิติหนึ่งคือการทำศูนย์อาหาร (hawker center) ที่สวนลุมพินี ประตู 5 ซึ่งเป็นร้านหาบเร่ที่มารวมกัน ถ้าเป็นไปได้ก็นำผู้ค้าบางส่วนย้ายเข้าไปในจุดนั้น ทางออกสุดท้ายคือคุยกับผู้ประกอบการในถนนสีลมให้แจ้งมาหากขาดแคลนแรงงาน เช่น ขาดแม่บ้าน รปภ. เพราะในช่วงโควิดบางคนกลับไปบ้านแล้วไม่ได้กลับมา

“ถ้าเราสามารถเปลี่ยนคนที่ทำหาบเร่แผงลอย โดยความต้องการที่ตรงกันได้ (matching) ให้เขาหลุดจากการเป็นหาบเร่ริมถนน มีงานที่มีความมั่นคงขึ้น การแก้ปัญหาหาบเร่แผงลอย คงไม่ใช่มิติที่จะไล่อย่างเดียว ต้องมองผลกระทบในแง่เชิงสังคมด้วย แต่เน้นว่าห้ามมีจำนวนที่เพิ่มขึ้น เพราะว่าไม่ใช่สวัสดิการสังคม แต่เป็นเหมือนสิ่งที่ทำต่อเนื่องมา ปัญหาหนึ่งคือ เขาเบียดเบียนพื้นที่สาธารณะอยู่ อย่างที่บอกต้องมีหลายมาตราการ จุดอื่นของสีลมที่มีปัญหาก็จะพยายามไล่ให้ครบ” ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าว

ในส่วนของทางเดินเท้าให้เขตกำหนดเส้นทาง เพราะมีนโยบายเรื่องเมืองเดินได้ ซึ่งเขตมีงบประมาณที่เราจัดสรรให้ได้ในการซ่อมถนนทางเท้า ให้จัดลำดับทางเท้าที่ต้องปรับปรุงคุณภาพเร่งด่วน และใช้งบของเขตทำให้ได้ก่อน ถ้าไม่พอให้ขอมาที่ส่วนกลาง ซึ่งเมืองเดินได้เป็นเรื่องสำคัญของเส้นเลือดฝอยลงสู่ชุมชน ในพื้นที่สีลมทำได้ค่อนข้างดีแล้ว ส่วนจุดอื่นที่มีคนเดินเยอะให้เขตเริ่มสำรวจและทำแผนปรับปรุงเลย

ภาพจาก : ประชาสัมพันธ์ กทม.

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า