SHARE

คัดลอกแล้ว

เราได้ยินคำว่า Fail Fast มากันอย่างหนาหูในช่วง 2-3 ปีนี้ใช่ไหมครับ ทั้งจากแรงกระแสความฮิตของการทำงานแบบ Agile และ World of speed

Fail Fast นับเป็น Mindset และ Buzz word ที่สวยหรู ดูมีความอารี เข้าอกเข้าใจ เปิดโอกาสสำหรับความล้มเหลว โดยคอนเซปต์ ผม (โคตร) ชอบเลยครับ เพราะมันคือวัฒนธรรมของการทำงานใหม่ที่ใจกว้าง ยอมรับความเป็นจริงของโลกที่ไม่สมบูรณ์แบบ และความเป็นมนุษย์ที่ย่อมทำพลาดได้บ้าง

ทว่า Fancy Word นี้ก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่…และดับไปอย่างรวดเร็วสำหรับหลายๆ องค์กร เหลือเป็นเพียงคำขวัญที่แปะเอาไว้ตามข้างฝาออฟฟิศ หรือตาม Internal communication เท่านั้น เพราะในความเป็นจริง Fail Fast ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน ทว่า กลายเป็น Hell Fast เสียมากกว่า

คือ ถ้าทำพลาด ก็ลงนรกไปเลยสิครับ

จริงๆ แล้ว ด้วยจิตวิญญาณของคำว่า Fail Fast หมายถึงการที่เราได้ลองผิดลองถูกในงาน และตั้งข้อสังเกต เฝ้ามองอย่างใกล้ชิด เพื่อดูแววว่า ถ้าสิ่งที่กำลังทำอยู่มีแววจะไม่เวิร์กก็รีบหยุดเสียดีกว่า ก่อนที่จะบานปลายไปสู่ปัญหาที่ใหญ่กว่า และลุกลามเสียหายทั้งเงิน กำลังคน และธุรกิจในภาพรวม

ทว่า…ทำไมมันถึงอยู่ได้แค่เพียงคอนเซ็ปต์ แต่ชีวิตจริง คนทำงานโดนด่าตั้งแต่ความเสียหายระดับแค่กลีบดอกไม้ร่วง

จริงๆ แล้ว ทั้งหมดมันกลับมาที่ Mindset ของคน ผู้บริหาร และคัลเจอร์ขององค์กรครับ ว่าสร้างมุมมองและแนวทางการทำงานแบบ Fail Fast นี้ไว้อย่างไร

และความสวยหรูทางคำพูด มันไม่เกิดได้จริง เพราะอะไร

เหตุผลแรกเลยคือ คนทำงานเอง ไม่เข้าใจคำว่า Fail Fast คือกลายเป็นเข้าใจผิดว่า ทำอะไรพลาดก็ได้ เมื่อไรก็ได้ และองค์กร ‘ต้องยอมรับ’ มันได้ ซึ่งนี่คือความเข้าใจที่ผิดระดับมงกุฎเพชรครับ

เพราะจริงๆ แล้วมันคือการที่เรายังคงต้องใส่ใจรายละเอียดของงาน และแผนของการทำงานอย่างละเอียดตามปกติ และยังคงติดตามเพื่อให้เห็นโอกาสความผิดพลาด และปรับแผนหรือยกเลิก เพื่อลดระดับความเสียหาย ก่อนที่จะ Go so big

แต่หลายคนคิดว่าจะทำอะไรก็ได้ ล้มท่าไหนก็ได้ องค์กรต้องรับให้ได้ เพราะเรากำลัง Fail Fast

ผิดนะครับ เพราะนั้นคือ Hell Fast ของจริง

อีกส่วนหนึ่งที่หลายองค์กรเจอ กับความเสำหรับคำว่า Fail Fast คือ ผู้บริหารไม่ได้เข้าใจ ไม่ได้ Buy in และไม่ได้สนเลยว่าความผิดพลาดมันเกิดขึ้นได้ในระดับที่เหมาะสมและถูกเวลา

เพราะอะไรน่ะหรือครับ… ส่วนใหญ่คนที่มีตำแหน่งใหญ่หรือหัวหน้างานจะกลัวเสียหน้าถ้าผิดพลาด กลัวโดนระดับสูงที่ใหญ่กว่าตำหนิว่าทำงานมีจุดบกพร่อง เลยยอมรับความจริงไม่ได้เลยที่จะเกิดจุดผิดพลาดแม้เพียงเล็กน้อย

ส่วนคนทำงานตาดำๆ ก็นั่งท่อง Fail Fast ไป แต่ในความเป็นจริง นั่งทำงานกันตัวเกร็งเพราะกลัวผิด เพราะรู้ว่าถ้าทำผิดจะโดนไล่เช็กบิล คาดคั้นหาคนผิด

อีกอย่างคือ ผู้บริหารบางคนก็เสพติดความเป็น Perfectionist ครับ คือ ทุกอย่างต้องเป๊ะ ทั้งเรื่องที่จำเป็นต้องเป๊ะ และเรื่องที่ไม่จำเป็น อาจจะเป็นเพราะยังติดกับโลกการทำงานแบบตรวจตัวอักษรทุกตัว ย่อหน้าในเอกสาร และการสะกดคำ

ไม่ผิดเลยนะครับ ถ้าจะเป๊ะแบบนั้น

แต่ต้องเปิดใจให้กว้างด้วยครับ ต้องลองมองจากโลกที่หมุนเร็วขึ้นกว่าโลกใบเดิมเป็น 10 เท่า การแข่งขันที่คู่แข่งเกิดใหม่รายวัน และบางทีเราก็ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าคู่แข่งคือใคร และเดินหน้าไปไกลขนาดไหนแล้ว ดังนั้น ความเข้มงวดแบบไม่มีความยืดหยุ่น จึงไม่น่าจะเวิร์กอีกต่อไปแล้ว

ดังนั้น ถ้าผมจะขออนุญาตแนะนำ ผมอยากชี้ประเด็นไปที่ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้เลยว่าจะ Fail Fast ได้สำเร็จหรือไม่ มันอยู่ที่แค่ 2-3 เรื่องนี้ครับ

ความเข้าใจ ในองค์กรกับคำว่า Fail Fast นั้นมีมากแค่ไหน ถ้าเข้าใจผิดอย่างที่ผมกล่าวมาแล้ว และความเข้าใจนี้มัน ‘ถึงใจ’ ของทุกระดับหรือไม่ เพราะเข้าใจ ถึงใจ อยู่ฝ่ายเดียวหรือระดับใดระดับเดียวก็คงไม่ได้ มันต้องไปด้วยกันทั้งองค์กรครับ

ถ้าองค์กรไหนรู้ตัวว่า Fail Fast นี้ไม่เหมาะกับองค์กรตนเอง ก็เลิกพูดไปก่อนดีกว่าครับ เพราะมันไม่มีประโยชน์ที่จะพูดเรื่องไม่จริง คนทำงานเขาก็จะเซ็งกันเปล่าๆ

การเปิดใจ คือการที่ต้องใจกว้างครับ อย่ามองปัญหาและการแก้ปัญหาเป็นสีขาวดำ จงเชื่อในสีเทาบ้าง และพูดคำว่า “ไม่เป็นไร เอาใหม่” ให้มากขึ้น บ่อยขึ้นกับเรื่องที่เราสามารถหยวนได้

ถ้าองค์กร ผู้บริหาร หรือหัวหน้างานตั้ง Tone เหล่านี้ได้ บรรยากาศในองค์กรจะเบาสบายขึ้น และเผลอๆจะได้เห็นไอเดียอะไรใหม่ๆ มากขึ้นจากความที่คนกล้าลองผิดลองถูก และไม่โดนความกลัวผิดครอบงำ

ความไว้ใจ หรือ Trust ในองค์กร มีมากขนาดไหน ถ้าเรารู้ตัวว่าองค์กรของเรามีลักษณะเป็นองค์กรหน้าบางหรือขี้ระแวง ก็อย่าเพิ่งไปคิดการใหญ่จะเอาเรื่อง Fail Fast มาพูดครับ อาจจะต้องเริ่มจากการปลูกฝังความรู้ความเข้าใจในสโคปเล็กๆ ก่อน แล้วค่อยๆ ขยายวงเพิ่มไปยังสโคปที่กว้างขึ้น

และแน่นอนครับ สิ่งเหล่านี้ใช้เวลาเป็นปี ยิ่งองค์กรใหญ่ยิ่งใช้เวลาครับ แต่จงเริ่มจากการปลูกเมล็ดพันธุ์แห่งความไว้วางใจ ให้คนรู้ว่าอย่างน้อยเขามีคนที่เชื่อใจเขา และกล้าให้เขาทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ ก็เท่านั้นเองครับ

ดังนั้น จะ Fail Fast หรือ Hell Fast คุณและทุกคนในองค์กรต้องช่วยกันเลือกและสร้างมันขึ้นมาครับ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า