SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ.เผยเตรียมการเพิ่ม “ค่าตอบแทน” ดูแลทุกวิชาชีพ เตรียมพิจารณาตัวเลขสัปดาห์นี้ พร้อมแจงค่าเสี่ยงภัยโควิด ใช้งบประมาณจาก 2 ก้อน งบเงินกู้จ่ายให้กลุ่มวิชาชีพ เจ้าพนักงาน และเจ้าหน้าที่ ส่วนงบประมาณปี 65 จ่าย สสจ. ตามสัดส่วนจำนวนเงิน และไม่มีนโยบายจ่าย หมอ-พยาบาลก่อน

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงการปรับเพิ่มค่าตอบแทนบุคลากรสาธารณสุข ว่า เรื่องนี้จะมีการหารือกับ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งหลักการคือหากอยู่ในงบประมาณที่ดำเนินการได้หรือให้ได้ก็จะดำเนินการ โดยต้องดูแลทุกวิชาชีพ ไม่แยกดูบางวิชาชีพหรือดูว่าใครทำงานหนักกว่ากัน เนื่องจากทุกวิชาชีพทำงานหนักกันทั้งหมด

ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การจ่ายค่าตอบแทนจะใช้เงินบำรุงของโรงพยาบาล สิ่งสำคัญจึงต้องดูเรื่องงบประมาณว่ามีเพียงพอในการจ่ายและไม่เกิดผลกระทบต่อโรงพยาบาลในระยะยาว ซึ่งแต่ละแห่งมีสภาพคล่องทางการเงินแตกต่างกัน จึงต้องพิจารณาเป็นรายโรงพยาบาล โดยตัวเลขที่เหมาะสมจะมีการพิจารณาผ่านคณะกรรมการค่าตอบแทนที่มี นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน ซึ่งจะมีการประชุมในสัปดาห์นี้ หากมีความชัดเจนแล้วจะออกประกาศต่อไป

ส่วนเรื่องค่าเสี่ยงภัยโควิด 19 นั้น มีทั้งงบเงินกู้และงบกลาง ซึ่งมีระเบียบการใช้แตกต่างกัน โดยงบเงินกู้ต้องขอรับการสนับสนุนผ่านสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และต้องแจกแจงข้อมูลอย่างละเอียดและเข้มงวด ซึ่งงบทั้ง 2 ส่วนไม่สามารถนำมาเกลี่ยกันได้ ยืนยันว่าไม่ได้เป็นการแยกให้วิชาชีพใดได้รับเงินก่อน ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะพยายามติดตามและจัดสรรให้ครบถ้วนต่อไป

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า บุคลากรที่กระทรวงสาธารณสุขขอรับการสนับสนุนค่าตอบแทนเสี่ยงภัยโควิด 19 ประกอบด้วย กลุ่มวิชาชีพ กลุ่มเจ้าพนักงานและเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคอื่นๆ และกลุ่มบุคลากรที่สนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยจะต้องเป็นผู้ที่เข้าหลักเกณฑ์การเบิกจ่าย มีการปฏิบัติงานที่ต้องสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย รวมถึงต้องมีคำสั่งมอบหมายหรือให้ไปปฏิบัติงานเป็นลายลักษณ์อักษร โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้รวบรวมข้อมูลการปฏิบัติงานของบุคลากรในจังหวัด พร้อมตรวจสอบและรับรองว่ามีการปฏิบัติงานถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ส่งให้กับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณต่อไป

นพ.ทวีศิลป์กล่าวต่อว่า สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้ขอรับการสนับสนุนค่าตอบแทนเสี่ยงภัยโควิด 19 เดือนพฤศจิกายน 2564 – มิถุนายน 2565 รวมทุกกลุ่ม ประมาณ 13,500 ล้านกว่าบาท โดยได้รับการสนับสนุนจากงบเงินกู้ 11,500 ล้านกว่าบาท ซึ่งตามพ.ร.ก.เงินกู้ฯ กำหนดให้จ่ายได้เฉพาะกลุ่มวิชาชีพ กลุ่มเจ้าพนักงานและเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคอื่นๆ ส่วนกลุ่มสนับสนุนการปฏิบัติงาน ประมาณ 2,000 ล้านบาท ครม. ให้ขอสนับสนุนจากแหล่งงบประมาณอื่น โดยได้ขอรับการสนับสนุนจากงบกลางปี 2565 และได้รับจัดสรรจากสำนักงบประมาณ 871 ล้านบาท และมีหนังสือแจ้งการจัดสรรไปจังหวัดต่างๆ ลดทอนลงตามสัดส่วน เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2565 โดยให้เร่งรัดเบิกจ่ายให้เสร็จสิ้นภายในเดือนพฤศจิกายน 2565 ส่วนงบประมาณส่วนที่ยังขาด ให้จังหวัดตรวจสอบข้อมูลและรายงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ภายในวันที่ 6 ธันวาคม 2565 เพื่อรวบรวม พิจารณา และประสานขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากแหล่งอื่นกับสำนักงบประมาณต่อไป

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงข้อมูลที่มีการเผยแพร่ทางโซเชียลมีเดียเรื่องการติดเชื้อโควิด-19 ซ้ำ เสี่ยงเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 2 เท่า และป่วยหนักมากกว่าเดิม 3 เท่า ว่า ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 แล้วสามารถติดเชื้อซ้ำได้ เนื่องจากภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติที่เกิดจากการติดเชื้อ หรือภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากวัคซีนป้องกันโควิด-19 สามารถลดลงได้เมื่อระยะเวลาผ่านไป

การป้องกันการติดเชื้อที่ดี คือ การยังคงปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกันส่วนบุคคล โดยเฉพาะการสวมหน้ากาก เมื่ออยู่ในพื้นที่สาธารณะ หรือมีผู้คนรวมตัวกันจำนวนมาก ล้างมือบ่อยๆ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีโอกาสติดเชื้อซ้ำแต่เมื่อร่างกายเคยมีภูมิคุ้มกันแล้วก็จะช่วยลดความรุนแรงของโรคลง เห็นได้จากการที่ประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไปแล้วกว่า 143 ล้านโดส สถานการณ์ความรุนแรงของโรคโควิด-19 ก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง จนสามารถปรับลดจากโรคติดต่ออันตรายมาเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังได้

นพ.โอภาส กล่าวว่า วัคซีนเข็มกระตุ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดอาการรุนแรงและการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ได้ ยิ่งช่วงนี้เข้าสู่ฤดูหนาว ประกอบกับประชาชนเริ่มผ่อนคลายการสวมหน้ากาก มีกิจกรรมรวมตัวจำนวนมากเนื่องจากเข้าใกล้เทศกาลช่วงปลายปี ทำให้ผู้คนมีโอกาสติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ผู้ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนเลยขอให้รีบมารับวัคซีนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุหรือกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง หรือหากรับวัคซีนเข็มล่าสุดนานเกิน 3 เดือนขึ้นไป ก็ขอให้มารับเข็มกระตุ้นได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้านฟรี

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า