Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เริ่มโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรแล้วเมื่อวานนี้ (24 พ.ย. 2565) สำหรับเงินประกันข้าว 65/66 และเงินเยียวยา ไร่ละ 1,000 บาท โดยเงินที่เกษตรกรจะได้รับมีทั้งหมด 33 งวด โดยการโอนเงินเมื่อวันที่ 24 พ.ย. ที่ผ่านมา เป็นเงินประกันราคาข้าวเงินงวดที่ 1-6 จะโอนให้กับเกษตรกรที่แจ้งวันเก็บเกี่ยวก่อนวันที่ 15 ต.ค. – 18 พ.ย. 2565 จากนั้นจะประกาศทุกๆ 7 วัน คือ

  • งวดที่ 1 เก็บเกี่ยวก่อน 15 ต.ค. 2565
  • งวดที่ 2 เก็บเกี่ยว 15 – 21 ต.ค. 2565
  • งวดที่ 3 เก็บเกี่ยว 22 – 28 ต.ค. 2565
  • งวดที่ 4 เก็บเกี่ยว 29 ต.ค. – 4 พ.ย. 2565
  • งวดที่ 5 เก็บเกี่ยว 5 – 11 พ.ย. 2565
  • งวดที่ 6 เก็บเกี่ยว 12 – 18 พ.ย. 2565

การจ่ายเงินส่วนต่างจากโครงการประกันรายได้ปีที่ 4 งวดที่ 1-6 ครอบคลุมเกษตรกรประมาณ 75% ของทั้งหมด โอนงวด 1-6 วันที่ 24-28 พ.ย. 2565 โดยงวดที่ 1 โอนให้เกษตรกร จำนวน 804,017 ครัวเรือน, งวดที่ 2 จำนวน 985,871 ครัวเรือน, งวดที่ 3 จำนวน 978,459 ครัวเรือน, งวดที่ 4 จำนวน 980,489 ครัวเรือน และงวดที่ 5 จำนวน 546,458 ครัวเรือน รวม 4,295,294 ครัวเรือน

สำหรับราคาประกันรายได้ข้าวเปลือกแต่ละชนิดข้าว ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15% ไม่เกินครัวเรือนละ 40 ไร่ เฉพาะข้าวเจ้า ครัวเรือนละไม่เกิน 50 ไร่ โดยชดเชยเป็นจำนวนตัน ในแต่ละชนิด ข้าวในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ตามสูตรในการคำนวณเงินชดเชยส่วนต่าง (ราคาประกัน – ราคาอ้างอิง) X ผลผลิต/ไร่ ดังนี้

  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันรายได้ 15,000 บาท/ตัน  ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย/ไร่ 359 กก.
  • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันรายได้ 14,000 บาท/ตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย/ไร่ 432 กก.
  • ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันรายได้ 10,000 บาท/ตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย/ไร่ 602 กก.
  • ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคาประกันรายได้ 11,000 บาท/ตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย/ไร่ 682 กก.
  • ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันรายได้ 12,000 บาท/ตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย/ไร่ 387 กก.

สำหรับเงินเกษตรกร ไร่ละ 1,000 บาท มีกำหนดโอนเงิน ดังนี้

  • 24 พ.ย. 2565 มีการโอนรวม 804,017 ครัวเรือน จำนวนเงิน 10,015.485 ล้านบาท
    ให้เกษตรกรพื้นที่ จ.นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ อุทัยธานี ตาก เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน และจังหวัดลำพูน
  • 25 พ.ย. 2565 โอนรวม 985,871 ครัวเรือน จำนวนเงิน 10,841.001 ล้านบาท
    ให้เกษตรกรพื้นที่ จ.ลำปาง น่าน แพร่ อุดรธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และ จังหวัดอุบลราชธานี
  • 26 พ.ย. 2565 โอนรวม 978,459 ครัวเรือน จำนวนเงิน 11,036.883 ล้านบาท
    ให้เกษตรกรพื้นที่ จ.ขอนแก่น สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ นครราชสีมา และจังหวัดยโสธร
  • 27 พ.ย. 2565 โอนรวม 980,489 ครัวเรือน จำนวนเงิน 11,369.183 ล้านบาท
    ให้เกษตรกรพื้นที่ จ.หนองบัวลำภู หนองคาย มุกดาหาร บึงกาฬ ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และจังหวัดชัยภูมิ
  • 28 พ.ย. 2565 โอนรวม 546,458 ครัวเรือน จำนวนเงิน 7,354.491 ล้านบาท
    ให้เกษตรกรพื้นที่ จ.อำนาจเจริญ ชัยนาท นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง สมุทรปราการ สระแก้ว กาญจนบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี กระบี่ ชุมพร พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา สตูล กทม. และจังหวัดเลย

ทั้ง 2 โครงการสามารถตรวจสอบผลการโอนเงินได้ทาง

1. เข้าสู่เว็บไซต์ chongkho.inbaac.com “เงินเยียวยาเกษตรกร”
– กรอกเลขประจำตัวประชาชน จากนั้นกดค้นหา
– รายละเอียดของบัญชี จำนวนเงิน และโครงการของเงินช่วยเหลือที่ได้รับจะปรากฏขึ้น สามารถตรวจสอบยอดเงินได้ด้วยตัวเอง

หากผู้ที่ไม่ใช่เกษตรกรตรวจสอบ ระบบจะขึ้นข้อมูลว่า ไม่พบข้อมูลการลงทะเบียน (โปรดติดต่อหน่วยงานที่รับขึ้นทะเบียนเกษตรกรตามชนิดพืชที่ได้รับสิทธิตามโครงการ)

2. แอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile สามารถเข้าไปตรวจสอบยอดเงินทางที่ช่องทางนี้

นอกจากเงินประกันราคาข้าวและเงินเยียวยาแล้ว ยังมีมาตรการคู่ขนาน สำหรับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร โดยคงหลักการเช่นเดียวกับปี 1 – ปี 3 ได้แก่ มาตรการชะลอขาย โดยให้เกษตรกรจัดเก็บไว้ในยุ้งฉางของตนเอง ซึ่งรัฐจะช่วยค่าฝากเก็บตันละ 1,500 บาท โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 2.5 ล้านตัน

มาตรการเสริมสภาพคล่องแก่สถาบันเกษตรกร สามารถกู้ยืมจาก ธ.ก.ส. และรัฐช่วยดอกเบี้ยร้อยละ 3 ระยะเวลา 1 ปี ตั้งเป้าไว้ที่ 1 ล้านตัน หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขตามที่กำหนด รวมทั้งได้อนุมัติมาตรการช่วยเหลือค่าบริหารจัดการไร่ละ 1,000 บาท ซึ่งจะโอนเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง

รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.baac.or.th/th/

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า