Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สวนดุสิตโพลสำรวจอาหารไทยเอกลักษณ์ไทยหลังจบประชุมเอเปค เผย 5 เมนูต้มยำกุ้งผัดไทยส้มตำแกงเขียวหวานมัสมั่นห่วงการรักษาสูตรต้นตำรับ ขอรัฐดันเป็น Soft power

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,044 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 1924 พฤศจิกายน 2565 หัวข้อ “อาหารไทย…เอกลักษณ์ไทย” เพื่อสะท้อนความคิดเห็นจากการที่อาหารไทยเป็นอาหารที่มีเสน่ห์ ครบรส สวยงาม เป็นหนึ่งในเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยที่ได้รับความนิยมทั้งใน และต่างประเทศ และจากการประชุม APEC 2022 ที่เพิ่งเสร็จสิ้นไป กระแสของอาหารไทยก็ยังคงได้รับการชื่นชมพูดถึงอย่างแพร่หลาย โดยหวังว่าอาหารไทยจะเป็น Soft Power ที่จะมาช่วยผลักดันเศรษฐกิจได้ สรุปผลได้ ดังนี้

1. ประชาชนคิดว่าเอกลักษณ์ของอาหารไทยคืออะไร

อันดับ 1 ความพิถีพิถัน ประณีตสวยงาม 83.96%

อันดับ 2 อาหารไทยมีประโยชน์ เป็นยา มีคุณค่าตามหลักโภชนาการ 81.17%

อันดับ 3 มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็น Soft Power มีต้นทุนทางวัฒนธรรม 75.98%

2. 5 อันดับ เมนูอาหารไทยที่เป็นเอกลักษณ์ไทย

อันดับ 1 ต้มยำกุ้ง 57.65%

อันดับ 2 ผัดไทย 33.17%

อันดับ 3 ส้มตำ 23.89%

อันดับ 4 แกงเขียวหวาน 22.11%

อันดับ 5 แกงมัสมั่น 13.23%

3. สิ่งที่เป็นห่วงหรือกังวลเกี่ยวกับอาหารไทย

อันดับ 1 การรักษาสูตรต้นตำรับ รสชาติดั้งเดิม 90.75%

อันดับ 2 การรักษาคุณภาพของอาหารไทย วัตถุดิบของไทย 74.95%

อันดับ 3 คนสนใจเรียนอาหารไทยลดลง ไม่มีผู้สืบทอด สานต่อ 68.02%

4. ประชาชนคิดว่าควรทำอย่างไรจึงจะรักษาเอกลักษณ์ของอาหารไทยไว้ได้

อันดับ 1 ภาครัฐส่งเสริมอย่างจริงจัง ผลักดันเป็น Soft power 88.85%

อันดับ 2 ปลูกฝังให้กับคนรุ่นหลังได้เห็นถึงคุณค่า ความสำคัญและสานต่อ 82.50%

อันดับ 3 ประชาสัมพันธ์ให้คนไทยช่วยกันรักษารากเหง้า เอกลักษณ์ของอาหารไทย 77.31%

5. ใคร/หน่วยงานใด ที่จะช่วยส่งเสริมอาหารไทยให้เป็นเอกลักษณ์ของไทยต่อไป

อันดับ 1 ประชาชนคนไทยทุกคน 70.00%

อันดับ 2 กระทรวงวัฒนธรรม 65.38%

อันดับ 3 คนเก่าแก่ ปราชญ์ชาวบ้าน 63.37%

6. ประชาชนคิดว่าการประชุม APEC 2022 จะช่วยส่งเสริม “อาหารไทย…เอกลักษณ์ไทย” ไปสู่สายตาชาวต่างชาติได้มากน้อยเพียงใด

ค่อนข้างมาก 51.44% มากที่สุด 29.79% ค่อนข้างน้อย 17.43% น้อยที่สุด 1.34%

น.ส.พรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยว่า คนไทยมองว่าเอกลักษณ์ของอาหารไทยคือ “ความพิถีพิถัน ความประณีต สวยงาม” ซึ่งเป็นการถ่ายทอดวัฒนธรรมไทย ได้เป็นอย่างดีผ่านเมนูอาหารไทยต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมนูที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกอย่าง “ต้มยำกุ้ง” “ผัดไทย” หรือแม้กระทั่ง “ส้มตำ” ก็เป็นที่นิยมมากขึ้น แต่ด้วยการไหลของวัฒนธรรมการกิน ทำให้รสชาติและสูตรมีการดัดแปลงจนทำให้เกิดความผิดเพี้ยน ดังนั้นการรักษาสูตรและรสชาติดั้งเดิมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ภาครัฐจึงควรส่งเสริม รักษา และส่งต่ออีกหนึ่ง Soft Power ไทยสู่สายตาชาวโลก

ด้าน ผศ.อัครพล ไวเชียงค้า อาจารย์ประจำหลักสูตรคหกรรมศาสตร์ โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยว่า จากการจัดสนทนากลุ่มเรื่องอาหารไทย…เอกลักษณ์ไทย พบว่า อาหารไทยเป็นอาหารที่มีเรื่องราวและความเก่าแก่มายาวนาน มีจุดเชื่อมโยงมาจาก “ข้าว” ซึ่งเป็นอาหารหลักในภูมิภาคนี้ อาหารไทยปัจจุบันผ่านการรับรู้และนำไปประกอบอาชีพ ทั้งในและต่างประเทศ การส่งเสริมเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับอาหารไทยมองว่าหลายภาคส่วนต้องทำงานร่วมกัน การส่งเสริมอาหารไทยจึงควรสร้างการดึงดูดและการมีส่วนร่วมให้กับผู้รับประทาน ผ่านการนำเสนอด้วยการเล่าเรื่องราว (Story Telling) ผ่านช่องทางต่าง ๆ โดยเฉพาะสื่อดิจิทัลเพื่อให้เกิดการรับรู้และสานต่ออาหารไทยในมุมมองอันหลากหลาย

ส่วน ผศ.กาญจนา เฟื่องศรี อาจารย์ประจำหลักสูตรคหกรรมศาสตร์ โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยว่า อาหารไทยเป็นอาหารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะในหลายมิติด้วยกัน อาทิ อาหารไทยที่มีเอกลักษณ์ตามภูมิศาสตร์ ภูมิปัญญา ฤดูกาล รสชาติ วัตถุดิบ ความประณีต ความพิถีพิถัน เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นจุดเชื่อมโยงผ่านการรับประทานอาหารแบบสำรับซึ่งก็เป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทยที่มีมาอย่างช้านาน นอกจากนี้การทราบเรื่องราวความเป็นมาและคุณสมบัติของอาหารผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เอกลักษณ์ของอาหารไทยสามารถคงอยู่และต่อยอดได้ในอนาคต ดังนั้น สถาบันการศึกษาจึงมีบทบาทสำคัญ และทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันเพื่อผลักดันอาหารไทย…เอกลักษณ์ไทยต่อไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า