SHARE

คัดลอกแล้ว

ปกติเวลาเราส่งพัสดุหรือจดหมาย สิ่งที่เราต้องทำคือเขียนหรือพิมพ์ข้อมูลชื่อ-ที่อยู่ของผู้รับและผู้ส่ง รหัสไปรษณีย์ แต่ในอนาคตอันใกล้ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ดูเหมือนว่าเราจะไม่ต้องกรอกข้อมูลแบบเดิมแล้วสำหรับการส่งของที่ไปรษณีย์ไทย

เพราะล่าสุด ‘ไปรษณีย์ไทย’ ได้เปิดตัวระบบใหม่ที่เรียกว่า Digital Post ID (ดิจิทัลโพสต์ไอดี) ที่จะบอกข้อมูลที่อยู่ได้แบบพิกัด GPS คนส่งไม่ต้องเขียนจ่าหน้า ใช้เป็นฉลาก QR Code แปะ ตั้งเป้าเปิดใช้งานจริงไตรมาส 2 ปี 2566

สำหรับ Digital Post ID เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘ระบบที่อยู่ดิจิทัล’ ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนการระบุข้อมูลตำแหน่งที่อยู่เดิมให้เป็นที่อยู่ดิจิทัล หรือพูดง่ายๆ คือเชื่อมโยงข้อมูลผู้รับและผู้ส่งเข้ากับพิกัดที่อยู่

โดยต่อยอดมาจากการใช้รหัสไปรษณีย์ 5 หลัก ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานการส่งไปรษณีย์ที่ไทยใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 มาแปลงเป็นพิกัดที่ตั้งบนพื้นผิวโลกในประเทศไทย มีหลักการทำงานเดียวกันกับระบบ GPS

ซึ่ง 1 คนสามารถมีได้หลายที่อยู่ และสามารถเปลี่ยนแปลงที่อยู่ชั่วคราวในระบบได้เมื่อจำเป็นต้องเดินทางไปต่างพื้นที่

ข้อดีของ Digital Post ID ขั้นแรกคือระบุที่อยู่ได้แม่นยำกว่าเดิม คือ จากเดิมเลขไปรษณีย์ 5 หลักจะบอกได้ถึงเขตพื้นที่เท่านั้น แต่ Digital Post ID ระบุได้ถึงพิกัดตำแหน่งด้วยการปักหมุด บอกพิกัดแนวดิ่งได้ ทำให้ระบุที่อยู่สำหรับคนที่อยู่ในอาคารสูงได้แม่นยำขึ้น

และที่น่าสนใจคือ เมื่อไม่ต้องจ่าหน้าเป็นตัวหนังสือ ก็จะทำให้ช่วยปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลได้ ป้องกันการโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล ทำให้การขนส่งมีประสิทธิภาพและแม่นยำมากขึ้น

สำหรับวิธีการใช้งาน คือ ผู้รับจะต้องสมัครและกรอกข้อมูลรายละเอียดการจัดส่ง คือ ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร พิกัด ของตัวเองลงในแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ของไปรษณีย์ไทย (กำลังพัฒนาระบบ) จากนั้นก็ส่ง QR Code ให้ผู้ส่งนำไปพิมพ์ที่ที่ทำการไปรษณีย์

จากนั้นไปรษณีย์จะพิมพ์ข้อมูลดิจิทัลโพสต์ไอดีออกมาเป็นฉลาก QR Code แล้วแปะบนกล่องพัสดุ หรือซองจดหมาย (โดยในอนาคตจะมีเครื่องพิมพ์ QR Code ในที่ทำการไปรษณีย์เพื่อรองรับระบบดิจิทัลโพสต์ไอดี)

โดยผู้รับและผู้ส่งมั่นใจได้ว่าข้อมูลส่วนบุคคลจะไม่หลุด เนื่องจากบนจ่าหน้ากล่อง/ ซอง จะไม่ปรากฏข้อมูลส่วนบุคคล และต้องใช้แอปพลิเคชันบนอุปกรณ์อ่าน QR Code เท่านั้น ถึงจะโชว์ข้อมูลผู้รับ-ผู้ส่ง

ไม่เพียงเท่านั้น QR Code จะเป็นแบบใช้งานได้ครั้งเดียวเท่านั้น อีกทั้งยังมีการจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ตามหลักการของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

นอกจากนี้ ยังจะทำให้มั่นใจในการสั่งซื้อสินค้า e-Commerce ได้มากขึ้น เนื่องจากสามารถเชื่อมโยงเส้นทางการขนส่งสินค้าทั้งหมดได้อย่างแม่นยำอีกด้วย 

ไปรษณีย์ไทยตั้งเป้าว่าจะเริ่มเปิดใช้งานในปี 2566 และภายในปี 2567 คาดว่าประชาชนจะมีรหัสดิจิทัลโพสต์ไอดีของตนเองที่จำได้ง่ายมาแทนการเขียนจ่าหน้าแบบเดิมพร้อมกันทั่วประเทศ

‘ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์’ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า ดิจิทัลโพสต์ไอดีไม่เพียงแค่สร้างประโยชน์ในภาคการขนส่ง หรือการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ แต่ยังสามารถเชื่อมโยงไปสู่ภาคส่วนและกิจกรรมอื่นๆ ได้อีกหลากหลาย เช่น

-การพัฒนาเส้นทางขนส่ง

-การรองรับระบบการขนส่งในอนาคตที่ไม่ใช้คนขับ (Unmanned Vehicle)

-การป้องกันการปลอมแปลงตัวตน

-การสนับสนุนสิ่งของช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ ในกรณีที่ทราบพื้นที่ประสบภัย

-การสนับสนุนนโยบายด้านสุขภาพ อาทิ ช่วยเหลือผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน จัดเก็บข้อมูลผู้สูงอายุในแต่ละพื้นที่ ส่งเสริมการแพทย์ทางไกลเพื่อลดความแออัดในการเข้ารับบริการที่โรงพยาบาล

-การหาพิกัดสถานที่ท่องเที่ยว

-วางแผนบริหารจัดการพื้นที่การเกษตร

-วางผังเมืองและบริหารทรัพยากรธรรมชาติ

-กำหนดเขตเลือกตั้ง ข้อมูลผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง

-การเงินและการธนาคาร

-การโฆษณาสินค้าให้กับกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจผลิตภัณฑ์หรือบริการเฉพาะทางเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ให้ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

-และส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งประเทศ  

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ด้าน ‘ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์’ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า ดิจิทัลโพสต์ไอดีไม่ได้เข้ามาแทนที่ระบบการจ่าหน้าแบบเดิมที่ใช้อยู่ จะให้บริการควบคู่กันไป โดยดิจิทัลโพสต์ไอดีเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้ประชาชนเท่านั้น

แต่ด้วยข้อดี ส่งของแล้วส่งได้ถูกต้อง ของไม่หาย เชื่อว่าพฤติกรรมประชาชนจะค่อยๆ เปลี่ยนมาใช้ดิจิทัลโพสต์ไอดีมากขึ้นในอนาคต

ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

“ไปรษณีย์ไทยมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้ให้บริการไปรษณีย์และโลจิสติกส์ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องด้วยระบบดิจิทัล และบิ๊กดาต้าเพื่อสนับสนุนทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน

“ทั้งนี้ในส่วนของดิจิทัลโพสต์ไอดี จะเริ่มขับเคลื่อนตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 และได้เชิญภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล ภาคเอกชน อาทิ กลุ่มสถาบันการเงิน กลุ่มสาธารณสุข ผู้ให้บริการขนส่ง มาให้ความเห็น และร่วมกันขับเคลื่อนให้สำเร็จ พร้อมเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงระบบ บูรณาการกับทุกหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อคนไทย” 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า