SHARE

คัดลอกแล้ว

ม็อบชาวนายังคงปักหลักชุมนุมอย่างต่อเนื่อง ความคืบหน้าล่าสุด เตรียมทำสัญญาธกส. 20 ธ.ค. นี้ หลังไร้วี่แววการแก้ไขจากหน่วยงานภาครัฐนาน 8 เดือน ชี้รัฐต้องแก้ไขโครงสร้างหนี้ และฟื้นฟูภาคเกษตรกรอย่างเร่งด่วน 

วันนี้ (9 ธันวาคม 65) บริเวณหน้ากระทรวงการคลังยังคงเต็มไปด้วยเกษตรกรจากต่างหวัดที่เดินทางมาร่วมปักหลักชุมนุมในม็อบชาวนา ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 หลังหน่วยงานภาครัฐเพิกเฉยต่อมติครม. ที่ให้ปรับโครงสร้างหนี้แก่เกษตรกรในบัญชีของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรกว่า 320,000 ราย

ล่าสุด ชรินทร์ ดวงดารา แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมม็อบชาวนากล่าวว่าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ขยับแล้ว โดยจะดำเนินการทำสัญญากับเกษตรกรให้สอดคล้องตามมติครม.

การทำสัญญาดังกล่าวเกิดขึ้นหลังกลุ่ม ‘ม็อบชาวนา’ มาปักหลักชุมนุมร่วมเดือน และนับเป็นเวลากว่า 8 เดือนหลังครม.มีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำนโยบายการปรับโครงสร้างหนี้ของเกษตรกรไปบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 65

ชรินทร์กล่าวว่า หลังจากที่มีมติครม.ออกมา ไม่มีหน่วยงานไหนนำนโยบายดังกล่าวไปบังคับใช้จริง กระทั่งผ่านมาแล้วกว่า 8 เดือน นับตั้งแต่มีมติจากครม. ตนจึงได้เดินทางมาปักหลักชุมนุมหน้ากระทรวงการคลังอีกครั้ง เพื่อทวงถามถึงความคืบหน้าของนโยบายการปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าว

การกลับมาปักหลักชุมนุมของม็อบเกษตรกรครั้งที่ 2 นี้ เพื่อเรียกร้องให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรทำสัญญากับประชาชนผู้เป็นเกษตรกรในนโยบายการปรับโครงสร้างหนี้ของเกษตรกรในบัญชีกองทุนฯ โดยมีรายละเอียดคือการตัดดอกเบี้ยค้างชำระของเกษตรกรออกทั้งหมด และชำระหนี้สินครึ่งหนึ่งให้แก่เกษตรกร พร้อมทั้งขยายเวลาในการผ่อนชำระหนี้ 15 ปี โดยไม่มีดอกเบี้ย ซึ่งจะเป็นการลดภาระหนี้สินให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในบัญชีของกองทุนฯ

กรณีการชดเชยรายได้แก่เกษตรที่ในปัจจุบันมีการชดเชยอยู่ที่ 1,000 บาทต่อไร่นั้น ชรินทร์กล่าวว่า ยังคงไม่เพียงพอสำหรับเกษตรกรชาวนา และมองว่าการชดเชยลักษณะนี้เปรียบเสมือน “การขอทาน” ที่การชดเชยไม่ได้คำนึงถึงเหตุและผลแต่กลับอยู่ที่ความต้องการของผู้ให้ โดยรัฐควรมีการประเมินสถานการณ์เพื่อการชดเชยรายได้เกษตรกรตามความเป็นจริงของข้อมูลที่มีอยู่เพื่อการชดเชยอย่างเหมาะสมและมีความเป็นธรรมกับเกษตรกรมากที่สุด

อย่างไรก็ตามชรินทร์ เสริมว่า หลังจากนี้จะต้องมีการเร่งฟื้นฟูอาชีพของเกษตรกรเพื่อให้มีรายได้เพียงพอต่อการผ่อนชำระหนี้สินภายใต้นโยบายของครม. แม้ว่าจะมีมติการปรับโครงสร้างหนี้เกษตรกรออกมาแล้ว แต่ยังมีอีกหลายปัญหาที่ต้องแก้ไขให้กับเกษตรกรไม่เพียงแต่เฉพาะเกษตรกรนาข้าวเท่านั้น ยังรวมถึงเกษตรกรพืชผลอื่น ๆ ทั้งหมด โดยรัฐจะต้องเข้ามาควบคุมราคาต้นทุนการผลิตพืชผลทางการเกษตรไม่ให้สูงจนเกินไป และคุ้มครองเกษตรกรหากได้รับผลกระทบจากวิกฤตกาลต่าง ๆ 

มติครม.เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 ระบุว่า เกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง [ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)]  จะได้รับการ ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้เดิมโดยพักชำระเงินต้นครึ่งหนึ่ง และดอกเบี้ยทั้งหมดไว้ก่อน และให้เกษตรกรฯ ทำสัญญาผ่อนชำระหนี้เงินต้นครึ่งหนึ่งตามระยะเวลาที่ตกลงกันแต่ไม่เกิน 15 ปี ส่วนการชดเชยเงินต้นร้อยละ 50 ในส่วนที่เกษตรกรฯ ไม่ต้องรับภาระ และรัฐจะรับภาระในการจัดสรรเมื่อเกษตรกรฯ ได้ชำระหนี้คืนงวดสุดท้ายเสร็จสิ้นแล้ว โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการ กลุ่มเป้าหมายเกษตรกร  50,621 ราย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า