SHARE

คัดลอกแล้ว

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล เร่งรัฐบาลชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ค้นหาเรือชาวโรฮิงญาในน่านน้ำและให้ความช่วยเหลือตามมนุษยธรรมอย่างเร่งด่วน หลังมีรายงานชาวโรฮิงญานับแสนยังคงเผชิญกับความเสี่ยงในการอพยพย้ายถิ่นฐาน และการถูกปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมในค่ายกักกันภายใต้การควบคุมของรัฐบาลทหารเมียนมาร์ จนตัวเลขการอพยพเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า

“กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกำหนดให้ต้องช่วยชีวิตหรือให้การช่วยเหลือบุคคลที่ประสบภัยอยู่กลางทะเล และนำตัวไปยังสถานที่ที่ปลอดภัย ซึ่งจะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อคุ้มครองชีวิตเหล่านี้ ความล่าช้าในการบรรเทาความทุกข์ยากของชาวโรฮิงญาหรือความพยายามใดๆ ที่จะส่งตัวกลับไปเผชิญกับการประหัตประหารในเมียนมา ถือเป็นการกระทำที่ขาดมโนธรรมสำนึก”  แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนลกล่าวผ่านเอกสารที่กระจายให้กับสื่อมวลชน

เรเชล ชัว โฮวาร์ด นักวิจัยประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล รายงานว่า หลังเกิดวิกฤตทะเลอันดามัน 7 ปีก่อนหน้านี้ที่เป็นเหตุให้มีผู้สูญเสียชีวิตจำนวนมาก ชาวโรฮิงญายังคงเสี่ยงภัยในการเดินทางเพื่อหลบหนีการประหัตประหารจากรัฐบาลทหารเมียนมาร์และหนีจากสภาพชีวิตที่เลวร้ายในค่ายผู้ลี้ภัยของบังกลาเทศ 

ข้อมูลในเดือนสิงหาคม 2560 พบว่ามีชาวโรฮิงญากว่า 740,000 คน ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย และเด็ก เดินทางหลบหนีจากทางตอนเหนือของรัฐยะไข่มุ่งหน้าสู่บังกลาเทศประเทศเพื่อนบ้าน หลังกองกำลังทหารเมียนมาเปิดฉากโจมตีหมู่บ้านของชาวโรฮิงญาหลายแห่ง รวมทั้งมีการสังหารชาวโรฮิงญาที่นอกเหนือจากกระบวนการทางกฎหมาย มีการทำลายทรัพย์สิน และการล่วงละเมิดทางเพศ 

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations High Commissioner for Refugees หรือ UNHCR) รายงานว่าจำนวนผู้อพยพที่เสี่ยงภัยทางเรือจากเมียนมาไปยังบังกลาเทศ ในปี 2565 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวโรฮิงญา มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า 

ด้านทางการของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะปรับปรุงการประสานงานในภารกิจค้นหาและช่วยชีวิตผู้ประสบภัยในเรือของผู้อพยพ หลังเกิดการสูญเสียจากความล่าช้าในการดำเนินการ โดยแมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนลระบุว่า รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องประสานงานและให้ความร่วมมืออย่างเร่งด่วนในภารกิจค้นหาและช่วยชีวิต โดยต้องค้นหาเรือที่ประสบภัย รวมถึงรับประกันว่าผู้ที่อยู่บนเรือจะได้รับอนุญาตให้ขึ้นฝั่งอย่างปลอดภัย และได้รับการช่วยเหลือทางการแพทย์ รวมทั้งน้ำและอาหารเหมาะสม 

ปัจจุบันชาวโรฮิงญากว่า 130,000 คนยังคงอาศัยอยู่ในค่ายกักกันในสภาพที่เลวร้ายภายในรัฐยะไข่ของเมียนมา โดยถูกจำกัดเสรีภาพในการเดินทาง การเข้าถึงการศึกษาและบริการด้านสุขภาพ  แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกการปฎิบัติต่อชาวโรญิงญาเช่นนี้ว่าเป็นการ “แบ่งแยกสีผิวและชาติพันธุ์”

โดยกองทัพเมียนมามักควบคุมตัวชาวโรฮิงญาตามอำเภอใจจากการที่พวกเขาเดินทางออกนอกรัฐยะไข่  ซึ่งผู้ที่ถูกควบคุมตัวจะถูกส่งตัวไปยังเรือนจำ และไม่มีสิทธิในการต่อสู้คดี หรือไม่สามารถติดต่อกับทนายความได้  ในขณะที่สภาพภายในเรือนจำของเมียนมาเต็มไปด้วยการปฏิบัติที่ไร้มนุษยธรรม และไม่สอดคล้องกับมาตรฐานกับสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า