SHARE

คัดลอกแล้ว

โซเซียลมีเดียฮือฮา จับภาพลำแสงประหลาด ปรากฎเหนือน่านฟ้าเมียนมา เผยเป็นขีปนาวุธอัคนี-5 (Agni-V) ของอินเดีย ซึ่งเชื่อว่ามีอานุภาพติดหัวรบนิวเคลียร์ยิงไปได้ไกลครอบคลุมเกือบทุกภูมิภาคของจีน ท่ามกลางความตึงเครียดรอบใหม่กับรัฐบาลปักกิ่ง 

เพจเฟซบุ๊ก LOOK Myanmar ซึ่งเป็นเพจที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประเทศเมียนมาเปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (15 ธ.ค.) มีลำแสงประหลาดบนท้องฟ้า มีการพบเห็นได้ในหลายพื้นที่ทั้งในรัฐสะกาย รัฐชิน รัฐฉาน และรัฐยะไข่ โดยลำแสงเหมือนวัตถุเคลื่อนที่แต่ไม่มีเสียง

ต่อมามีการเผยแพร่ข้อมูลจาก Myanmar Astronomy & Science Enthusiasts Society ซึ่งเป็นเว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์กเมื่อเวลา 20.30 น. ว่าแสงดังกล่าวเกิดจากขีปนาวุธพิสัยไกลอัคนี-5 ที่ยิงโดยอินเดีย

การเปิดเผยดังกล่าว สอดคล้องกับที่มีการรายงานในสื่ออินเดียหลายสำนักว่า อินเดียได้ทำการทดสอบขีปนาวุธอัคนี-5 ในช่วงคืนของวันพฤหัสบดี (15 ธ.ค.) จากฐานยิงบนเกาะอับดุลกาลัม นอกชายฝั่งรัฐโอริสสา ซี่งตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของประเทศ

รายงานข่าวอ้างการเปิดเผยจากเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมอินเดียว่า การทดสอบขีปนาวุธอัคนี-5 ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม โดยขีปนาวุธสามารถโจมตีเป้าหมายที่อยู่ห่างออกไป 5,400 กิโลเมตรได้อย่างแม่นยำ เป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพและความสำเร็จของการติดตั้งอุปกรณ์และเทคโนโลยีใหม่บนขีปนาวุธทำให้สามารถโจมตีเป้าหมายได้ไกลกว่าเดิม 

การยิงทดสอบขีปนาวุธของอินเดียครั้งล่าสุดเมื่อวานนี้ (15 ธ.ค.) เกิดขึ้นในเวลาไม่กี่วันหลังจากที่กองทัพอินเดียปะทะกับกองทัพจีนบริเวณเมืองตาวัง รัฐอรุณาจัลประเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่พิพาทพรมแดนจีน-อินเดีย บนเทือกเขาหิมาลัย ในวันที่ 9 ธ.ค. ส่งผลให้มีทหารของทั้งสองฝ่ายได้รับบาดเจ็บ แต่ไม่มีรายงานทหารเสียชีวิตจากการปะทะครั้งนี้ 

แม้กระทรวงกลาโหมอินเดียจะออกมาปฏิเสธว่า การยิงทดสอบขีปนาวุธอัคนี-5 ไม่มีความเกี่ยวข้องกับความตึงเครียดบริเวณชายแดนจีน โดยการทดสอบขีปนาวุธเป็นไปตามแผนที่มีการวางไว้ก่อนหน้าที่จะเกิดการปะทะกับกองทัพจีนที่รัฐอรุณาจัลประเทศ 

แต่ก็เลี่ยงที่จะถูกจับตาไม่ได้ว่าการทดสอบขีปนาวุธข้ามทวีปของอินเดีย เป็นการส่งสัญญาณบางอย่างไปยังจีน ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศมีความสั่นคลอนจากปัญหาพื้นที่พิพาทบริเวณชายแดนมาเป็นเวลานาน 

สำนักข่าว TODAY จะพาไปรู้จักกับ ขีปนาวุธอัคนี-5 หนึ่งในอาวุธทรงอานุภาพของอินเดียที่ถูกมองว่าได้รับการพัฒนามาเพื่อเป็นการแข่งขันทางทหารกับจีน ในขณะที่ปัญหาพรมแดนยังคงหาข้อยุติไม่ได้ 

ขีปนาวุธอัคนี-5 เป็นขีปนาวุธข้ามทวีปแบบพื้นสู่พื้น ที่ตั้งชื่อตามภาษาสันสกฤต มีความหมายว่า ‘ไฟ’ ได้รับการพัฒนาขึ้นภายใต้โครงการพัฒนาขีปนาวุธนำวิถีแบบเบ็ดเสร็จ (Integrated Guided Missile Development Program – IGMDP) โดยเป็นขีปนาวุธแบบร่อน ที่ใช้เชื้อเพลิงแข็ง มีความสูง 17.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เมตร หนัก 50 ตัน มีพิสัยยิง 5,000-8,000 กิโลเมตร และสามารถติดหัวรบนิวเคลียร์ที่มีน้ำหนักเกิน 1 ตันได้ 

อัคนี-5 ถูกพัฒนามาจากขีปนาวุธรุ่นก่อนหน้าอย่าง อัคนี-3 (Agni-III) ซึ่งมีพิสัยยิง 3,000-5,000 กิโลเมตร ถูกมองว่าอินเดียตั้งใจพัฒนามาให้สามารถยิงได้ไกลครอบคลุมเป้าหมายในจีนได้เกือบทั้งหมด รวมถึงกรุงปักกิ่ง และนครเซี่ยงไฮ้ เพื่อคานอำนาจรัฐบาลปักกิ่ง 

เดิมทีโครงพัฒนาขีปนาวุธของอินเดียเริ่มขึ้นเพื่อรับมือกับภัยคุกคามจากเพื่อนบ้านอย่างปากีสถาน ที่เป็นไม้เบื่อไม้เมา และมีการแข่งขันด้านการพัฒนาอาวุธมาตลอด โดยขีปนาวุธรุ่นแรกในกลุ่มอัคนี ล้วนเป็นขีปนาวุธที่มีพิสัยโจมตีได้ครอบคลุมปากีสถานและเพื่อนบ้านในเอเชียใต้ อย่างอัคนี-1 (Agni-I) มีพิสัยโจมตี 700-1,200 กิโลเมตร และอัคนี-2 (Agni-Il) มีพิสัยโจมตี 2,000-3,500 กิโลเมตร ส่วนอัคนี-4 (Agni-IV) มีพิสัยโจมตีอยู่ที่ 3,500-4,000 กิโลเมตร 

สำหรับขีปนาวุธอัคนี-5 ถูกนำมายิงทดสอบครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2555 ก่อนจะมีการทดสอบครั้งที่ในวันที่ 15 ก.ย. 2556 ครั้งที่ 3 ในวันที่ 31 ม.ค. 2558 และครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2564 ที่ผ่านมา 

ปัจจุบันกองทัพอินเดียมีขีปนาวุธในกลุ่มอัคนีประจำการอยู่ 3 รุ่น ได้แก่ อัคนี-1, อัคนี-2 และ อัคนี-3 ขณะที่ อัคนี-4 และอัคนี-5 อยู่ระหว่างการทดสอบ และขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาขีปนาวุธอัคนี-6 (Agni-Vl) ซึ่งคาดว่าอาจมีพิสัยยิงไกลถึง 11,000-12,000 กิโลเมตร และสามารถติดตั้งได้กับทั้งฐานยิงในภาคพื้นดินและเรือดำน้ำ

ทั้งนี้ อินเดียถูกมองว่าเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจทางนิวเคลียร์ที่กำลังจะก้าวขึ้นมาเทียบเคียงกับประเทศมหาอำนาจด้านนิวเคลียร์ ซึ่งจนถึงตอนนี้มีเพียง 5 ประเทศในโลกยอมรับอย่างเป็นทางการว่ามีขีปนาวุธข้ามทวีปพิสัยไกลข้ามทวีปอยู่ในครอบครอง ได้แก่ อังกฤษ, จีน, ฝรั่งเศส, รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา 

 

ที่มา 

https://www.ndtv.com/india-news/india-conducts-night-trials-of-nuclear-capable-agni-v-ballistic-missile-361012

https://www.indiatoday.in/science/story/agni-five-test-fire-nuclear-capable-missile-what-can-it-do-five-facts-2309797-2022-12-16

https://www.livemint.com/science/news/can-india-s-agni-5-cover-entire-china-here-are-5-things-to-know-about-the-ballistic-missile-11671157512662.html

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า