SHARE

คัดลอกแล้ว

การใช้งบกว่า 30 ล้านบาทเพื่อเปลี่ยนป้ายสถานีกลางบางซื่อเป็นชื่อพระราชทาน สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เป็นประเด็นดราม่าที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในเวลานี้ ล่าสุดที่ประชุมสภาฯ มีการตั้งกระทู้ถามสดเกี่ยวกับความคุ้มค่าของงบประมาณที่ใช้ไป ขณะที่นักวิชาการได้ยกตัวอย่างให้เห็นว่าในอดีตเคยมีมาแล้ว แต่การดำเนินการต่างกัน

อาจารย์ธงทอง จันทรางศุ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี, ประธานกรรมการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด และอาจารย์ผู้สนใจด้านประวัติศาสตร์โพสต์เฟซบุ๊กถึงประเด็นที่เกิดขึ้นระบุข้อความว่า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2543 เพื่อใช้แทนชื่อเดิมคือ สนามบินหนองงูเห่า และได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2545 ก่อนการเปิดให้บริการในฐานะสนามบินแห่งใหม่ของประเทศไทยเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549

ตามความทรงจำของผม อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจึงไม่เคยมีป้ายชื่อท่าอากาศยานหนองงูเห่าติดตั้งมาก่อนเลย เมื่อสร้างอาคารสำเร็จเรียบร้อยก็ใช้นามพระราชทาน ”ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” ประดับติดตั้งอาคารมาตั้งแต่ต้น นามพระราชทานท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้รับพระราชทานมาหกปีเต็ม ล่วงหน้าก่อนท่าอากาศยานดังกล่าวเปิดให้บริการ

“ผมเป็นคนสนใจประวัติศาสตร์ และทันเห็นเหตุการณ์ทั้งหมดที่ว่านี้ จึงอยากนำมาเล่าสู่กันฟังครับ เผื่อมีใครคิดจะเปรียบเทียบว่ากรณีเหมือนกันหรือไม่เหมือนกันกับเรื่องราวที่เป็นข่าวอยู่ในเวลานี้ จะได้นำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการไตร่ตรองได้” อาจารย์ธงทอง ระบุ

https://www.facebook.com/nha.chandransu/posts/pfbid02hPrSddkJbpRP8Uf54Ve5UopQiWx7KKAMzy9J8PtFiY511wiBXqspMwHmRQqq4pTAl

 

ศักดิ์สยาม  “เรื่องการเปลี่ยนชื่อ เป็นเรื่องของประเพณีปฏิบัติ”

ขณะที่ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวานนี้ (5 ม.ค. 2566) นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ส.ส.พรรคก้าวไกล ได้ตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจาถามนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กรณีเปลี่ยนป้ายชื่อจากสถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ถึงเหตุผลที่ต้องขอพระราชทาน และงบกว่า 33 ล้านบาทคุ้มค่าหรือไม่ รวมถึงวิธีการจัดซื้อจัดจ้างที่เกิดขึ้นโปร่งใสหรือไม่

นายจิรัฏฐ์ ถามว่า ราคาก่อสร้าง 33 ล้านบาท แพงเกินไปหรือไม่ อยู่ดีๆ ทำไมขอเปลี่ยนชื่อ ป้ายเดิมใช้แค่ 3 ปี ยังใหม่อยู่ จะเปลี่ยนชื่ออย่างไร ก็ยังเรียกชื่อสถานีกลางบางซื่อเหมือนเดิม เหตุใดต้องเร่งเปลี่ยนชื่อทันทีเมื่อได้รับพระราชทานชื่อจนต้องใช้วิธีจัดซื้อเฉพาะเจาะจง ได้บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จํากัด (มหาชน) เป็นผู้ติดตั้ง หลังจากที่รฟท.เพิ่งประกาศราคากลางมา 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมาการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีหนี้ 2 แสนล้านบาท แต่ยังเปลี่ยนป้ายชื่อให้มีหนี้เพิ่ม ถือว่าเกินกว่าเหตุ เอาเงินมาใช้สุรุ่ยสุร่าย มือเติบเกินไป ทราบว่า บริษัท ยูนิคฯ ที่ได้งานนี้ รฟท.เพิ่งแพ้คดีให้บริษัทฯ ที่ฟ้อง รฟท. 7,500 ล้านบาท เมื่อปลายเดือนพ.ย. 2565 ปกติถ้ามีคดีพิพาทขนาดนี้ อย่าว่าแต่แค่จ้างกลับมาทำงาน หน้าก็ยังไม่อยากมอง แต่กลับเปิดโอกาสให้บริษัท ยูนิคฯ ได้งาน อัยการเคยเตือนให้รฟท.ประนีประนอมกับบริษัท ยูนิคฯ แต่รฟท.ไม่ทำ ถือว่าปล่อยปละละเลยให้เกิดความเสียหาย ใครจะรับผิดชอบ ส่วนการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ทำไมต้องรอ 15 วัน การตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง เป็นสูตรสำเร็จเอาตัวรอดแบบไทยๆ สุดท้ายรอดกันหมด

นายศักดิ์สยามชี้แจงว่า รายละเอียดวงเงินการเปลี่ยนป้ายชื่อ 33 ล้านบาท ประกอบด้วย

1. งานรื้อถอนป้ายสถานีกลางบางซื่อเดิม 6.2 ล้านบาท

2. งานติดตั้งกระจกและโครงกระจกอะลูมิเนียมใหม่ทั้งหมด มีราคาสูงสุด 24.3 ล้านบาท

3. งานออกแบบ

4. งานติดตั้งและรื้อถอนวัสดุปิดแทนกระจกระหว่างเปิดใช้งาน 1.6 ล้านบาท

รมว.คมนาคม ยืนยันไม่ได้ว่าราคา 33 ล้านบาท ถูกหรือแพง เพราะไม่ใช่คนกำหนดราคา แต่ทุกคนไม่ได้ต่างกันในการเข้าถึงข้อมูล ส่วนการเปลี่ยนชื่อป้ายเป็นเรื่องประเพณีปฏิบัติ เพื่อความเป็นมหามงคล ไม่ใช่ความต้องการของตน เหมือนการเปลี่ยนชื่อสนามบินหนองงูเห่าเป็นสนามบินสุวรรณภูมิ หรือสถานที่ราชการหลายแห่งก็ดำเนินการลักษณะนี้เช่นกัน ขณะที่การต้องจ้างบริษัท ยูนิคฯ เป็นผู้รับผิดชอบ เพราะโครงการสถานีกลางบางซื่ออยู่ในระยะประกันสัญญา จึงต้องให้บริษัท ยูนิคฯ ที่เป็นผู้ก่อสร้างเดิมในโครงการเป็นผู้รับผิดชอบ

ส่วนกรณีที่รฟท.แพ้คดีบริษัท ยูนิค 7,500 ล้านบาทนั้น คดียังไม่ถึงที่สุด รฟท.ดำเนินการอุทธรณ์คดีอยู่ ส่วนการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเพราะเป็นเรื่องที่ประชาชนให้ความสนใจ ไม่ว่าผลออกมาอย่างไร จะแจ้งให้ประชาชนทราบแน่นอน ไม่มีปกปิด ผิดคือผิด ถ้าถูกก็ต้องดำเนินการต่อ ขอเวลาตรวจสอบเล็กน้อย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า