SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาคประชาชนจัดกิจกรรม กรวดน้ำคว่ำขัน ให้ รมว.สาธารณสุข ตัดสิทธิ์ผู้ใช้สิทธิประกันสังคม ยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย 3,000 บาท ผ่านไป 2 ปี คนไทยยังเข้าไม่ถึงบริการ

บรรยากาศการจัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ทำบุญ กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล ให้กับผู้เสียชีวิตจากการทำแท้ง และคว่ำขันให้นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยมีภาคประชาชน เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อมกลุ่มทำทางที่จัดขึ้นบริเวณหน้ากระทรวงสาธารณสุข

ตัวแทนเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม ระบุว่า แม้จะมีกฎหมายทำแท้งถูกต้องตามกฎหมายออกมาแล้ว 2 ปี แต่ภาคประชาชนยังเข้าไม่ถึงและเผชิญกับอุปสรรคในการเข้าถึงบริการทำแท้งที่ปลอดภัย จึงจำเป็นต้องผลักดันให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการ ส่งเสริม และสนับสนุนการเข้าถึงบริการการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย

เครือข่ายภาคประชาชนได้นำเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงนายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ ให้ดำเนินการประกาศชื่อสถานบริการทำแท้งที่ปลอดภัย กำหนดให้สถานบริการสาธารณสุขสังกัดกระทรวง จัดให้มีบริการทำแท้งที่ปลอดภัยอย่างน้อยจังหวัดละ 1 สถานบริการ และสร้างความรู้ความเข้าใจกับบุคลากรเกี่ยวกับการทำแท้งที่ปลอดภัย เร่งรัดการดำเนินการให้หน่วยงานภายใต้สังกัดปฏิบัติตามพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 28 ) พ.ศ.2564 ให้หญิงที่มีอายุครรภ์ไม่เกินกว่า 12 สัปดาห์ ยุติการตั้งครรภ์ได้ โดยไม่เป็นความผิดทางอาญาพร้อมทำกิจกรรมกรวดน้ำทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้หญิงที่ต้องเสียชีวิตจากการเข้าไม่ถึงการทำแท้งที่ปลอดภัย

นางสุไลพร ชลวิไล นักวิชาการกลุ่มทำทาง กล่าวว่า ปัจจุบันพบว่ายังมีผู้หญิงจำนวนมากเข้าไม่ถึงบริการทำแท้งที่ปลอดภัยทำให้ต้องไปซื้อยาเถื่อนมาทำแท้งเอง ทั้งที่กฎหมายทำแท้งฉบับแก้ไขใหม่มีผลบังคับใช้มาแล้ว 2 ปี จึงขอเรียกร้องให้สธ.ดำเนินดังนี้

  1. ประกาศรายชื่อสถานบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย และรายชื่อหน่วยงานให้การปรึกษาทางเลือกทั่วประเทศให้ประชาชนรับทราบ
  2. กำหนดให้สถานบริการสาธารณสุขภายใต้สังกัดสธ.ดำเนินการจัดให้มีบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย อย่างน้อยจังหวัดละ 1 สถานบริการ โดยกำหนดเป็นตัวชี้วัดระดับกระทรวงว่าจะต้องเพิ่มจำนวนสถานบริการให้ได้อย่างน้อยปีละ 5-10 สถานบริการ
  3. กำหนดให้สถานบริการสาธารณสุขภายใต้สังกัดสธ.ที่ไม่ต้องการจัดตั้งหน่วยบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย มีหน้าที่ที่จะต้องส่งต่อผู้รับบริการไปยังสถานบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยตามระบบ
  4. ดำเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากรทางด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย.

ภาพ ธนัญชัย แก้วโสวัฒนะ / Thai News Pix

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า