SHARE

คัดลอกแล้ว

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5 สาระสำคัญคุ้มครองสิทธิ 11 กลุ่ม ครอบคลุมกลุ่มหลากหลายทางเพศ เร่งแก้ปัญหาท้าทาย ทั้งปัญหาที่ดิน ฝุ่นพิษ และหนี้ภาคครัวเรือน และธุรกิจเอสเอ็มอีจากสถานการณ์โควิด 

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 ว่า ที่ประชุมครม. มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566-2570) ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ พร้อมกับเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชนของหน่วยงานที่ครอบคลุมการดำเนินการของหน่วยงานในสังกัดทุกระดับและรายงานผลการปฏิบัติตามแผนสิทธิมนุษยชนฯ เมื่อสิ้นปีงบประมาณปีละ 1 ครั้ง (ในห้วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. ของทุกปี)

ให้หน่วยงานภาครัฐ (ระดับกรมหรือเทียบเท่า) บรรจุวิชา สิทธิมนุษยชน ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง ในหลักสูตรฝึกอบรมข้าราชการทุกระดับตามขอบเขตและเนื้อหาหลักการสิทธิมนุษยชนพื้นฐานที่กระทรวงยุติธรรมกำหนด โดยที่แผนสิทธิมนุษยชนฯ ฉบับนี้ได้นำประเด็นที่ยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์จากแผนฉบับเดิมมาดำเนินการต่อ เช่น ปัญหาที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกิน ปัญหาสิทธิในการทำงานและสิทธิในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลสำหรับคนไทยและคนต่างด้าวทั้งในระบบและนอกระบบ ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและการล่วงละเมิดทางเพศในเด็กและสตรี เป็นต้น

ส่วนประเด็นข้อห่วงกังวลและประเด็นท้าทายต่าง ๆ จากระดับพื้นที่ เช่น ปัญหาฝุ่น PM2.5 ปัญหาการเข้าถึงมาตรการความช่วยเหลือของภาครัฐที่ต้องใช้ความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัญหาการเคารพสิทธิผู้อื่นและการเคารพผู้เห็นต่าง 

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5 จำแนกออกเป็นแผนสิทธิมนุษยชนรายด้าน 5 ด้าน คือ ด้านการเมืองการปกครอง ด้านกระบวนการยุติธรรม ด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา และด้านเศรษฐกิจและธุรกิจ และยังครอบคลุมถึงการคุ้มครองสิทธิรายกลุ่ม โดยแบ่งออกเป็น 11 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ใช้แรงงาน กลุ่มผู้เสียหายและเหยื่อในกระบวนการยุติธรรม กลุ่มเด็กและสตรี กลุ่มนักปกป้องสิทธิมนุษยชน กลุ่มผู้สูงอายุ  กลุ่มผู้เสพยาเสพติด กลุ่มความหลากหลายทางเพศ กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียนและกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ต้องหาผู้ต้องขังและผู้พ้นโทษ

และสุดท้ายคือ กลุ่มผู้ป่วยเอดส์ ผู้ที่อยู่ร่วมกับ HIV และผู้ป่วยจิตเวช เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยใช้เป็นกรอบทิศทางของหน่วยงานในการดำเนินงานเพื่อแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาพรวมของประเทศ ปกป้อง คุ้มครองสิทธิของประชาชนโดยไม่เลือกปฏิบัติ คำนึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สร้างสังคมที่ตระหนักถึงการเคารพสิทธิมนุษยชน

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า สำหรับประเด็นท้าทายของแผนสิทธิมนุษยชนรายด้าน 5 ด้านที่จะมีการดำเนินการ คือ

1.เร่งจัดสรรที่ดินและแก้ไขปัญหา การเข้าถึงทรัพยากรของประชาชน
2.ส่งเสริมความรู้ให้แก่ประชาชนในขั้นตอนต่าง ๆ ด้านกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้รับรู้สิทธิในแต่ละขั้นตอนตั้งแต่ชั้น การสอบสวน การฟ้องร้อง และการดำเนินคดี
3.ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง”
4.ปรับปรุงมาตรการของรัฐในด้านต่าง ๆ ให้สามารถเข้าถึงได้โดยประชาชนทุกกลุ่ม ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบความช่วยเหลือเป็นการเฉพาะสำหรับกลุ่มผู้ด้อยโอกาส
และ 5.ส่งเสริมสนับสนุนให้มีมาตรการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนและกลุ่มธุรกิจ SME ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19

“เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินการตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5 นี้ ครม. จึงเห็นชอบให้มีกลไกการดำเนินการและการติดตาม โดยให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพมีหน้าที่ในการสร้างการรับรู้และความตระหนักถึงความสำคัญในการขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนฯ จัดทำคู่มือในการแปลงแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฯ ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้หน่วยงานที่ขับเคลื่อนมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น และจัดให้มีช่องทางสื่อสารเพื่อรับแจ้งปัญหา อุปสรรค หรือข้อขัดข้อง ในการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนสิทธิมนุษยชนฯ โดยมีตัวชี้วัดด้านกระบวนการ (Process indicator)” น.ส.ทิพานัน กล่าว

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า โดยการผลักดันและนำร่างกฎหมาย นโยบาย และมาตรการเพื่อสร้างหลักประกันสิทธิในแต่ละประเด็น/กลุ่มเป้าหมายในส่วนที่เกี่ยวข้อง และให้มีตัวชี้วัดด้านผลสัมฤทธิ์ (Outcome indicator) เช่น แนวโน้มสถานการณ์/สถิติข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในแต่ละประเด็น/กลุ่มเป้าหมายลดลง

สำหรับการติดตามและประเมินผล ได้กำหนดให้หน่วยงานรับผิดชอบ ตามแผนฯ รายงานผลการดำเนินงาน ปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือน ต.ค. – ธ.ค. ของทุกปี และให้ที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญและมีความเป็นกลางทำการประเมินผลการดำเนินการ พร้อมทั้งข้อเสนอแนะเชิงกระบวนการ หรือกลไกเพื่อขจัดปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้แผนไม่บรรลุเป้าหมาย และเสนอ ครม. เพื่อทราบต่อไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า