SHARE

คัดลอกแล้ว

ย้อนกลับไปในช่วงโควิด-19 ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลได้รับความนิยมอย่างมาก ราคาเหรียญต่างๆ พุ่งแล้วพุ่งอีก โดยเฉพาะบิตคอยน์ (Bitcoin) คริปโตเคอร์เรนซีเหรียญแรกของโลก ที่ราคาทำจุดสูงสุดใหม่ (New High) ไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบ

อานิสงส์จากราคาเหรียญต่างๆ ที่พุ่งไม่หยุด นอกจากจะดึงดูดให้คนใหม่ๆ เข้ามาลงทุนแล้ว ยังทำให้ระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่เกี่ยวข้องที่เหลือ ไม่ว่าจะเป็นศิลปะดิจิทัล (NFT) หรือโลกเสมือน (Metaverse) การเงินบนโลกเสมือน (DeFi) ฯลฯ ต่างก็ได้รับผลบวกไปตามๆ กัน

แต่หลังจากโควิด-19 เริ่มซา คนกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ เงินหลายหมื่นล้านเหรียญที่เคยไหลเข้ามาเก็งกำไรในตลาดคริปโตฯ ก็ถูกดูดออกไปใช้จ่ายในโลกเศรษฐกิจจริง

ตามมาด้วย ‘ฤดูหนาวคริปโต’ (Crypto Winter) หรือปรากฏการณ์ที่ตลาดคริปโตฯ ซึมยาว ราคาเหรียญต่างๆ ปรับลงเมื่อเทียบกับช่วงพีค

แม้การเก็งกำไรจะจบรอบ แต่ตลาด NFT ไม่ได้เป็นแบบนั้น เพราะศิลปินต่างๆ ยังคงสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ออกมาต่อเนื่อง

TODAY Bizview มีโอกาสคุยกับ ‘จิวาน ทัลสิเอนิ’ (Jivan Tulsiani) ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด TZ APAC และ ‘สาริสา โคจิมะ’ (Sarisa Kojima) ศิลปิน NFT ชั้นนำของไทยในระบบนิเวศ ‘เทโซส’ (Tezos) เจ้าของแพลตฟอร์มบล็อกเชน (Blockchain)

tz-apac-keep-support-nft-during-crypto-winter

[ TZ APAC บล็อกเชนตัวลูกจาก Tezos ]

สำหรับ TZ APAC เป็นผู้นำด้านการนำเอาเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ในภูมิภาคเอเชีย และเป็นผู้สนับสนุน Ecosystem ของ โดย Tezos เป็นผู้พัฒนาบล็อกเชนแบบ Layer 1 ส่วน TZ APAC เป็นผู้สร้างและสนับสนุนกลุ่มคนที่สนใจ

‘เราเป็นผู้สร้าง เราช่วยกลุ่มคนที่สนใจไอเดียของ ‘เว็บ3’ (Web3) ผ่านการสนับสนุนศิลปินทุกประเภท ซึ่งหนึ่งในศิลปินที่ TZ APAC ให้การสนับสนุนในประเทศไทยก็คือ Sarisa Kojima’

นอกจากการซัปพอร์ตศิลปินแล้ว TZ APAC ยังให้การสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพ (Startup) ที่ผู้ก่อตั้งสนใจในการพัฒนา Web3 รวมถึงบุคคลทั่วไปที่ต้องการสร้างโซลูชันแบบ Web3 อีกด้วย

TZ APAC มีโปรแกรมบ่มเพาะ (Incubator Program) 2-3 โปรแกรมต่อปี โดยผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ยังมีการจัด Hackathons Test Asia เมื่อต้นปี 2565 ซึ่งมีลงทะเบียนเข้าร่วมกว่า 11,000 ราย

ล่าสุด ช่วงปลายปีที่ผ่านมา TZ APAC ได้สนับสนุนนิทรรศการ Art Moments Jakarta ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-8 พ.ย. 2565 ที่กรุงจาการ์ต้า อินโดนีเซีย เป็นการจัดแสดงผลงานศิลปะ NFT ที่สร้างขึ้นบนบล็อกเชนของ Tezos โดยมีผลงานจากศิลปินในแต่ละประเทศ

นอกจากนี้ ในระดับภูมิภาค TZ APAC ยังร่วมมือกับ akaSwap แพลตฟอร์มระดับโลกสำหรับการซื้อขาย NFT สำหรับศิลปินและนักสะสม เพื่อเข้าถึงผู้ที่ชื่นชอบ NFT อีกด้วย

[ สภาพตลาด NFT ในภูมิภาค SEA ]

สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือว่าเป็นภูมิภาคที่มีจำนวนผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและโมบายมากที่สุด นอกจากนี้ ยังเป็นตลาดหลักที่มีการประยุกต์ใช้ NFT

โดยมีการคาดการณ์อัตราการใช้งาน NFT ที่ 41% ในภูมิภาค ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย การใช้งาน NFT ได้รับความนิยมสูงขึ้นและฐานผู้ใช้เพิ่มขึ้น

ขณะที่ไทยเป็น 1 ใน 5 ของประเทศชั้นนำของโลกที่เป็นผู้นำในการนำ NFT ไปใช้รวดเร็วที่สุด อุตสาหกรรม NFT ในประเทศไทยคาดว่าจะเติบโต 47.1%  ต่อปี ด้วยมูลค่า 1,112.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราว 42,486 ล้านบาทในปี 2565

‘ประเทศไทยเป็นอันดับสองที่ 27% รองจากฟิลิปปินส์ซึ่งอยู่ที่ 31% สะท้อนว่า เราสามารถเห็นการเติบโตที่ดีของ NFT ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อเปรียบเทียบกับทั่วโลก’

สำหรับการสนับสนุนศิลปะ NFT นั้น TZ APAC เป็นผู้อำนวยความสะดวกด้านเทคโนโลยี โดยศิลปินไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานด้านเทคโนโลยีเพื่อใช้แอปพลิเคชัน SweatyNFT ชุดเครื่องมือ NFT ที่ช่วยศิลปินสร้าง Generative Collections บน Tezos

นอกจากนี้ TZ APAC ยังมีการให้ความรู้แก่ศิลปิน รวมถึงหาช่องทางเพื่อสนับสนุนให้ศิลปินออกไปแสดงผลงานในเวทีระดับโลก โดยในปี 2565 TZ APAC ได้จัดแสดงผลงานของ 10 ศิลปินจากทั่วเอเชียในประเทศสิงคโปร์

ในฮ่องกง TZ APAC จัดแสดงผลงานของศิลปิน 20 คน ซึ่ง 10 คนมาจากเอเชีย และ Arts Moment Jakarta ในอินโดนีเซีย ซึ่งผลงานของ Sarisa Kojima ได้รับการชื่นชมอย่างดีจากแขกและผู้เข้าชมนิทรรศการ

tz-apac-keep-support-nft-during-crypto-winter

[ TZ APAC จะช่วยสายผลิตไทยยังไง ]

จิวานกล่าวว่า TZ APAC มีนิทรรศการ Tezos ทั่วทั้งภูมิภาค ซึ่งบางงานเน้นที่ศิลปินไทย สิ่งนี้ทำให้ศิลปินมีพื้นที่ในเวทีระดับภูมิภาค และทำให้ผู้คนได้สัมผัสกับงานศิลปะของพวกเขา

TZ APAC ยังมีส่วนร่วมอย่างมากในการสร้างคอมมิวนิตีและให้ความรู้แก่ศิลปิน มีผู้จัดการคอมมิวนิตีที่ช่วยในการทำเวิร์กช็อปและจัดการเรื่อง Reward Programme

สำหรับการจัดเวิร์กช็อปให้ความรู้กับศิลปินผู้ที่ยังใหม่กับ NFT เพราะการรับ (Adoption) เทคโนโลยีใหม่ๆ มักจะมาพร้อมกับความไม่แน่นอนและความกลัว นั่นเป็นเหตุผลที่ TZ APAC จัดให้มีเวิร์กช็อปเพื่อให้ความรู้แก่ศิลปิน

ส่วน Reward Programme ที่ทำในประเทศไทยเป็นวิธีการที่ช่วยให้ TZ APAC สามารถมีส่วนร่วมและให้ความรู้แก่ชุมชนเกี่ยวกับ NFT รวมถึงสนับสนุนพวกศิลปินเท่าที่เราจะทำได้

โดยงานศิลปะที่ TZ APAC ซัปพอร์ต ส่วนใหญ่เป็นแคมเปญออนไลน์ที่ทำผ่าน Telegram และ Discord ขณะที่ Ecosystem ของ Tezos ยังเปิดโอกาสให้ศิลปินได้ฝึกฝนศิลปะทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นศิลปะร่วมสมัย (Contemporary Art) ดนตรี

‘มันหลากหลายมาก นั่นคือความสวยงามของ NFT ศิลปินจำนวนมากใช้ NFT เป็นสื่อและยังมีสื่ออีกมากมายที่ทุกคนสามารถฝึกฝนในแง่ของ NFT’

[ จุดแข็งของ TZ เทียบกับแพลตฟอร์มอื่น ]

Tezos เป็นผู้ตรวจสอบธุรกรรมบล็อกเชน (Proof of Stake: PoS) บน Layer 1 เป็นรายแรกๆ และเป็นจุดเริ่มต้นโลก NFT ของศิลปินมากมายทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อีกหนึ่งจุดเด่นคือ NFT บน Ecosystem ของ Tezos เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและทิ้งปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Carbon Footprint) ที่ต่ำมาก ราคาไม่สูงและมีประสิทธิภาพสำหรับศิลปินในการผลิตศิลปะ

นอกจากนี้ หากพูดถึงบล็อกเชนของ Tezos เมื่อเปรียบเทียบกับบล็อกเชนอื่น ๆ Tezos ผ่านการอัปเกรดหลายรอบในทุกไตรมาส และด้วยการปรับปรุงหลายๆ อย่าง ทำให้ระบบของแทบไม่เคยมีปัญหา

‘เป็นบล็อกเชนที่ แข็งแกร่ง ยืดหยุ่น และควบคุมตนเองได้’

สำหรับ Ecosystem คอมมิวนิตีแข็งแกร่งและมีการสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น การเปิดตัวแคมเปญสำหรับวันประกาศอิสรภาพ (Independence Day) ของอินโดนีเซีย โดยนำเสนอผลงานของศิลปิน 17 คนจาก 17 ประเทศในเอเชีย

นอกจากนี้ คัมปัส (Kompass) หนังสือพิมพ์รายวันที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย ยังเลือกเปิดตัว NFT บน Tezos เพื่อสร้าง (Mint) ภาพถ่ายที่ดีที่สุด 17 ภาพระหว่างปี ค.ศ. 2003-2018 (พ.ศ. 2546-2561)

‘หลายประเทศต้องการสร้าง NFT บน Tezos เพราะมีคอมมิวนิตีที่แข็งแกร่ง ซึ่งศิลปินได้แบ่งปันข้อมูลเชิงลึกซึ่งกันและกัน ทำงานร่วมกัน ไม่ใช่การแข่งขัน แต่เป็นพื้นที่ทำงานร่วมกัน’

tz-apac-keep-support-nft-during-crypto-winter

[ SweatyNFT กับการซัปพอร์ตศิลปิน ]

ขณะที่ ‘สาริสา ธรรมลังกา’ หรือ Sarisa Jojima ศิลปิน NFT กล่าวว่า เหตุผลที่เลือกใช้แพลตฟอร์มของ Tezos เพราะความปลอดภัยของโค้ด ด้วยการใช้ภาษที่ยาก รูปแบบที่เขียนค่อนข้างซับซ้อน ทำให้มีความเสี่ยงถูกแฮกยาก

ในส่วนของค่าธรรมเนียม (ค่าแก๊ส: Gas) ก็ค่อนข้างต่ำ 5-10 บาทเท่านั้น เทียบกับแพลตฟอร์มในตลาดที่คิดค่าแก๊สประมาณ 200 ดอลลาร์ (ราว 6,700 บาท)

สำหรับ SweatyNFT แยกเป็น 2 ส่วน คือ 1. บุคลากรที่เขียนโค้ด เก็บผลงาน และสื่อสารกับบล็อกเชน เพื่อซัพพอร์ตผลงานศิลปะ NFT ที่ถูกสร้างขึ้น (Generative NFT) โดย 2. ศิลปิน

เช่น ศิลปินสร้างตัวละครหนึ่งขึ้นมา แต่ต้องการสร้างรูปภาพของตัวละครนั้นขึ้นมา 5,000-10,000 รูป ก็ไม่ต้องวาดขึ้นมาใหม่ เพราะ SweatyNFT ช่วยสร้างส่วนประกอบและสร้างภาพวาด 10,000 ภาพได้ภายในเวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมง

นอกจากนี้ SweatyNFT จะนำ 10,000 รูปภาพนั้นไปสร้างเป็นโค้ดเพื่อสื่อสารกับบล็อกเชน ก่อนจะปล่อยออกมาเป็นคอลเล็กชัน

ปัจจุบัน SweatyNFT อยู่ระหว่างพัฒนาเฟส 2 หลังเปิดให้ศิลปินเข้ามาทดสอบในเฟสแรกเมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งได้รับทุนให้เปล่าในการพัฒนาจาก TZ APAC ส่วนเฟสถัดที่จะออกมาเร็วๆ นี้ จะเป็นระบบสมาชิก (Subscription)

[ ผลกระทบต่อ NFT ช่วงคริปโตขาลง ]

สาริสาบอกว่า Ecosystem ของ Tezos มีความเป็น ‘ศิลปะที่แท้จริง’ (Pure Art) มากกว่า ถ้าเทียบกับ NFT อื่นๆ ในตลาด แต่ก็ยอมรับว่า NFT ได้รับผลกระทบจากการขึ้นลงของตลาดมาโดนตลอด

‘คนที่เข้ามาใหม่อาจจะตกใจ แต่ในคอมมิวนิตีเราก็มีการสื่อสารตลอด โอเค ตอนนี้ตลาดมันเป็นขาลง ราคามันตกลง มูลค่ามันตกลง อาจจะขายงานได้ลำบากขึ้น แต่ยังเป็นช่องทางสร้างพอร์ต สร้างฐานแฟน สื่อสารผลงานศิลปะออกไป โดยเชื่อว่ายังไงเรื่องของเศรษฐกิจมันก็จะกลับมาในท้ายที่สุด’

แต่อีกมุมหนึ่งก็มีคนกระโดดเข้ามามากขึ้น เพราะผลงานศิลปะมีราคาถูกลง (ตามราคาเหรียญที่ลดลง) หลายคนก็เข้ามาเก็บผลงานดีๆ มาครอบครองไว้ รอขายทำกำไรในวันที่ราคากลับมาเป็นขาขึ้น

นอกจากนี้ แม้กระแส NFT จะลดลง แต่มูลค่าตลาดยังค่อนข้างสูง เพราะเป็นช่องทางใหม่ในการขายผลงานศิลปะ ยังเป็นพื้นที่ขายผลงานศิลปะที่ยั่งยืน ช่วงเวลานี้ก็เป็นช่วงเวลาพิสูจน์

ขณะที่จิวานมองว่า ในตลาด NFT เอง Tezos มีความแตกต่างที่ไม่เหมือนใคร เมื่อเทียบกับ NFT ในตลาด เช่น รูปโพรไฟล์ NFT (PFP NFT) หรือรูปลิงหน้าเบื่อ (Bored Ape Yacht Club: PAYC)

‘Tezos เป็นมากกว่าบล็อกเชนที่สร้างงานศิลปะ เป็นเหมือนสะพานเชื่อมระหว่างศิลปะและเทคโนโลยี รวมถึงผู้คนจำนวนมากที่ต้องการสะสมงานศิลปะ’

tz-apac-keep-support-nft-during-crypto-winter

[ แผนสนับสนุนสายผลิตต่อจากนี้ ]

‘การศึกษายังคงเป็น Big Focus ของเรา’ จิวานกล่าว

ศิลปินที่มาจากโลกเดิม (Traditional Place) และอยากเริ่มต้นกับ NFT จะมีโอกาสสำหรับการทดลองเสมอ โดย TZ APAC ยังคงจัดเวิร์กชอปและสัมมนาให้ความรู้ รวมถึงสื่อสารกับศิลปินผ่านทาง Telegram เพื่อตอบคำถามต่างๆ

ขณะที่สาริสากล่าวทิ้งท้ายว่า NFT เป็นเทคโนโลยีที่ใหม่ เข้าใจว่าหลายคนกลัว กลัวว่าต้องใช้เงินเยอะ ต้องลงทุนสูง แต่ถ้าได้ลองศึกษา เช่น แพลตฟอร์มของ Tezos ค่าใช้จ่ายค่อนข้างน้อย ไม่จำเป็นต้องมีเงินถุงเงินถังเพื่อลงทุนในการขาย

นอกจากนี้ ยังมีข้อดีตรงที่ได้เชื่อมต่อกับผู้ซื้อทั่วโลก ทำให้สิ่งที่เคยคิดว่ายากในการขายผลงาน หรือที่เคยคิดว่าต้องเป็นศิลปินก่อนเพื่อเดินไปหาแกลเลอรีนั้น การขายผลงานผ่าน NFT เป็นการเปิดช่องทางใหม่ๆ ในการสร้างรายได้ ซึ่งไม่ช้าเกินไปที่จะเรียนรู้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า