SHARE

คัดลอกแล้ว

‘บัตรเครดิต’ เครื่องมือทางการเงินที่สามารถทำให้คุณยืมเงินจากอนาคตมาใช้ได้ก่อน ทั้งยังสามารถเพิ่มวงเงินการใช้จ่าย ทำให้มีอำนาจการใช้จ่ายสูงกว่าที่ตัวคุณมีได้อีกด้วย

แล้วการเป็นหนี้บัตรเครดิต นับว่าอันตรายจริงหรือไม่ ในบทความนี้ เราลองมาดูกัน..

คงปฎิเสธไม่ได้ว่า ‘บัตรเครดิต’ นั้นสามารถทำให้ชีวิตใครหลายๆ คนง่ายขึ้น เพราะการใช้บัตรเครดิตทำให้คุณไม่จำเป็นต้องพกเงินสดติดตัวตลอดเวลา เพียงแค่พกบัตรใบเดียวก็สามารถจับจ่ายใช้สอยในสิ่งที่ต้องการได้แล้ว

นอกจากนี้ บัตรเครดิตยังช่วยเพิ่มอำนาจการจับจ่าย ด้วยการให้วงเงินเพิ่มขึ้นจากเงินเดือนตั้งแต่ 1.5-5 เท่า ตามแต่เงินเดือนและบริษัทบัตรเครดิตที่คุณไปทำด้วย

ถ้ามองจากตรงนี้ ก็คงดูจะไม่อันตรายเท่าไหร่นัก แถมดูจะเป็นสิ่งที่ดีเสียด้วยซ้ำ

[ บัตรเครดิตจะเริ่มอันตรายเมื่อไหร่ ]

แต่อันตรายจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ คุณเริ่มมีสัญญาณของการไม่สามารถจ่ายหนี้บัตรเครดิตที่ตัวเองก่อไว้ได้ไหว จนต้องเริ่มผ่อนชำระได้เพียงแค่ยอดขั้นต่ำของแต่ละเดือน

เนื่องจากการจ่ายหนี้บัตรเครดิตเพียงแค่ขั้นต่ำนั้น จะถือว่าอยู่ในหมวดการจ่ายบัตรเครดิตไม่ครบจำนวนภายในวันที่ครบกำหนดชำระ ทำให้เกิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นมา 2 ก้อนในเวลาเดียวกัน

โดยในส่วนที่หนึ่ง คือก้อนที่คำนวณจากมูลค่าสินค้าและบริการทั้งก้อนที่ธนาคารจ่ายให้แก่ร้านค้าไปก่อน ซึ่งจะถูกคิดดอกเบี้ยกลับไปถึงวันที่เราใช้บัตรเครดิตในสินค้าหรือบริการนั้นๆ

อีกส่วนหนึ่ง คือส่วนต่างของขั้นต่ำที่จ่ายไปกับเงินต้นที่เหลืออยู่ ซึ่งจะถูกคิดดอกเบี้ยต่อไปจนถึงรอบบิลหน้าในการจ่ายบิล เมื่อเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ดอกเบี้ยก็จะเพิ่มพูนไปเรื่อยไปรู้จบ

หรือในกรณีที่คุณมีบัตรเครดิตหลายใบและเริ่มใช้จนเต็มวงเงินทุกใบ ซึ่งนั่นก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณอันตราย เพราะในบัตรเครดิตแต่ละใบ จะให้วงเงินเกินกว่ารายได้ประมาณ 1.5-5 เท่า

และหากคุณใช้บัตรเหล่านั้นจนเต็มวงเงิน ก็หมายความว่าคุณกำลังใช้จ่ายเกินกว่าที่ตัวเองหาได้ และมีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถชำระคืนได้ในอนาคต

ที่เลวร้ายที่สุด คือการที่คุณเริ่มสร้างหนี้บัตรเครดิตจากใบหนึ่งไป จ่ายหนี้ให้กับบัตรเครดิตอีกใบหนึ่ง ซึ่งจะทำให้หนี้สะสมไปเรื่อยๆ ‘พอกพูนจนเกิดภาวะงูกินหางตนเองไปเรื่อยๆ’ จนวันหนึ่ง หนี้เหล่านั้นก็จะไม่สามารถชำระได้หมด

[ จ่ายขั้นต่ำเสียประวัติจริงไหม ]

ถึงการจ่ายขั้นต่ำจะมีข้อเสียอยู่ก็จริง แต่ข้อมูลที่ว่า การจ่ายหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำจะทำให้เสียประวัติ ติดเครดิตบูโร ติดแบล็คลิสต์ ฯลฯ ทั้งหมดนี้ ไม่เป็นความจริง

ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คนที่ชำระบัตรเครดิต แม้จะเพียงแค่ยอดขั้นต่ำของแต่ละเดือน จะไม่ถือว่าเป็นข้อมูลผิดนัดชำระหนี้ในเครดิตบูโร

เพราะปกติแล้วเครดิตบูโรจะขึ้นข้อมูลสถานะเพียงแค่ ‘ค้างชำระ’ และระยะเวลาที่ค้างชำระเท่านั้น ซึ่งท้ายที่สุดถ้าลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้หมด สถานะในเครดิตบูโรก็จะกลับมาขึ้นว่า ‘ปกติ’ เช่นเดิม

แต่บางรายที่จ่ายไม่ไหวจนต้องหยุดชำระหนี้บัตรเครดิตไปดื้อๆ เบื้องต้นธนาคารและบริษัทเจ้าของบัตรจะเริ่มติดตามทวงถามหนี้ ถามถึงสาเหตุที่หยุดจ่ายหนี้ ซึ่งช่วงนี้คุณสามารถเจรจากับบริษัทผู้ออกบัตรเบื้องต้นเกี่ยวกับปัญหาหนี้ได้

แต่หากคุณมียอดค้างชำระเกิน 3 เดือน ซึ่งในที่นี้คือจะตกชั้นกลายเป็นหนี้เสีย (NPL) ประวัติการค้างชำระหนี้ก็จะถูกส่งข้อมูลไปยังบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร)

หากปล่อยให้เลยมาถึงขั้นนี้แล้วค่อนข้างอัตราย เพราะข้อมูลการผิดนัดชำระหนี้ที่เครดิตบูโรบันทึกเอาไว้ จะส่งผลต่อการทำธุรกรรมทางการเงินในอนาคต เช่น การขอสินเชื่อต่างๆ เพราะสถาบันการเงินจะไม่ไว้ใจในการปล่อยสินเชื่อให้คุณ

แต่จนแล้วจนรอด ถ้าหาเงินมาจ่ายคืนหนี้ไม่ได้ มีหนี้ค้างนานเกินควร สถาบันการเงินเจ้าหนี้ก็อาจฟ้องคุณต่อศาลเพื่อดำเนินคดี จนอาจนำไปสู่การยึดทรัพย์

[ ถ้าจ่ายหนี้ไม่ไหวต้องทำยังไง ]

หากใครก็ตามที่กำลังเผชิญปัญหาดังกล่าวอยู่ อย่าใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบ ‘ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย’ แต่ควรรวมหนี้ทั้งหมดเป็นก้อนเดียว (Debt Consolidation)

โดยเฉพาะคนที่มีบัตรเครดิตหลายใบ การเจรจาและการจัดการหนี้จะทำได้ค่อนข้างยาก แต่เมื่อรวมหนี้เป็นก้อนเดียวแล้ว ก็จะทำให้สามารถจัดการกับรายจ่ายในแต่ละเดือนได้ง่ายขึ้น

วิธีการคือ เข้าไปเจรจากับธนาคารที่กำลังเป็นหนี้อยู่ ซึ่งแต่ละที่มีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าอยู่แล้ว เช่น ช่วยขยายระยะเวลาผ่อนชำระ หรือช่วยลดอัตราดอกเบี้ย หยุดคิดอัตราดอกเบี้ยชั่วคราว ลดหนี้ค้างชำระบ้างส่วน ฯลฯ

รวมถึงติดต่อไปยัง ‘คลินิคแก้หนี้’ ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ช่วยแก้ปัญหาหนี้ ไม่ว่าจะเป็นหนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด หนี้สินเชื่อส่วนบุคคลที่เป็นหนี้เสียได้ เมื่อยื่นเอกสารครบและผ่านเกณฑ์ที่โครงการกำหนด จะช่วยให้คุณเหลือภาระหนี้ที่ต้องผ่อนเพียง 3-5% ต่อปีเท่านั้น

[ เลือกบัตรเครดิตยังไงให้ฉลาด ]

แม้ว่าบัตรเครดิตจะมีมุมอันตรายที่ควรระวังก็จริง แต่อีกมุมหนึ่งก็เป็นตัวช่วยให้เรามีกำลังที่จะจับจ่ายสิ่งของจำเป็นได้หลายอย่าง และหากใช้ให้ฉลาด ก็สามารถเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตของเราได้

เริ่มต้นจากการเลือกบัตรเครดิต ควรดูความสามารถในการชำระหนี้ของตัวเองก่อน หากทำบัตรเครดิตแล้ว สามารถจัดการการใช้จ่ายของตัวเองได้หรือไม่ ตัวเลขแนะนำคือ ไม่ควรเป็นหนี้บัตรเครดิตเกินกว่า 65-70% ของเงินเดือน

นอกจากนี้ ต้องดูด้วยว่าบัตรเครดิตนั้นๆ มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีเท่าไหร่ บางใบอาจจะไม่มีทั้งค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีเลยก็ได้

แต่บางใบที่มี ก็สามารถยื่นขอยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีได้ หากเรามียอดใช้จ่ายถึงเกณฑ์ ซึ่งก่อนสมัครบัตรเครดิตแต่ละใบ ก็ควรประเมินการใช้จ่ายของตัวเองด้วย

[ เทคนิคที่ทำให้ไม่เป็นหนี้เกินตัว ]

ถัดมาคือเทคนิคการใช้บัตรเครดิตให้เกิดประโยชน์และฉลาดที่สุด เริ่มจากการเล่นตามกติกาของเหล่าผู้ออกบัตรเครดิตให้ได้ก่อน กฎคือ ต้องจ่ายเต็มยอดต่อเดือน และต้องจ่ายตรงตามกำหนด เมื่อทำได้แบบนี้ก็จะไม่ถูกคิดดอกเบี้ยสูง 

ซึ่งเทคนิคการเล่นตามกติกานี้ คือ ไม่ควรใช้เกินวงเงินที่จ่ายไหว เมื่อไหร่ก็ตามที่มีการรูดบัตรเครดิต ก็ควรตัดเงินในส่วนนั้นไว้รอชำระโดยทันที ไม่อย่างนั้นอาจเข้าสู่ภาวะสร้างหนี้เกินตัวได้

นอกจากการเล่นตามกติกาแล้ว ยังต้องสำรวจว่า บัตรเครดิตแต่ละใบมีสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง บางใบสามารถสะสมแต้มจากการใช้จ่ายผ่านบัตรเพื่อนำไปแลกสิทธิประโยชน์ต่างๆ ได้ เช่น ที่พัก ร้านอาหาร ไมล์แลกตั๋วเครื่องบิน หรือเครดิตเงินคืน (Cash Back)

ท้ายที่สุด อย่าสับสนระหว่าง ‘บัตรเครดิต’ กับ ‘บัตรเดบิต’ รวมถึงบัตรกดเงินสด เพราะบัตรแต่ละปรเภทมีรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกัน ไว้บทความหน้าจะรวบรวมความแตกต่างของบัตรแต่ละประเภทให้ผู้อ่านได้อ่านกัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า