SHARE

คัดลอกแล้ว

สรุป ‘ค่าเหยียบแผ่นดิน’ รัฐจะเก็บจากชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย พร้อมโปรฯ ‘ประกันภัย’

ช่วงต้นปี 2565 มีการพูดถึง ‘ค่าเหยียบแผ่นดิน’ หรือ ค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวภายในประเทศ Thailand Tourism Fee (TTF) ที่รัฐเก็บจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาประเทศไทย แต่ทว่าเรื่องดังกล่าวถูกพับเก็บไปก่อน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย อีกทั้งความพร้อมในหลายๆ เรื่อง

จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ประกาศ คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ เรื่อง การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวต่างชาติ พ.ศ…. ตามที่ คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ท.ท.ช.) เสนอ ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เรียบร้อยแล้ว

สำนักข่าว TODAY สรุปเรื่องสำคัญๆ ในประกาศ “การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวต่างชาติ” ได้ดังนี้

เก็บค่าธรรมเนียม 300 บาทต่อคนต่อครั้ง สำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศไทยผ่านช่องทางอากาศ

เก็บค่าธรรมเนียม 150 บาทต่อคนต่อครั้ง สำหรับผู้เดินทางเข้าช่องทางบก และช่องทางน้ำ

  • ยกเว้นใครบ้างที่เข้าประเทศไทยไม่ต้องเสียค่าเหยียบแผ่นดิน

– ผู้หนังสือเดินทางเพื่อการทูต กงสุล หรือการปฏิบัติราชการ (Diplomatic or Official Passport)

– ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพในประเทศไทย (Work Permit)

– ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ ตามที่กระทรวงแรงงานกำหนด

– ผู้โดยสารผ่าน (Transit Passenger)

– ทารกและเด็กอายุไม่เกิน 2 ปี

– บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติกำหนด

  • หน่วยงานไหน ทำหน้าที่จัดเก็บค่าเหยียบแผ่นดิน

– หลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวต่างชาติ เป็นเอกสารประกอบการอนุญาตเข้าเมือง

– สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) เป็นผู้ตรวจสอบหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียม เพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตเข้าเมือง

  • เก็บแล้วเงินจะไปอยู่ที่ตรงไหน

– เงินส่วนใหญ่ของค่าธรรมเนียม เข้า ‘กองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย’

1. ใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการพัฒนาการท่องเที่ยว

2. สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

3. การพัฒนาทักษะด้านการบริหาร การตลาด หรืออนุรักษ์ทรัพยากรท่องเที่ยวในชุมชน

4. ดูแลรักษาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว

5. ส่งเสริมสินค้าทางการท่องเที่ยวใหม่ในท้องถิ่น

– เงินอีกส่วน ทำประกันภัยแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ (ประกันอุบัติเหตุ) ซึ่งรอสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยประกาศรายละเอียดอีกครั้ง

ภาพโดย @TSaengrung

  • เก็บค่าเหยียบแผ่นดินแล้ว ประเทศไทยได้อะไรบ้าง

– ลดภาระงบประมาณในการดูแลเยียวยานักท่องเที่ยว

– ลดภาระงบประมาณด้านสาธารณสุข จากการเก็บค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลไม่เต็มจำนวน ซึ่งแต่ละปีต้องสูญเสียงบประมาณแผ่นดินประมาณ 300-400 ล้านบาท

– เป็นงบประมาณสำหรับการดูแลแหล่งท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ที่เกิดความเสื่อมโทรมจากการท่องเที่ยว

– เป็นงบประมาณสำหรับการดูแลพัฒนาสาธารณูปโภคที่จะสนับสนุนการท่องเที่ยวให้ปลอดภัย

  • เริ่มเก็บค่าเหยียบแผ่นดินเมื่อไหร่ 

– มีผลบังคับเมื่อประกาศการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวต่างชาติ พ้น 90 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือคาดว่า วันที่ 1 มิ.ย. 66

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

รัฐบาลเตรียมเก็บ ‘ค่าเหยียบแผ่นดิน’ นักท่องเที่ยวเข้าไทยคนละ 300 บาท

นายกฯ พอใจตัวเลขนักท่องเที่ยวหลังเปิดประเทศ หวังไตรมาส 4 ยอด 20 ล้านคน ยันยังไม่เก็บค่าเหยียบแผ่นดิน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า