SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ชัชชาติ’ ชื่นชมทีม USAR Thailand และ K9 ได้ประสบการณ์มีค่าเรื่อง ‘แผ่นดินไหว’ เผยพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นดินเหนียวเหมือนตุรกี-เม็กซิโก แต่ตำแหน่งรอยเลื่อนต่างกัน 

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อม นายวิรัตน์ มีนชัยนันท์ ประธานสภากรุงเทพมหานคร มอบโล่และวุฒิบัตรประกาศเกียรติคุณ เป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ ทีม USAR Thailand กรุงเทพมหานคร และเซียร่า ซาฮาร่า 2 สุนัขกู้ภัย K9-Thailand ที่ได้ร่วมทีม USAR Thailand ไปปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือค้นหาผู้ประสบภัยจากเหตุแผ่นดินไหวที่สาธารณรัฐตุรกี ภายใต้ชื่อ Thailand for Turkey เป็นเวลา 10 วัน

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ทีม USAR Thailand มีเจ้าหน้าที่จากสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร จำนวน 10 นาย รวมถึงมีผู้ควบคุมสุนัขและสุนัขค้นหา K9 จากมูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ร่วมทีมด้วย เป็นสิ่งที่ดีที่ได้ช่วยเหลือเหตุแผ่นดินไหวที่ตุรกี ซึ่งสถานการณ์รุนแรงและน่าเป็นห่วง ไม่ง่ายที่จะฟื้นคืน ที่ผ่านมาในช่วงที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่ตุรกี ตนก็ได้โทรศัพท์สอบถามเจ้าหน้าที่ในช่วงเช้าและค่ำทุกวัน ถึงสถานการณ์แต่ละวันว่าเป็นอย่างไร

ดีใจที่ทุกคนกลับมาอย่างปลอดภัย อาจมีป่วยบ้าง แต่ก็ปลอดภัยทุกคน รวมถึงการร่วมทีมช่วยเหลือในครั้งนี้ก็ได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแผ่นดินไหวกลับมาด้วย การที่มีเจ้าหน้าที่ไปร่วมปฏิบัติหน้าที่ ทำให้ได้เห็นเหตุการณ์จริง เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยทำให้มีองค์ความรู้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้น และอาจมีการหารือกับภาคเอกชนว่า ต้องการให้มีการสนับสนุนส่วนไหนเพิ่มเติมบ้าง เช่น สุนัขค้นหาที่มีอยู่เพียงพอไหม

อย่างไรก็ตาม เครือข่ายเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเครือข่ายเข้มแข็ง หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็จะมีเครือข่ายที่สามารถระดมกำลังมาช่วยเหลือกันได้ สามารถตอบสนองได้ดีขึ้น และจะมีการสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็เจ้าหน้าที่ที่ไปปฏิบัติหน้าที่จะเล่าประสบการณ์ให้ฟังด้วย ถือเป็นประสบการณ์ที่มีค่า ในการสัมมนาอาจพูดถึง 2 มิติ คือ ตัวอาคาร และการกู้ภัย มิติตัวอาคาร ดูว่ามาตรฐานอาคารเป็นอย่างไร มีตรงไหนที่ต้องระวัง และดำเนินการอย่างไร ส่วนมิติการกู้ภัย ดูว่ามีจุดอ่อนตรงไหนที่ต้องปรับปรุงเพื่อเป็นการเตรียมตัวให้พร้อม ทั้งนี้กรุงเทพมหานครพร้อมให้ความช่วยเหลือ และดำเนินการร่วมกันกับอาสาสมัคร โดยทีมงานจะต้องมีการพัฒนาให้เข้มแข็งขื้น

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวด้วยว่า กรณีมีการวิเคราะห์หรือตั้งข้อสังเกตว่าลักษณะโครงสร้างอาคารในประเทศไทยรวมถึงชั้นดินคล้ายกับตุรกีนั้นอาจเหมือนที่เม็กซิโกด้วย ที่พื้นดินมีลักษณะเป็นดินเหนียว แต่แตกต่างกันคือตำแหน่งรอยเลื่อน อาจต้องถามผู้ที่มีความรู้หรือผู้เชี่ยวชาญทางนี้ เข้าใจว่าตอนนี้กรุงเทพมหานครก็มีมาตรฐานการออกแบบตึกแบบโซน 2 ซึ่งตึกหลังปี 2550 อาจมีการพิจารณาแล้วส่วนหนึ่ง สำหรับแผ่นดินไหวแรงมาจากด้านข้างไม่ใช่ด้านบน การออกแบบตึกเผื่อแรงลมก็อาจช่วยเรื่องแผ่นดินไหวได้ส่วนหนึ่ง ต้องมีการไปดูและแบ่งกลุ่มว่าอาคารประเภทไหนมีความเสี่ยงสูง หรือว่าอาคารประเภทไหนที่ต้องมีการแก้ไข

ภาพจาก : ประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ทำความรู้จัก ‘เซียร่า-ซาฮาร่า’ สุนัขกู้ภัย กับภารกิจช่วย ‘แผ่นดินไหวตุรกี’

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า