SHARE

คัดลอกแล้ว

ใครเคยได้ยินประโยคที่ว่า “ไม่เลือกงานไม่ยากจน” มีอะไรก็ทำๆ ไปก่อน ยิ่งเศรษฐกิจแบบนี้ ไม่ว่าจะเจอปัญหาอะไรในที่ทำงานก็อย่าเพิ่งลาออก รักษางานประจำไว้ดีที่สุด

จนเหมือนกับว่า ‘อำนาจต่อรอง’ ของลูกจ้างหรือพนักงานนั้นมีน้อยนิดเหลือเกิน

แต่ถึงอย่างนั้น เทรนด์ล่าสุดของปี 2023 ดูเหมือนจะไม่ใช่แบบนั้นอีกต่อไปแล้ว หลังผลสำรวจล่าสุดของ JobsDB บอกว่าคนทำงานส่วนใหญ่มั่นใจว่ามีอำนาจต่อรองที่แข็งแกร่ง และเปิดโอกาสให้งานใหม่ๆ เสมอ

[ คน 74% ได้รับการติดต่อเรื่องงานใหม่ปีละหลายครั้ง ]

โดย SEEK บริษัทแม่ของ JobStreet และ JobsDB ร่วมกับ Boston Consulting Group (BCG) และ The Network จัดทำผลสำรวจใหม่ล่าสุดในหัวข้อ “สิ่งที่ผู้สมัครอยากให้ผู้ประกอบการรู้: อนาคตแห่งการจ้างงาน และการสรรหาที่เปลี่ยนไป”

โดยมีผู้ร่วมตอบแบบสอบถามรวม 97,324 คน จากอินโดนีเซีย ฮ่องกง มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และประเทศไทย

ซึ่งผลสำรวจพบว่า 34% ของผู้ตอบแบบสอบถามกำลังมองหางานใหม่ ทั้งนี้ เหตุผล 3 อันดับแรกที่ทำให้ผู้สมัครงานเริ่มมองหางานใหม่คือ

  1. ต้องการมองหาตำแหน่งที่น่าสนใจกว่าหรือตำแหน่งสูงขึ้นกว่าเดิม (49%)
  2. งานที่ทำอยู่ปัจจุบันมีโอกาสในการเติบโตน้อย (30%)
  3. เงินเดือนและสวัสดิการในปัจจุบันยังไม่น่าพอใจ (27%)

จากผลสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามยังคงรู้สึกมั่นใจที่จะมองหาโอกาสใหม่ๆ แม้จะกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็ยังรู้ว่าตัวเองยังคงเป็นที่สนใจของของผู้ประกอบการอยู่

โดยจากการสำรวจพบว่า 74% ของผู้สมัครงานทั่วภูมิภาค ได้รับการติดต่อเรื่องตำแหน่งงานใหม่ ๆ ปีละหลายครั้ง และ 36% ได้รับการติดต่อทุกเดือน สำหรับในประเทศไทย ตัวเลขเหล่านี้ค่อนข้างสูงอยู่ที่ 68% และ 34% ตามลำดับ

นอกจากนี้ 70% ของผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคนี้ และ 68% ของไทย รู้ว่าอำนาจในการเจรจาต่อรองในตำแหน่งงานต่าง ๆ ยังคงเป็นของพวกเขาเช่นกัน

‘ปีเตอร์ บิโธส’ (Peter Bithos) ประธานกรรมการบริหาร SEEK Asia บอกว่า “เมื่อเศรษฐกิจมีแนวโน้มเริ่มถดถอย ผู้ประกอบการเริ่มชะลอการจ้างงาน ดุลอำนาจในตลาดแรงงานจึงมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนจากผู้หางานมาเป็นผู้ประกอบการ

อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าสถานการณ์ครั้งนี้แตกต่างออกไป จากการที่หลายองค์กรในเอเชียยังคงฟื้นตัวจากงานที่สูญเสียไปในช่วงโควิด-19 สถานการณ์อัตราการจ้างงานอาจชะลอตัวท่ามกลางความไม่แน่นอน

“เราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า ณ ขณะนี้ ตลาดงานยังคงเป็นตลาดของผู้สมัครงาน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องรู้วิธีดึงดูด สรรหา และรักษาบุคลากรที่มีความสามารถเอาไว้”

[ สายเทคฯ ยังเป็นที่ต้องการ ]

คุณปีเตอร์ยังกล่าวถึงกระแส Tech Layoff หรือการปลดคนอย่างต่อเนื่องของบริษัทเทคโนโลยีด้วยว่า แม้จะมีการเลิกจ้างพนักงานสายนี้เป็นจำนวนมาก แต่ความต้องการบุคลากรที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีนั้นยังมีอยู่

“พนักงานสายเทคโนโลยีที่โดนเลย์ออฟ อาจจะหางานในอุตสาหกรรมเดิมได้ยาก แต่อุตสาหกรรมอื่นที่ต้องใช้คนที่มีสกิลหรือตำแหน่งทางด้านเทคโนโลยีนั้นยังมีอยู่

“อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาบริษัทเทคฯ ให้เงินเดือนสูงมากเพื่อแย่งชิงคนทำงาน แต่ในเวลาเช่นนี้ที่เกิดกระแสปลดคน การย้ายที่ทำงานแล้วได้เงินเดือนโดดขึ้น 20% อาจจะเป็นเรื่องยากของคนในอุตสาหกรรมนี้”

[ Work-Life Balance คือสิ่งที่คนต้องการมากสุด ]

ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (71%) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกงกล่าวว่า สิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุดคือ งานที่มั่นคง และ ความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงาน

เช่นเดียวกับผู้ตอบแบบสำรวจในไทยจำนวน 77% ที่ต้องการสิ่งเดียวกัน โดยความต้องการดังกล่าวเป็นไปในทิศทางเดียวกันจากผู้สมัครที่ร่วมตอบแบบสำรวจในทุกตำแหน่งงาน ทุกตลาด และทุกช่วงอายุ

ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับปัจจัยชี้ขาดที่ผู้สมัครงานใช้ตัดสินใจเมื่อหางานใหม่ โดยผู้สมัครงานมองว่าความสมดุลระหว่างชีวิตและงาน (17%) เป็นปัจจัยชี้ขาดที่สำคัญรองจากค่าตอบแทนทางการเงิน (22%)

นอกจากนี้ จำนวนวันลาหยุดและความมั่นคงของงานเป็นปัจจัยชี้ขาดอันดับ 3 ที่ผู้สมัครงานให้ความสำคัญ

‘ซาการ์ โกเอล’ (Sagar Goel) พาร์ทเนอร์และผู้ช่วยผู้อำนวยการ BCG กล่าวว่า ความคาดหวังของผู้คนที่มีต่องานเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ผู้สมัครงานส่วนใหญ่ไม่ต้องการใช้ชีวิตเพื่อทำงานอีกต่อไป แต่พวกเขาต้องการทำงานเพื่อใช้ชีวิต

“ผู้ประกอบการต้องเข้าใจว่า เงินเดือนที่สูงอาจเป็นหนทางหนึ่งในการดึงดูดคนมีความสามารถ อย่างไรก็ตาม เงินเดือนดังกล่าวไม่อาจรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรได้ในระยะยาว

“โดยผู้หางานในปัจจุบันหันมาให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมที่ส่งเสริมความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน สร้างความยืดหยุ่น และต่อยอดความสัมพันธ์ที่ดีในที่ทำงาน”

[ ผู้คนติดใจการทำงานแบบไฮบริด ]

คุณปีเตอร์ กล่าวว่า การทำงานแบบไฮบริดในช่วงโควิดทำให้คนทำงานได้ลิ้มลอง work-Liife Balance และติดใจกับสิ่งนี้ โดยจากผลสำรวจพบว่า 62% ของผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่าอยากทำงานแบบไฮบริด ส่วน 27% บอกว่าอยากกลับไปทำงานที่ออฟฟิศเต็มรูปแบบ

และมีเพียง 20% ที่บอกว่าอยากทำงานแบบไม่ต้องเข้าออฟฟิศเลย แสดงให้เห็นว่าจริงๆ แล้วผู้คนก็อยากเจอกับทีม อยากอยู่ในวัฒนธรรมองค์กร แต่ไม่อยากเข้าออฟฟิศ 5 วันเท่านั้นเอง

‘ดวงพร พรหมอ่อน’ กรรมการผู้จัดการ JobsDB Thailand กล่าวว่า สำหรับประเทศไทย ผู้สมัครงานมากถึง 72% ต้องการการทำงานแบบไฮบริด ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกถึง 18% และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกง 10%

‘ดวงพร พรหมอ่อน’ กรรมการผู้จัดการ JobsDB Thailand

ทั้งนี้ ตลาดแรงงานไทยนับเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่ตำแหน่งงานที่ได้รับการเสนองานบ่อยเป็นอันดับ 1 ไม่ใช่สายงานด้านไอที แต่เป็นสายงานผู้ใช้แรงงาน (58%) และภาคธุรกิจบริการ (57%)

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงต้องการบุคลากรในสายงานไอทีเป็นจำนวนมาก สะท้อนจากจำนวนการเสนองานต่อสัปดาห์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากธุรกิจในหลายอุตสาหกรรมล้วนปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

[ กระบวนการจ้างงานแบบไหน ที่ผู้สมัครงานมองหา ]

การสำรวจนี้ยังได้หักล้างและพิสูจน์ความเชื่อผิด ๆ ในการจัดหางานหลายประการ รวมถึงให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้สมัครงานต้องการบนเส้นทางการสมัครงาน ตัวอย่างเช่น

-กระบวนการสรรหาที่ราบรื่นและรวดเร็วเป็นปัจจัยอันดับแรกที่จะสร้างความแตกต่างระหว่างผู้ประกอบการในระหว่างกระบวนการการคัดสรรบุคลากร (67%)

-49% ของผู้สมัครงานจะปฏิเสธข้อเสนองานที่น่าดึงดูด หากพวกเขาเผชิญกับประสบการณ์เชิงลบ เช่น มีการปฏิบัติต่อผู้สมัครเหมือนไม่ใช่คนเท่ากัน

-แพลตฟอร์มการจัดหางานเป็นช่องทางยอดนิยมที่ใช้ในการสมัครงาน ในขณะเดียวกันคำแนะนำของเพื่อน ก็ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการกระตุ้นความสนใจคนที่ไม่ได้กำลังมองหางานให้เริ่มหางาน

อย่างไรก็ตาม สำหรับในประเทศไทย การติดต่อส่วนตัวจากคนในแวดวงอาชีพเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะกระตุ้นความสนใจ และหากพวกเขาเกิดความสนใจแล้ว ส่วนใหญ่มักจะหาข้อมูลเพิ่มเติมผ่านทางโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ของบริษัทต่อไป

-เครื่องมือดิจิทัลเพื่อช่วยในการคัดสรรพนักงานที่ล้ำสมัยในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมแม้กระทั่งในกลุ่มคนรุ่นใหม่ หลายคนชอบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในช่วงกระบวนการคัดสรรบุคลากร

โดยมีเพียง 24% ที่ระบุว่ารู้สึกสบายใจกับการเข้าร่วมการสัมภาษณ์อัตโนมัติที่ใช้เทคโนโลยี AI ในการสัมภาษณ์

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า