SHARE

คัดลอกแล้ว

คุณดูโทรทัศน์ครั้งล่าสุดเมื่อไหร่…?

ในยุคที่ผู้คนหันมาใช้สื่อและรับชมคอนเทนต์จากโลกออนไลน์เป็นกิจวัตรประจำวัน จนธุรกิจสตรีมมิ่งเปิดตลาดแข่งขันกันอย่างดุเดือด ผู้บริหารในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ของสหรัฐฯ กลับประเมินว่าอุตสาหกรรมโทรทัศน์จะยังไม่ตายในเร็ววันนี้

Streaming มาแรง คนดูทีวีน้อยลง

สมัยก่อน โทรทัศน์เป็นหนึ่งในเครื่องมือหลักในการเปิดรับข่าวสารและความบันเทิงในชีวิตประจำวัน แต่ปัจจุบันนี้ รายการที่เคยอยู่เฉพาะในโทรทัศน์มีช่องทางการเผยแพร่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผ่านช่องทางออนไลน์ อย่างบริการสตรีมมิ่งต่าง ๆ 

ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระบุว่าคนไทยราว 26 ล้านคนหรือเกือบ 1 ใน 3 ของประชากรไทยรับชมคอนเทนต์ผ่าน OTT (Over-The-Top) หรือบริการรับชมวิดีโอตามความต้องการ (Video on Demand) และคนไทย 92% ของคนไทยใช้บริการสตรีมมิ่งมากกว่า 1 แพลตฟอร์ม

ด้าน Nielsen บริษัทสำรวจและวิจัยด้านการตลาด พบว่าเทรนด์การรับชมสตรีมมิ่งของไทย กลับมีลักษณะเหมือนการรับชมโทรทัศน์ 

แพลตฟอร์มที่ให้บริการ Video on Demand อย่าง Netflix และ Disney+ Hotstar ประกาศเริ่มให้บริการแพ็กเกจแบบมีโฆษณาคั่นในต่างประเทศ ซึ่งเป็นแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นในประเทศไทยเช่นกัน

นอกจากนี้ เทรนด์ FAST (Free Ad Supported TV) หรือการรับชมโทรทัศน์ผ่านช่องทางออนไลน์ของสถานีโทรทัศน์ พร้อมโฆษณาแทรกระหว่างรายการ ในปี 2022 มีผู้ชมเพิ่มขึ้น 36% (จากจำนวนผู้ชม 32% ในปี 2021) สะท้อนว่าคนไทยยอมรับชมโฆษณาแลกกับการรับชมคอนเทนต์ฟรี

ผู้บริหารทีวีในสหรัฐฯ มองว่าทีวีไม่ตาย

สำนักข่าว CNBC ร่วมพูดคุยกับผู้บริหารและผู้มีอิทธิพลในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ของสหรัฐฯ มากกว่า 10 คนด้วยคำถามเดียวกันว่า ‘ในอีก 3 ปีข้างหน้า โทรทัศน์แบบดั้งเดิมจะตายและกลายเป็นตำนานหรือไม่’

Bill Simmons ผู้บริหาร The Ringer Founder บอกว่าช่วงเวลา 3 ปีสำหรับเขานั้นสั้นเกินไป

“เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา เวลาคุณบอกว่าวิทยุตายแน่นอน จะไม่มีใครเถียงคุณเลย ถึงตอนนี้การแข่งขันจากพอดแคสต์, สตรีมมิ่ง, Tiktok และสื่ออื่น ๆ จะดุเดือดมากขึ้น ตลาดโฆษณาจะดุเดือดมากขึ้น วิทยุยังสามารถรอดมาได้อย่างหวุดหวิด โทรทัศน์ก็จะไปในทิศทางเดียวกัน”

ผู้บริหารส่วนใหญ่มองไปในทิศทางเดียวกันว่าวงการโทรทัศน์จะยังไปต่อได้ เพียงแต่เม็ดเงินโฆษณาจะลดลงไปเรื่อย ๆ 

Bela Bajaria ผู้อำนวยการด้านคอนเทนต์ของ Netflix บอกว่า ตั้งแต่เริ่มเข้ามาวงการนี้ในปี 1996 ทุกคนบอกว่าโทรทัศน์กำลังจะตาย แต่ตอนนี้คนดูโทรทัศน์ก็ยังมีจำนวนมาก โดยเฉพาะคอนเทนต์กีฬาและข่าว เธอมองว่าส่วนแบ่งเม็ดเงินจะลดลง จำนวนผู้ชมจะลดลง แต่โทรทัศน์จะไม่หายไปแน่นอน

สำนักข่าว BBC

แต่สถานีวิทยุและโทรทัศน์แห่งชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอย่าง BBC ของอังกฤษเตรียมยกเลิกการออกอากาศทางวิทยุและโทรทัศน์ พร้อมยกระดับเป็นสื่อออนไลน์เต็มตัวภายในปี 2032 

Tim Davie ผู้อำนวยการใหญ่สำนักข่าว BBC ระบุว่าสาเหตุที่เปลี่ยนรูปแบบการออกอากาศมาจาก เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา โทรทัศน์สามารถเข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้ 80% ต่อสัปดาห์ แต่ปัจจุบันสามารถเข้าถึงคนทุกเพศทุกวัยได้เพียง 50% เท่านั้น 

“ขณะนี้มีผู้ใช้งานเว็บไซต์ของ BBC ราว 30 ล้านครั้ง และจำนวนผู้ชมวิดีโอของ BBC ในสหราชอาณาจักร มีจำนวนมากกว่า Netflix, Amazon Prime และ Disney+ รวมกัน”

ผู้อำนวยการใหญ่สำนักข่าว BBC ย้ำว่าในอนาคต แนวโน้มผู้ชมโทรทัศน์จะลดลง และผู้ชมส่วนมากจะหันมาใช้อินเทอร์เน็ตแบบ 100% 

BBC ต้องปรับตัวต่อเรื่องนี้ ด้วยการกระโดดลงมาเล่นในตลาดออนไลน์ที่มีผู้เล่นเยอะอยู่แล้ว ซึ่งนับว่าเป็นความเสี่ยง เพราะผู้ชมชาวอังกฤษในพื้นที่ชนบท กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มคนที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ลำบากอาจถูกตัดขาดจากการเป็นผู้ชมของ BBC

ทีวีดิจิทัลไทยจะอยู่รอดหรือไม่

Nielsen มองว่าทีวีดิจิทัลไทยยังเติบโตอยู่ โดยค่าใช้จ่ายงบโฆษณาในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม – ตุลาคม 2565) มีมูลค่าอยู่ที่ 98,025 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.48% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 

ทีวีดิจิทัลเป็นสื่อที่ได้รับงบโฆษณาสูงสุดในช่วงเดือนมกราคม – ตุลาคม 2565 ที่ 52,626 ล้านบาท

ประเภทคอนเทนต์ที่ช่วยดึงดูดให้คนหันกลับมาดูทีวีคือรายการข่าวและละคร สถานีโทรทัศน์หลายช่องจึงปรับผังรายการและเลือกผู้ประกาศข่าวที่สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ชมได้ และพยายามผลิตคอนเทนต์ที่สามารถสร้างความบันเทิงทั้งผ่านทางสถานีและตามแพลตฟอร์ม OTT ได้ด้วย

ขณะที่ สุเทพ วิไลเลิศ ผู้ปฏิบัติงานประจำสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว TODAY Bizview ว่านับตั้งแต่มีการประมูลทีวีดิจิทัลในปี 2557 อุตสาหกรรมทีวีก็มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากเศรษฐกิจภาพรวมที่ชะลอตัว และพฤติกรรมของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงการรับชมไปสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ ทำให้จากเดิมที่เคยมีทีวีดิจิทัล 24 ช่องเหลือ 15 ช่อง รวมถึงช่องดาวเทียมและเคเบิลก็ได้รับผลกระทบด้วย

ด้านผู้โฆษณาหันมาลงทุนกับแพลตฟอร์ม OTT มากขึ้น ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของทีวีถูกแบ่งไปให้ผู้บริการ OTT ด้วย และในปัจจุบันยังไม่มีการจัดเก็บภาษีผู้ให้บริการ OTT ในไทย

นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ทำให้ผู้ชมที่อายุต่ำกว่า 40 ปีหันมารับชมคอนเทนต์ผ่าน OTT มากขึ้น โดยเฉพาะเด็กเยาวชนไม่เลือกรับชมผ่านทีวีแบบเดิมแล้ว การรับชมรายการทีวีที่ต้องรับชมอยู่หน้าเครื่องรับโทรทัศน์แบบเดิมจะลดน้อยลง 

“อนาคตของธุรกิจโทรทัศน์จะไปต่อได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการปรับตัวของผู้ประกอบกิจการในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ รวมถึงนโยบายขององค์กรกำกับอย่างกสทช. ว่าจะมีทิศทางอย่างไร ธุรกิจโทรทัศน์อาจจะไม่สามารถอยู่ในรูปแบบเดิมได้ การขยายตัวของ OTT และการพัฒนาเนื้อหารายการ เพื่อให้สามารถอยู่ในตลาดของไทยและส่งออกไปยังต่างประเทศ จึงอาจเป็นทิศทางหนึ่ง แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อยุติ”

หลังจากนี้ต้องจับตาดูว่า ในปี 2572 ที่ทีวีดิจิทัลทั้ง 15 ช่องจะสิ้นสัญญาใบอนุญาตทีวีดิจิทัล บรรดาผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลจะยังสนใจสถานีโทรทัศน์กันอยู่หรือไม่

 

ที่มา :

https://www.cnbc.com/2023/02/07/future-of-tv-predictions.html

https://workpointtoday.com/thai-streaming-platform/

https://workpointtoday.com/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%95-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88/

https://www.bbc.co.uk/mediacentre/speeches/2022/tim-davie-director-general-royal-television-society

https://www.brandbuffet.in.th/2023/01/key-media-trends-to-watch-out-for-2023-by-nielsen/

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า