SHARE

คัดลอกแล้ว

กอดแม่ = ไม่ได้ กอดผู้ชาย = อาบัติเล็กน้อย เจริญพร ‘แพรรี่ ไพรวัลย์’ ฟาดเดือดปม ‘หุ่นพยนต์‘ ถูกจัดให้อยู่ในเรต ฉ.20 ตัดฉากเณรกอดแม่ในหนังออก ถามพระจริงกอดผู้ชาย ไม่มีปัญญาจัดการ 

กลายเป็นกระแสร้อนแรงในโลกโซเชียลสำหรับภาพยนตร์เรื่อง ‘หุ่นพยนต์‘ ที่คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์จัดให้เป็นภาพยนตร์เรต ฉ.20+ ห้ามผู้ชมที่อายุต่ำกว่า 20 ปีเข้าชม และต้องมีการตรวจบัตรประชาชนที่หน้าโรงภาพยนตร์ ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551

และตัดฉากที่ทำศาสนาพุทธเสื่อมเสียออก เช่น เณรชกต่อยกัน, ฉากที่มีการพูดคำหยาบคาย, ฉากฆ่าคนขโมยของ ขณะที่ไมค์-ภณธฤต โชติกฤษฎาโสภณ ผู้กำกับได้โพสต์อินสตาแกรมบอกว่า กองเซนเซอร์สั่งตัดออกในภาพยนตร์คือฉาก ‘เณรกอดผู้หญิง’ พร้อมอธิบายว่า

“ผู้หญิงที่เณรกอดคือแม่ แม่ผู้ให้กำเนิด แม่อยู่ในอาการหวาดกลัวร้องไห้ และตกใจ ที่ลูกสาว (พี่สาวเณร) โดนผีเข้า สิ่งที่เณรทำคือเข้าไปดูแลและปกป้องแม่ตัวเอง เพราะเณรก็ตกใจในอาการที่แม่เป็น แต่ต้องเข้าไปดูแม่ตัวเอง” 

ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในโลกโซเชียล เหมือนเป็นการดูถูกผู้ชมว่าไม่สามารถแยกแยะถูกต้องได้ และต้องปิดหูปิดตาดูเท่าที่ผู้ปกครองอนุญาต

และล่าสุด แพรรี่ -ไพรวัลย์ วรรณบุตร ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวระบุข้อความว่า

“สงสารผู้บริโภคภาพยนตร์ในสังคมไทยนะ เอาจริงๆ ทำไมเราต้องมาฝากวิจารณญาณการแยกแยะถูกผิดไว้กับสติปัญญา (ซึ่งไม่รู้ว่ามีหรือเปล่า) ของคนแก่คร่ำครึไม่กี่คน อันนี้สงสัย ปล. กูโตแล้วค่ะ กูแยกแยะเองได้ แค่จัดเรทก็เกินพอล่ะ”

และหลังจากนั้นก็มีการโพสต์และแชร์ภาพฉากเณรกอดแม่ในหนัง และบอกว่า กอดแม่ = ไม่ได้ กอดผู้ชาย = อาบัติเล็กน้อย เจริญพร นอกจากนี้แพรี่ยังได้แสดงความคิดเห็นในช่องคอมเมนต์ด้วยว่า คนดูหนัง เขาอยากดูสิ่งที่สะท้อนอารมณ์ความรู้สึกและความจริงค่ะ เขาไม่ได้ต้องการดูสารคดีแบบที่จืดชืดไร้จิตวิญญาณของกรมประชาสัมพันธ์

https://www.facebook.com/paivan01/posts/pfbid0AatKFv9ZguG5BPjid64mQ3UQ1UftZVbD1BtHEz1P7goLmiXckwqQ33r5faYN4Hcil

  • เรียกร้องปฏิรูปกฎหมายภาพยนตร์

ก่อนหน้านี้ (8 มี.ค. 2566) สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทยออกแถลงการณ์ เรื่อง ผลการพิจารณาจัดเรตภาพยนตร์เรื่องหุ่นพยนต์ ระบุว่า

จากกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ กระทรวงวัฒนธรรม ได้มีคำสั่งให้ภาพยนตร์เรื่องหุ่นพยนต์ ของ ภณธฤต โชติกฤษฎาโสภณ ต้องตัดทอนฉากต่างๆ ออก เพื่อให้ได้รับ เรท ฉ 20- มิฉะนั้นภาพยนตร์จะถูกห้ามฉาย ซึ่งคำสั่งที่เกิดขึ้นนอกจากจะส่งผลกระทบต่อผู้สร้างภาพยนตร์ คนทำงานแล้ว ก็ยังส่งผลกับผู้ชมภาพยนตร์ทั่วไปที่ถูกปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการชมภาพยนตร์ ด้วยคำสั่งที่มาจากดุลยพินิจของคนเพียงไม่กี่คน เพราะแม้จะมีการจัดเรตติ้งภาพยนตร์แล้ว แต่คณะกรรมการก็ยังสามารถสั่งตัดทอนเนื้อหาภาพยนตร์ และสั่งห้ามฉายภาพยนตร์ได้โดยยึดดุลยพินิจของคณะกรรมการเป็นหลัก

สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทยเห็นด้วยกับการใช้ระบบเรตติ้งภาพยนตร์ เพื่อจัดระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์สำหรับผู้ชมภาพยนตร์ตามช่วงวัย แต่สมาคมฯ ขอคัดค้านการใช้อำนาจของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ในการตัดทอนเนื้อหาของภาพยนตร์และการแบนภาพยนตร์ในทุกกรณี และขอคัดค้านผลการพิจารณาภาพยนตร์ในครั้งนี้ และจะร่วมมือกับผู้ผลิตภาพยนตร์และผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง หุ่นพยนต์ ในการคัดค้านผลการพิจารณา และดำเนินการในขั้นต่อไป

สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทยขอเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกฎหมายภาพยนตร์ จากการที่พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ไม่เพียงแต่ไม่ก่อให้เกิดการสนับสนุนวงการภาพยนตร์ไทยอย่างเป็นรูปธรรมเท่านั้น ยังเน้นเพียงแต่ให้ภาพยนตร์ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบราชการ จึงจำเป็นต้องมีการปฏิรูปกฎหมายนี้เพื่อคืนสิทธิเสรีภาพในการผลิตและรับชมภาพยนตร์ให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ และเพื่อให้กฎหมายฉบับนี้เป็นประโยชน์กับวงการภาพยนตร์และประชาชนอย่างแท้จริง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า