SHARE

คัดลอกแล้ว

สรุปปมพบ ‘ซีเซียม-137’ ที่สูญหาย พบแล้วแต่ยังไม่น่าไว้วางใจ

– เป็นประเด็นที่สังคมจับตามอง หลังจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีประกาศว่า วัตถุกัมมันตรังสี ‘ซีเซียม-137’ (Cesium-137, Cs-137) สูญหายไปจากโรงไฟฟ้าแห่งหนึ่ง ในอำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี

– ลักษณะของ ‘ซีเซียม-137’ ที่หายไป เป็นแท่งทรงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว หนัก 25 กิโลกรัม มีตะกั่วปกป้องอยู่ชั้นในและห่อหุ้มด้วยเหล็ก

– กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ประกาศตั้งเงินรางวัลถึง 100,000 บาท ให้กับผู้ชี้เบาะแสนำไปพบซีเซียม -137 แต่วันเวลาผ่านไปข่าวยังเงียบ

– แต่แล้วช่วงค่ำๆ ของวันที่ 19 มี.ค. 66 มีข่าวการพบ ‘ซีเซียม-137’ ที่สูญหายแล้ว จากนั้นเวลา 22.15 น. สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดปราจีนบุรี จึงยืนยันข่าวนี้อย่างเป็นทางการว่า เป็นความจริง ที่พบซีเซียม-137 แล้ว พร้อมระบุว่า แต่ข่าวต่างๆ ที่ออกไปก่อนยังมีรายละเอียดไม่ถูกต้อง ขอให้รอการแถลงรายละเอียด นำโดยนายรณรงค์ นครจินดา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ในวันนี้ (20 มี.ค. 66) เวลา 11.00 น.

https://www.facebook.com/prd.prachinburi/posts/pfbid02LtNru5SVbnuCYyG13VDcMFEZmcZ9DpuW5rmeieuaMe6Kv3QNbEKVyTZ8th7SasVTl

 

ตรวจพบซีเซียม-137 ขณะถูกหลอม?

– อย่างไรก็ตาม เช้าวันนี้ เพจเฟซบุ๊ก สรยุทธ์ สุทัศนะจินดา กรรมการข่าว ระบุว่า อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เผย ซีเซียม-137 ถูกหลอมถลุงเป็นฝุ่นแดงแล้วคาดส่งต่อไปโรงงานรีไซเคิล

– สำนักข่าว TODAY ได้สอบถามไปทางจังหวัดปราจีนบุรีแล้ว แต่ทางจังหวัดยืนยันให้รอฟังการแถลงข่าวในวันนี้ เพราะขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดเช่นกัน ซึ่งมีรายงานว่า ทางสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จะมาร่วมแถลงข่าวด้วย

แพทย์ให้ข้อมูลที่ค้นคว้าเองถึงอันตราย ถ้า ซีเซียม-137 ถูกหลอมแล้ว

นพ.สมรส พงศ์ละไม แพทย์ประจำศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เปิดเผยผ่าน Somros MD Phonglama ว่า ถ้า Cesium-137 ถูกหลอมเผาไหม้และกลายเป็นไอ สามารถออกไปได้เป็นหลักร้อยถึงพันกิโลเมตรขึ้นกับลม (เหตุการณ์ที่ Chernobyl พบว่า Cesium-137 ปลิวไปถึงสวีเดน 1,000 กิโลเมตร) และทำร้ายสิ่งมีชีวิตได้ทั้งการสัมผัสโดยตรง การกิน และการหายใจ

Cesium-137 จะสะสมในดิน น้ำ อาหาร ทำให้เกิดผลเสียต่อสัตว์และมนุษย์ ปลา นก ไก่ หมู หมา แมว วัว ฯลฯ อนุภาคบีต้าและรังสีแกมมา จะทำลาย DNA, ทำให้เกิด mutation ถ้าไม่ตายก็เกิดมะเร็งต่อ โดยเฉพาะมะเร็งเม็ดเลือดขาวและไทรอยด์ Cesium 137 มีค่าครึ่งชีวิต 30 ปี ดังนั้นจะใช้เวลาในธรรมชาติไม่ต่ำกว่า 100 ปีจึงจะสลายหมด คนที่จะได้รับผลกระทบน่าจะหลายแสนและเป็น 100 ปี จะมีคนเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวและไทรอยด์เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในพื้นที่เสี่ยงคนที่คิดว่า เสี่ยงต่อการสัมผัส Cesium-137 ควรเฝ้าระวังเร่งด่วน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ผิวหนังไหม้โดยไม่ทราบสาเหตุ

นพ.สมรส ระบุด้วยว่า รัฐควรเก็บบันทึกข้อมูลอย่างโปร่งใส มีโอกาสที่คนจะสัมผัสปริมาณมาก ยิ่งคนที่อยู่ใกล้ในระยะ 5-10 เมตร น่าจะอันตรายมาก (ไม่รู้ว่าระยะจริงที่ปลอดภัยเท่าไหร่ เพราะขึ้นกับความเข้มข้นที่เหลืออยู่และ shield ที่ป้องกัน)

ทั้งนี้ นพ.สมรส โพสต์ทิ้งท้ายว่า รอการประกาศเร่งด่วนอย่างเป็นทางการและโปร่งใสจากหน่วยงานของรัฐ และว่า ข้างต้นเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ได้ค้นเอง ออกตัวไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านปรมาณู

กรมการแพทย์ แนะแนวทางป้องกันอันตรายจาก ซีเซียม-137

นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ปกติซีเซียม-137 มีลักษณะเป็นของแข็ง คล้ายผงเกลือ สามารถฟุ้งกระจายได้เมื่อแตกออกจากที่ห่อหุ้มไว้ ถูกนำมาใช้งานต่างๆ เช่น ในอุปกรณ์วัดความชื้น วัดอัตราการไหลของเหลว วัดความหนาวัสดุ โดยจะสลายตัวให้รังสีบีตาและแกมมา ที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพได้โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสรังสีปริมาณมากแบบทั้งร่างกายทำให้เกิดความผิดปกติจากการได้รับรังสีสูงแบบเฉียบพลัน

แบ่งออกได้ 3 กลุ่มอาการ ระบบผลิตเลือด ระบบทางเดินอาหาร และ ระบบประสาทกลาง หรือกรณีที่ได้รับรังสีบางส่วนร่างกายหรือปริมาณไม่สูงทำให้เกิดอาการด้านผิวหนังจากรังสี โดยมีปัจจัยที่สำคัญ คือ ปริมาณรังสีที่ได้รับ ระยะเวลาสัมผัส ระยะห่างจากแหล่งกำเนิดรังสี และ มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันรังสีหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีข้อบ่งชี้ว่า วัตถุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ที่สูญหายได้หลุดออกจากเครื่องกำบัง การได้รับปริมาณรังสีที่แผ่ออกมาจากซีเซียม-137 เป็นระยะเวลาสั้นๆ จะไม่ส่งผลให้เกิดอันตรายที่เห็นผลชัดเจนในทันทีแต่อย่างใด แต่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงที่สูงขึ้นในการเกิดโรคมะเร็งได้

หากมีการชำแหละส่วนกล่องโลหะ อาจทำให้รังสีมีการการสัมผัสและการปนเปื้อนรังสีมากขึ้นได้ เมื่อสงสัยว่าสัมผัสปนเปื้อนรังสี การลดการปนเปื้อน ซึ่งทำได้ทั้งแบบแห้ง เช่น การปัดออก เปลี่ยนเสื้อผ้า หรือแบบเปียก โดยการล้างด้วยน้ำ เพื่อเป็นปกป้องผู้สัมผัส บุคลากรทางการแพทย์และสถานที่

ขณะที่ นายแพทย์กิติพงษ์ พนมยงค์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ ด้านเวชกรรม สาขาเวชกรรมทั่วไป หัวหน้ากลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ บอกว่า หากผู้ใดมีอาการสงสัยจากการสัมผัสรังสี เช่น ผื่นแดงตามผิวหนัง ผมร่วง แผลเปื่อย คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย รวมทั้งการเข้าใกล้หรือสัมผัสวัตถุต้องสงสัย ให้รีบประสาน อสม.หรือ พบแพทย์ที่สถานพยาบาล พร้อมทั้งแจ้งความเสี่ยงสัมผัสต่อเจ้าหน้าที่ โทร.สสจ.ปราจีนบุรี 037211626 ต่อ 102 หรือ ติดต่อสถาบันอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์ รพ.นพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ โทร.025174333

ทั้งนี้ ผู้ใดที่พบเห็นวัตถุต้องสงสัย หรือวัสดุที่มีลักษณะดังกล่าวข้างต้นนี้ โปรดหลีกเลี่ยงการสัมผัสและเข้าไปอยู่ใกล้ชิดและรีบแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ที่สายด่วนแจ้งเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี โทร. 1296

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า