SHARE

คัดลอกแล้ว

หลายภาคส่วนมองพรรคการเมืองขายฝันค่าแรงขั้นต่ำ หวั่นเศรษฐกิจพัง ส่งผลกระทบหนักต่อรายย่อยและ SME สหภาพฯ ฉะ รัฐต้องเลิกพูดค่าแรงขั้นต่ำ แต่ควรทำเป็นโครงสร้างทั้งระบบ 

ในงานสัมมนาสาธารณะในประเด็น ค่าแรงขั้นต่ำขายฝันแรงงานไทย ของหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ บสก.รุ่นที่ 11 โดยสถาบันอิศรา มีหลายฝ่ายออกมาแสดงความกังวลต่อการที่พรรคการเมืองนำนโยบายขึ้นค่าแรงมาหาเสียง ในการเลือกตั้งใหญ่ที่กำลังจะมาถึง

นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย เปิดเผยว่า พรรคการเมืองต่างใช้ นโยบายประชานิยม เรื่องการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมาหาเสียง โดยส่วนตัวเห็นว่าเป็น นโยบายชวนเชื่อทางการตลาด แต่เชื่อว่าส่วนหนึ่งทำได้จริง เพราะการขึ้นค่าจ้างเป็นเรื่องของนายจ้าง เป็นเรื่องของภาคเอกชนที่เป็นผู้จ่าย พรรคการเมืองหรือรัฐบาลไม่ใช่ผู้จ่าย

อย่างไรก็ตาม 90% ของนายจ้างที่เป็นรายย่อยและ SME ยังมีเทคโนโลยีต่ำ และมีการแข่งขันสูง การที่การเมืองเอาค่าจ้างมาเป็นนโยบายกลยุทธ์ อาจเป็นอันตรายได้ กลัวว่าจะเป็นการกระชากต้นทุน ทำให้นายจ้างหรือสถานประกอบการจำนวนมากอยู่ไม่ได้ ทั้งนี้ ในฐานะนายจ้าง มองว่าค่าจ้างขั้นต่ำของไทยควรจะเป็นค่าจ้างที่ขึ้นเป็นอัตโนมัติ ตามอัตราเงินเฟ้อ และ ต้องไม่มีการเมืองแทรกแซง

“เป้าหมายคือ นายจ้างลูกจ้างต้องอยู่ด้วยกันได้เหมือนปาท่องโก๋ ดังนั้นการขึ้นค่าจ้าง ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ องค์กรไตรภาคี ที่ทำกันมาแล้วกว่า 30 ปี การเมืองอย่างเข้ามาแทรกแซงทำลายต้นทุนของชาติ และ ประชาชน ก็ต้องรู้เท่าทัน ว่าพรรคการเมืองต่างๆ เค้าใช้การตลาด 100 % เพื่อให้ได้เข้ามาในสภาฯ” นายธนิต กล่าว

นายยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ที่ปรึกษาฝ่ายการวิจัยนโยบายทรัพยากรมนุษย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า การหาเสียงเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้ค่าจ้างไม่เป็นไปตามกลไกเศรษฐกิจ และต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เมื่อพรรคการเมืองนำมาเป็นนโยบายหาเสียงจะเป็นอันตรายต่อประเทศ เพราะ กกต. กำหนดเอาไว้ว่า นโยบายที่ใช้หาเสียงจะต้องทำจริง ซึ่งจะทำให้นายจ้างได้รับผลกระทบ

ส่วนตัวมองว่ารัฐบาลต่อจากนี้จะไม่ได้อยู่ยาวเหมือนในอดีต ซึ่งเป็นไปได้ว่านโยบายค่าแรงจะเปลี่ยนทุก 2 ปี ทั้งนี้ขอฝากไปยังพรรคการเมืองว่า ควรทำให้ค่าจ้างเป็นไปตามกลไกไตรภาคี เพราะถ้ามีการแทรกแซงจะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศลดลง ตลาดแรงงานได้รับผลกระทบ

ด้าน นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า ปัจจุบันค่าแรงไม่เพียงต่อการใช้จ่ายของแรงงาน ดังนั้น ควรไปดูที่โครงสร้างมากกว่าที่จะกำหนดตัวเลขอย่างเดียว ควรหารือกันว่าแรงงานอยู่ได้ที่ค่าจ้างเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม ต้องขอบคุณทุกพรรคที่พยายามเสนอนโยบายค่าแรง แต่ทางปฏิบัติ พูดแล้วต้องทำ และต้องทำให้ได้ ซึ่งที่ผ่านมานโยบายค่าแรงบางยุค ไปไม่ถึงจุดที่หาเสียงเอาไว้

นางสุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง กรรมการสมาคมเครือข่ายแรงงานนอกระบบ (ประเทศไทย) กล่าวว่า แรงงานนอกระบบ คือ แรงงานที่ไม่ได้อยู่ในภาคการจ้างงานที่เป็นทางการ ปี 2565 คนมีงานทำทั้งสิ้น 39.6 ล้านคน เป็นแรงงานนอกระบบถึง 20.2 ล้านคน ซึ่งค่าจ้างขั้นต่ำไม่คุ้มครองแรงงานในกลุ่มนี้

ที่เห็นได้ชัดคือในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อแรงงานนอกระบบเป็นกลุ่มแรก โดยแรงงานกลุ่มนี้ต้องลดค่าใช้จ่ายและปรับตัวอย่างมาก เนื่องจากไม่มีรายได้ประจำ ไม่สามารถที่จะฝันเรื่องค่าแรงขั้นต่ำได้ อีกทั้งบางอาชีพของแรงงานนอกระบบยังขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยวค่อนข้างมาก หากการท่องเที่ยวยังไม่กลับมาก็ยากที่จะฟื้น แม้สถานการณ์โควิด-19 จะคลี่คลายลง แต่หลายอาชีพที่เป็นแรงงานนอกระบบก็ยังไม่ได้กลับมาทั้งหมด

“คำถามว่า ค่าแรงขั้นต่ำขายฝันแรงงานไทยหรือไม่ เราอยู่นอกระบบของการคิดค่าจ้างขั้นต่ำ ไม่ว่าจะประกาศอะไร จะเป็นฝันของใครไม่รู้ แต่ไม่ครอบคลุมแรงงานนอกระบบ ดังนั้นสิ่งที่ภาครัฐควรทำคือ การคุ้มครองค่าจ้างขั้นต่ำ ค่าจ้างที่เป็นธรรม ต้องคุ้มครองถึงแรงงานนอกระบบกลุ่มที่มีผู้จ้างงานหรือนายจ้างด้วย และเป็นหน้าที่ของรัฐบาลต้องประกันรายได้กลุ่มคนเหล่านี้ ต้องมีมาตรการส่งเสริมให้มีรายได้ให้เท่าเทียมกับค่าจ้างขั้นต่ำของแรงงานในระบบ”

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า