Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังโรคระบาดเริ่มคลี่คลาย ดูเหมือนว่า ‘เชนธุรกิจร้านอาหาร’ จะกลับมาสดใสอีกครั้ง ตัวอย่างคือ ‘เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป’ หรือ CRG เจ้าของเชนร้านอาหารในไทยกว่า 20 แบรนด์ เช่น เคเอฟซี (บางส่วน), โอโตยะ, คัตสึยะ, มิสเตอร์โดนัท, เปปเปอร์ ลันช์ ฯลฯ ที่ปีที่แล้วสามารถกวาดรายได้ไปถึง 1.28 หมื่นล้านบาท กลับมาเติบโตเหมือนช่วงก่อนโควิดแล้ว

ภาพรวมที่ดีในปีที่แล้ว รวมถึงแนวโน้มที่สดใสกว่าเดิมในปีนี้ ทำให้ CRG วางกลยุทธ์สร้างการเติบโตไว้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นตั้งเป้าขยายสาขาเพิ่ม เพิ่มพันธมิตรเป็นแบรนด์ใหม่ๆ

แต่ที่น่าสนใจคือนอกจากในไทย CRG ยังฟื้นแผนที่วางไว้ว่าจะขยายธุรกิจไป ‘เวียดนาม’ กลับมาด้วย

‘ณัฐ วงศ์พานิช’ กรรมการผู้จัดการใหญ่ CRG บอกเล่าถึงความสำเร็จในปีที่แล้วให้ฟังว่า ผลประกอบการปี 2565 ที่ผ่านมาคือ 1.28 หมื่นล้านบาท ในกลุ่มธุรกิจเชนร้านอาหาร CRG ถือได้ว่าเป็น Top 3 ของไทย

โดยปีที่แล้วมีแบรนด์ใหม่เกิดขึ้น 3 แบรนด์ คือ ‘ชินคันเซ็น ซูชิ’ ที่ผ่านการ Joint Venture มาเมื่อเดือน พ.ค. 2565 ซึ่งต่อมาได้เปิดแบรนด์ปิ้งย่างภายใต้แบรนด์ ‘นักล่าหมูกระทะ’ นอกจากนี้ปีที่แล้วยังมีการเปิดร้าน ‘ราเมน คาเกทสึ อาราชิ’ ซึ่งเป็นแบรนด์ราเมนอันดับ 3 ในญี่ปุ่นด้วย

ทำให้ปัจจุบัน CRG มีธุรกิจร้านอาหารอยู่ในเครือถึง 20 แบรนด์ รวมกว่า 1,500 สาขา เป็นการเปิดสาขาใหม่ในปีที่แล้ว 200 สาขา

‘ณัฐ’ บอกอีกว่า จากผลสำรวจพบว่าตลาดร้านอาหารในปี 2565 มีมูลค่าอยู่ราว 4.1 แสนล้านบาท เติบโต 14% จากปีก่อนหน้า ขณะที่ปีนี้ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดย CRG คาดการณ์ว่าน่าจะเติบโตที่ 3-5% เนื่องจากนักท่องเที่ยวยังกลับมาไม่เต็มที่ และยังมีเรื่องวิกฤตธนาคารที่ต้องจับตา

อย่างไรก็ตาม ภาพรวมตลาดที่ยังมีแนวโน้มโตอยู่ ทำให้ CRG เดินหน้าสร้างการเติบโตผ่าน 5 กลยุทธ์ด้วยกัน   คือ

1.ขยายสาขาใหม่รวมมากกว่า 150 สาขา เช่น เคเอฟซี (ขยาย 20 สาขา), คัตสึยะ (ขยาย 30 สาขา), อานตี้แอนส์ (ขยาย 30 สาขา) เป็นต้น โดยรวมแล้วปีนี้จะขยายไม่ต่ำกว่า 150 สาขา

ทั้งนี้ CRG บอกว่าการเปิดสาขาใหม่จะเน้นไปที่แบรนด์ที่มีศักยภาพและสร้างรายได้ได้ดี ส่วนแบรนด์ที่แบรนด์ที่ไปต่อไม่ได้ ซึ่งเป็นแบรนด์ราคาแพงๆ ก็จะจำกัดการเติบโต เนื่องจากเป็นแบรนด์ที่เติบโตไม่ได้ในนอกเมืองหรือต่างจังหวัด โดยปัจจุบันแบรนด์ที่สร้างผลการดำเนินงานที่ดีได้นั้นคิดเป็น 70-80% ของพอร์ต

นอกจากขยายสาขาแล้ว ยังจะใช้กลยุทธ์อื่นเพิ่มอีก เช่น ออกเมนูใหม่ๆ พัฒนาสินค้ากลุ่มพร้อมทาน และผลิตภัณฑ์พร้อมปรุง รองรับการซื้อกลับบ้าน สอดรับความต้องการของผู้บริโภค

2.สร้างธุรกิจใหม่เพื่อการเติบโต โดยมี 2 มิติด้วยกัน คือ การมองหาแบรนด์ใหม่มาเสริมพอร์ตโฟลิโอ ซึ่งตามแผนวางเป้าหมายไว้ว่าจะเพิ่มอีก 1-2 แบรนด์ในปีนี้ โดยยอมรับว่าชาบูและปิ้งย่างเกาหลีก็น่าสนใจ เนื่องจากยังเป็นประเภทอาหารที่ยังไม่มีอยู่ในพอร์ต

อีกมิติหนึ่งคือการขยายธุรกิจไปเวียดนาม เนื่องจากมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี จากจีดีพีที่เติบโตต่อเนื่อง ประชากลุ่มวัยทำงานก็มีเยอะ อีกทั้งรายได้ครัวเรือนก็ค่อยๆ เติบโต ซึ่งอีก 10 ปีข้างหน้าอาจจะสูงกว่าไทยด้วยซ้ำ

“เราไปดูตลาดเวียดนามมาตั้งแต่ก่อนโควิด ที่เราพบในโฮจิมินห์คือร้านอาหารไทยเยอะมาก แต่ร้านที่มีคนไทยเป็นเจ้าของนั้นมีน้อยมาก ส่วนใหญ่เจ้าของเป็นคนเวียดนาม แม้แต่ร้านส้มตำก็ยังมีเจ้าของเป็นคนเวียดนาม ดังนั้นเราจึงมองว่าอาหารไทย-ไทยอีสาน ก็มีโอกาสที่จะเปิดในเวียดนามได้

“อันดับที่สองคืออาหารญี่ปุ่น เนื่องจากคนเวียดนามชอบกินซูชิ แต่อาหารต่างชาติที่เป็นร้าน QSR ในเวียดนามมีเยอะอยู่แล้ว อันนี้ยังเป็นความท้าทาย ดังนั้นประเภทอาหารที่มีโอกาสเปิดก็น่าจะเป็นอาหารไทย ไทยอีสาน หรือญี่ปุ่น โดยเล็งไว้ที่เมืองโฮจิมินห์”

ส่วนรูปแบบของการไปทำธุรกิจในเวียดนามนั้น CRG มองว่ามีความเป็นไปได้ทั้ง 3 แบบ ไม่ว่าจะเป็นการหาพาร์ทเนอร์ซึ่งผู้ประกอบการเวียดนามหลายรายก็สนใจ หรือสองคือ CRG ไปลงทุนเอง และสามคือนำแบรนด์ของ CRG ไปให้ผู้ประกอบการเวียดนามทำ เหมือนแฟรนไชส์

“ในกลุ่มของเซ็นทรัลอย่าง CRC (เซ็นทรัล รีเทล) ก็มีศูนย์การค้าในเวียดนามอยู่แล้ว ซึ่ง CRG เองก็อาจจะขยายธุรกิจร้านอาหารไปในศูนย์ฯ ของ CRC แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้จำกัดโอกาส เพราะร้านอาหารแบบสแตนด์อะโลนในเวียดนามก็มีอยู่เยอะเช่นกัน”

3.สร้างการเติบโตร่วมกันกับพันธมิตร โดยจะเร่งขยายสาขาของร้านอาหารเพิ่มขึ้น ทั้งของชินคันเซ็น ซูชิ, สลัดแฟคทอรี่ และส้มตำนัว ในทำเลห้างค้าปลีกของกลุ่มเซ็นทรัล โรบินสัน รวมถึงรูปแบบสแตนด์อะโลน

4.เพิ่มประสิทธิผลด้วยกลยุทธ์ 3C คือ Cost บริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด, Capex เน้นการลงทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ Cash Flow บริหารกระแสเงินสดและการลงทุนให้มีความคล่องตัว

นอกจากนี้ยังนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการมากขึ้น เช่น การสั่งอาหารผ่านคิวอาร์โค้ด, การนำหุ่นยนต์เสิร์ฟอาหารมาใช้ เป็นต้น

5.ขับเคลื่อนธุรกิจสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็น ด้านบุคลากร ที่เปิดกว้างรับความหลากหลาย สร้างสมดุลให้พนักงานมีความสุข, ด้านการลดก๊าซเรือนกระจก ด้วยการติดตั้งแผงดซลาร์เซลล์เพื่อลดการใช้ไฟฟ้า รวมถึงการลดขยะและดูแลสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น ลดปริมาณขยะอาหารที่เกิดจากการใช้วัตถุดิบในกระบวนการผลิตอาหาร เป็นต้น

คุณณัฐยังได้กล่าวถึงความท้าทายในการทำธุรกิจร้านอาหารปี 2566 คือการรับมือต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น การขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากตลาดฟื้นตัว ทำให้ความต้องการพนักงานเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม จากแผนงาน The Next Chapter of Growth บริษัทคาดการณ์ยอดขายจะเติบโต 20% หรือแตะ 1.5 หมื่นล้านบาท โดยตั้งเป้าใช้เงินลงทุนราว 1 พันล้านบาท (ไม่รวมเงินลงทุนใน JV)

อ่านข่าวน่าสนใจ:

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า